การพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Authors

  • สุรัตน์ ตะภา นิสิตสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มนกานต์ อินทรกำแหง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม

Keywords:

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, การพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, health care, the elderly group on development

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อ สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ร่วมเรียนรู้

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัญหา และ พัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ตามมาตรฐานการดูแลสุขภาพ

ผู้สูงอายุระยะยาวให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการตามบริบท ใช้เวลาศึกษา 24

สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกครอบครัวผู้สูงอายุ และอาสาสมัคร 52 คน

เข้ากระบวนการกลุ่ม เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความกตัญญู ต่อบุพการี

เสริมแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพผู้สูงวัย การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว สุขภาพภาค

ประชาชน  ธรรมนูญสุขภาพ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ทำการ  สำรวจ เรียนรู้ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ ปัญหา

ความต้องการ จากผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 12 คน นำข้อมูลมาวางแผนและแก้ไขปัญหา วิเคราะห์คำตอบจาก

แบบสอบถาม สนทนา สังเกต ประเมินผลงาน และการถอดบทเรียน  ผลการศึกษาพบว่า เกิดความร่วมมือ

ของเครือข่ายสุขภาพ มีการกำหนดกิจกรรม การวางแผน การมอบหมายงานทำให้เกิดกิจกรรม แผนงาน

โครงการ และร่วมแก้ไขปัญหา ตรงกับความต้องการตามบริบทของผู้สูงอายุ โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการมี

ส่วนร่วมจากระดับปานกลางเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก ระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของกลุ่มขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น

จาก 16.06 เป็น 19.87 ระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเพิ่มขึ้นจาก 14.06 เป็น 17.7 และ

การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านหลังการดำเนินงานอยู่ในระดับดีสูง

กว่าก่อนการพัฒนา 

The Development of Homebound Elderly in Sub-district Health Promoting hospital.

This study is research to create the participation from all sectors ,share analysis and synthesis

problems. The development of the elderly health care group. According to the standard of long

term care to appropriate. Consistent requirement according to context. The study 24 weeks target lead the

community, family  members and volunteers 52, group process. To arouse the consciousness

responsibility for the benefactor, love, gratitude to the parents. Promoting the concept change in healthy

elderly. Long term care, health public health statute by using group process survey. Learn data analysis.

Problems and needs, from the elderly group 12 people. The plan and solve the problems. Analysis of

responses from the questionnaire, discussion, observation, evaluation and The cooperation of health

network is the planning, task assignments, caused project plan and addressing the needs of the elderly.

According to the context at a given time. The average participation rate increased from moderate to

high. The average score of knowledge of the group driving up from 16.06 to 19.87 levels mean knowledge

score of the elderly group increased from 14.06 to 17.7 and practice in healthcare


Downloads

How to Cite

ตะภา ส., อินทรกำแหง ม., & เชื้อลิ้นฟ้า ส. (2016). การพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. Journal of Nursing and Health Research, 17(1), 109–120. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/71793