ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ ในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา
Keywords:
พนักงานทำความสะอาด, ความรู้, พฤติกรรม, การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ, Cleaning personnel, knowledge, practice, infectious waste managementAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest -Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้ และ พฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อก่อนและหลังการอบรมในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา จำนวน 46 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และแบบประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การหาความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ได้เท่ากับ 0.76 และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากร ใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ สถิติ Dependent t-test สำหรับเปรียบเทียบความรู้ และ พฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ ก่อน หลังการอบรม ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อของพนักงานทำความสะอาด ก่อนและหลังการอบรมโปรแกรม “Cleaners Safety” พบว่า หลังการอบรมโปแกรม “Cleaners Safety” พนักงานทำความสะอาด มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อหลังจากการอบรม เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการอบรมโปรแกรม “Cleaners Safety” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม 11.59 ± 1.57 และคะแนนเฉลี่ยหลังอบรม 12.65 ± 1.75 ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อของพนักงานทำความสะอาด ก่อนและหลังการอบรมโปรแกรม “Cleaners Safety” พบว่า มีคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ หลังจากการอบรม เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการอบรมโปรแกรม “Cleaners Safety” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม 40.80 ± 5.65 และคะแนนเฉลี่ยหลังอบรม 42.74 ± 2.55 แสดงว่าโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม
The Effect Of Cleaners Safety Trainning Program On Knowledge
And Practices Regarding Infecious Waste Management
Among Cleaning Personnel In Phayao Hospital
This quasi-experimental research, one group pretest-posttest design, aimed at comparing the effect of Cleaners Safety training program on knowledge and practices regarding infectious waste management among 46 cleansing personnel in Phayao hospital. The research instruments consist of 2 parts. Firstly, the Cleaners Safety training program which was developed by a researcher. Secondly, self-administered questionnaires composed of 3 parts; demographic data as well as knowledge and practices regarding infectious waste management. The research instruments were approved by three experts. The reliability of knowledge regarding infectious waste management was at 0.76 and the practice regarding infectious waste management was at 0.81. Descriptive statistic such as percentage, mean and standard deviation were used to describe demographic data and Dependent t-test was used to compare knowledge and practices at before and after training. Research revealed that the knowledge regarding infectious waste management after training was significant higher than before training (p <0.01); the knowledge score at before training was at 11.59 ± 1.57; whereas after training was at 12.65 ± 1.75. In addition, the practices regarding infectious waste management after training was significant higher than before training (p <0.05); the practices score at before training was at 40.80 ± 5.65; whereas after training was at 42.74 ± 2.55. Research suggests that the Cleaners Safety training program was effective in increasing knowledge and practices.