รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โซนลำดวน ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • สมัย ทองพูล นิสิตสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สันติสิทธิ์ เขียวเขิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

Keywords:

รูปแบบ, ผู้สูงอายุ, ส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ, Model, Elderly, The Exercise Promotion for Elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา 30 คน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนา 57 คน ดำเนินการวิจัยโดยการวางแผนแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการถอดบทเรียน การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้ Content Analysis เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการทดสอบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เรียกว่า “รำวงผ้าขาวม้า”  มี 8 กิจกรรม คือ 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ 2) กิจกรรมการอบรมผู้นำออกกำลังกาย 3) กิจกรรมทดสอบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย 4) กิจกรรมการออกกำลังกาย   รำวงผ้าขาวม้า 5) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 6) การให้คำปรึกษา 7) จัดตั้งระเบียบข้อบังคับ ชมรม รำวงผ้าขาวม้า และ 8) เผยแพร่การออกกำลังกาย รำวงผ้าขาวม้า โซนลำดวน ผ่านสื่อสาธารณะ รูปแบบดังกล่าวส่งผล ให้ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ลดลง และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและลำตัวส่วนบน, ความทนทานแบบแอโรบิค, ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อ hamstring, ความยืดหยุ่นของลำตัวส่วนบนและแขน ความคล่องแคล่วและการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ดีกว่าก่อนดำเนินการ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) สรุป รูปแบบการออกกำลังกาย  เป็นไปตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริง สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีกลไกการนิเทศติดตามเป็นประจำ และสื่อสารสาธารณะ

The Exercise Promotion for Elderly by the People Participation in Lamduan zone NongMekSubdistric, NachuakDistric, Mahasarakham Province.

This action research was aimed to identify the exercise patterns of promoting doing exercise for the elderly by the participation among the people. The stakeholders comprise thirty participants of the development and fifty-seven key informants for the development. The research was processed through planning and the qualitative data were collected through lesson learned, group discussion, observation and knowledge sharing. The qualitative data were analyzed through content analysis meanwhile the quantitative data were collected through questionnaire for health status and physical fitness test. The employed statistics were frequency, percentage, means, standard deviation meanwhile the statistics employed to test the hypothesis was Paired t-test. The results revealed that eight activities of the implementation process according to the model of promoting doing exercise for the elderly through the community participation were 1) workshop on the exercise pattern for the elderly, 2) workshop for exercise leader, 3) Activities for physical fitness and health test, 4) perform the exercise pattern namely “Ram Wong PhaKho Ma” 5) launch the campaign to promote doing exercise for the elderly,         6) advice, 7) establish the rules of the club for “Ram Wong PhaKho Ma”  Lamduan zone and, 8) assimilate “Ram Wong PhaKho Ma” Lamdaun zone to the public. This model decreased the average body weight, waist circumference, and body mass index (BMI) and were statistic significantly (p-value < 0.05) The average score of the strength of leg, arms, and upper trunk muscle, aerobic endurance, the flexibility of back muscle and hamstring, upper trunk and arms, the agility and balance of the motion were better than pre-experiment and were statistic significantly (p-value < 0.05) In conclusion, according to the process to get stakeholders involved with exercise promotion among the elderly, the good practice was introduced and successful factors of the community participation were the involvement of all parts of stakeholders, the clear path of responsibility, the budget supporting from local Health Assurance Fund as Local Administration office, the continuation of the campaign, and the routine supervision, and the continue public communications.


Downloads

How to Cite

ทองพูล ส., เขียวเขิน ส., & เชื้อลิ้นฟ้า ส. (2017). รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โซนลำดวน ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Nursing and Health Research, 18(1), 54–67. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/83924