การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

Authors

  • รติยา วิภักดิ์ นิสิตสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เสถียรพงษ์ ศิวินา โรงพยาบาลเกษตรวิสัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

Keywords:

คุณภาพข้อมูลสุขภาพ, ข้อมูล 43 แฟ้ม, หน่วยบริการปฐมภูมิ, quality health information, 43 public health data folders, Primary Care Unit

Abstract

คุณภาพฐานข้อมูลทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีความมุ่งหมาย
เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มและเปรียบเทียบคุณภาพข้อมูลก่อนและหลังดำเนินการพัฒนา ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ขั้นศึกษาสภาพปัญหา
การดำเนินงาน 2) ขั้นการปฏิบัติการตามรูปแบบที่กำหนด และ 3) ขั้นประเมินผลกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพข้อมูล จำนวน 46 คนเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยวิธีการตอบแบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้ Chi-square test (χ2), Fisher Exact test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

              ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง43 แฟ้มประกอบด้วย 6 ขั้นตอน 20 กิจกรรม คือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินการพัฒนาโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) ขั้นพัฒนาบุคลากร 4) ขั้นนิเทศติดตามการดำเนินงาน 5) ขั้นประเมินผลการดำเนินงาน และ
6) ขั้นการสะท้อนกลับและสรุปผล หลังการพัฒนากระบวนการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบแนวคิด
การพัฒนา คือ CHA_TU Model ซึ่งส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพข้อมูลมีความรู้
เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีขึ้น คุณภาพข้อมูลด้านความถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลาเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 84.61 เป็นร้อยละ 98.73 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.66, S.D.=0.35)

           สรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม มีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การวางแผนแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การทำงานเป็นทีมเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการติดตามนิเทศงานในระหว่างการดำเนินงาน มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในระดับเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติและการมีช่องทางในการการสะท้อนกลับข้อมูลที่ง่ายและสะดวก จึงทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

The Quality Management Model for 43 Public Health Data Folders in Primary Care Unit Network

at Chaturaphakphiman District, Roi-Et Province

Quality of database in medical and public health was always vital to developing the country’s health system. This action research was conducted with its objectives to develop the data quality management model for the 43 public health folders and to compare its quality before and after development. The study was divided into 3 phrases: 1) preliminary stage, 2) action stage, and 3) evaluation stage. The sample group consisted of 46 respondents who were involved in data quality management. Data collection was obtained through questionnaires, observations, and interviews before being analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, average, standard deviation, Chi-square test (χ2), and Fisher Exact test. To obtain qualitative data, a content analysis was employed.

              The results showed that the development process of data quality management model for the 43 public health folders included 6 stages and 20 activities as follows: 1) preparation stage, 2) action stage by stakeholders, 3) human development stage,
4) supervision and following-up stage, 5) evaluation stage, and 6) reflection and conclusion stage. The development of such process had formed a new development concept called the CHA_TU model which in turn resulted in an increasing of knowledge, a better practice and a better attitude of those who were involved in data quality management. Moreover, data quality (accuracy, completeness, and timeliness) had increased from 84.61 to 98.73 percent and its satisfaction was found to be at a high level (Mean = 4.66, S.D. = 0.35).   

              In summary, the development of data quality management model for the 43 public health folders comprised factors of success as follows: a participatory planning by stakeholders, working as a teamwork in a network (stakeholders taking part in all activities), a supervision to be made during an implementation stage, a workshop to be recurrently held in a network level for developing the potential of personnel, exchanging and sharing knowledge to raise awareness in practice, and channels for easy and convenient feedback (reflection). These factors contributed to a more effective operation.

Downloads

Published

2017-08-10

How to Cite

วิภักดิ์ ร., เทรินโบล์ น., & ศิวินา เ. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Nursing and Health Research, 18(2), 69–83. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/95918