การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
Keywords:
การพัฒนาการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, Development of Operations, The Local Fund Health Security, Community ParticipationAbstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท กระบวนการและปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในชุมชนตำบลบ้านโพธิ์ ขั้นตอนการวิจัยตามแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล การเลือกพื้นที่ดำเนินการและผู้ร่วมวิจัยใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประชากรที่ทำการศึกษาคือคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์จำนวน 36 คนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ Paired t – testผลการศึกษา พบว่าบริบทของพื้นที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติงานและร่วมประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น มีกระบวนการ 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ที่ทำการวิจัย 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผน 5) นิเทศและติดตามผล 6) ประเมินตนเอง 7) จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8) เปรียบเทียบผลของกระบวนการ 9) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค ผลการพัฒนาดังกล่าว ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพดี ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลง ด้านความรู้ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value<0.05) โดยสรุป ได้ผลว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พัฒนาเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีศักยภาพดีนั้น ประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชน, สมรรถนะของคณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะอนุกรรมการกองทุน, การเสริมสร้างให้เกิดพลังสุขภาพของชุมชนและการสร้างขวัญกำลังใจ
The Development of Local Fund Health Security in Ban Pho Sub district, Phonphisai District, Nongkhai Province.
This purpose of this action researchwas to study the contexts of the processes and factors of the success ofthe Development of the Operations in the Local Fund Health Security in the areas of Ban Pho Sub-District. The procedure were based on the concept of the action research and were composed of planning, practice, observation and reflection. The areas of operation and co-researchers were purposively selected. The Sample size was composed of the 36 members of the Management Committee and Sub-Committee of the Local Fund Health Security of Ban Pho Sub-District. Questionnaires were used to collect the Quantitative data. The data was analyzed by descriptive statistics including percentage, average and standard deviation. Observations and interviews were analyzed in hypothesis testing by the Paired t - Test.
The study demonstrated that the contexts of area which were focused on the community participation in planning, following the plans and evaluating in the development of operation of the Local Fund Health Security and other local areas. 9 steps are necessary to achieve these result : 1) Study the context of the areas 2) Plan workshops 3) Prepare action plans 4) Follow the plans 5) Provide supervision 6) Make self-assessment 7) Exchange knowledge in the conferance 8) Compare the effectiveness 9) Analyze obstacles. The effects of the development can help the Local Fund Health Security pass the evaluating criteria and potentially make it great. They also influence the managing committee and other participants to improve their knowledge, participation and job satisfaction with statistically significant at the level of p-value < 0.05.In summary, the keys to sucesses in developing the Local Fund Health Security in local areas to be the greal potential funds are the participation of all sections in the community, the potencies of the Managing Committee and Sub-Committee, the reinforcement of health power and the encouragement of morale.