การรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
Keywords:
การรับรู้, พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, การจัดการศึกษาว, Perception, Humanized health care behavior, Educational managementsAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 2) การจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง 2552) ปีการศึกษา 2557 จำนวน 58 คน ทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบวัดพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิตพยาบาล และการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 62 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีการรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับดี (= 4.22, SD.= .42) โดยการรับรู้ด้านที่มากที่สุดคือ มีความสุภาพ อ่อนน้อม (= 4.40, SD.=.40) รองลงมาคือการให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมและคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย (= 4.23, SD.= .41) การจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับดี (= 3.97, SD.=.80) โดยมีการรับรู้ด้านการดำเนินการมากที่สุด (= 4.15, SD.=.59) รองลงมาคือ ด้านการประเมิน (= 4.11, SD.=.62) การรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีความ สัมพันธ์กันทุกด้าน (r = .30 - .55) แต่การรับรู้พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = -0.12)
Perceptions of humanized health care behaviors and the educational management for promoting humanized health care behaviors among graduate nurses of Boromarajonnani College of Nursing, Phayao in Academic year 2014
This descriptive study had the following objectives: to explore the perceptions of graduate nurses on their humanized health care behaviors and educational management that promote humanized health care behaviors. The relationships between humanizedhealth care behaviors with promoting educational managements as well as student learning achievements were also explored.
The study population was 58 nurses who graduated from BCNPY in 2014. The instrument used was developed by the principle researcher. It consists of 62 items which assess humanized health care behaviors and the educational managements. Statistics used included percentages, means, standard deviations, and a Pearson’s product moment correlation.
Results revealed that graduate nurses perceived their humanized health care behaviors were in good levels (mean =4.22, SD =.42). They rated politeness domain as highest (mean =4.40, SD =.40), and patient involvements and patient rights domain were rated as the second highest (mean =4.23, SD =0.41). In regard to the humanized health care promoting managements, the overall score was in good level (mean =3.97, SD =0.80). The implementation of humanized health care behavior promoting managements was rated as highest (mean =4.14, SD =.59), and the evaluation of humanized health care behaviors was rated as the second highest (mean =4.11, SD =.62). Relationships between humanized health care behaviors and promoting humanized health care behavior managements were found (r =0.30-0.55). However, student achievements did not find correlated with humanized health care behavior promoting managements (r = -0.12).