การพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • นภัทร บุญเทียม ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • กมลชนก จันดีสาร กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ไพรัช บุญจรัส มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ภาวะผู้นำทางสุขภาพ, นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางสุขภาพของ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคที่ .95 วิธีวิจัย ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์และองค์ประกอบภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล 2) สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางสุขภาพสาหรับนักศึกษาพยาบาล 3) พัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และประเมินผลการพัฒนา 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบจากการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของการพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีองค์ประกอบภาวะผู้นำทางสุขภาพ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำด้านความรู้ (Mean = 4.84, S.D. = 0.50) 2) ภาวะผู้นำด้านบุคลิกภาพ (Mean = 4.58, S.D. = 0.73) 3) ภาวะผู้นำด้านคุณธรรม (Mean = 4.62, S.D. = 0.53) 4) ภาวะผู้นำด้านการคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล (Mean = 4.6, S.D. = 0.84) 5) ภาวะผู้นำด้านการกระตุ้นปัญญา (Mean = 4.56, S.D. = 0.33) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีภาวะผู้นำทางสุขภาพอยู่ในระดับ ปานกลาง (Mean = 3.42, S.D. = 1.13) ผลการพัฒนาภาวะผู้นำทางสุขภาพของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชนได้

References

ทัศนา บุญทอง. ปฏิรูประบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์; 2542.

กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล และคณะ, บรรณาธิการ. การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. การสัมมนาพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 : การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต : เพื่อตอบสนองการปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย; 23-25 กรกฎาคม 2544; คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

Bass B M. Leadership and performance beyond expectation. New York: The Free Press; 1985.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์. ภาวะผู้นำทางการพยาบาลในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์; 2542.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดาริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, เกษม เวชสุทรานนท์.คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ที ศิวพี; 2552.

สำเริง แหยงกระโทก และสุจิรา มังคละศิริ. ศูนย์สุขภาพชุมชน : หนทางสู่ระบบบริการที่พึงประสงค์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แสงโชคมาเก็ตติ้ง; 2544.

สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต [อินเตอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 4 มี.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pi.ac.th/ cours/01_1_0course.php

พนิตนาฎ ชานาญเสือ และจีราภรณ์ ชื่นฉ่า. ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในเครือข่ายภาคกลาง 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2558;21: 75-87.

อารีย์ อ่องสว่าง และนิตยา นิลรัตน์. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะของผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5:272-87.

World Health Organization (WHO). Ottawa charter for health promotion first international conference on health promotion Ottawa, 21 November 1986 [Internet]. 2012 [cited 2018 Oct 11]. Available from: http//www.who.int/hpr/NPH/docs/Ottawa_charter_hp.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-08