ทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

Authors

  • ชลิยา วามะลุน นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • มาลี ไชยเสนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • นุสรา ประเสริฐศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Keywords:

ผู้ดูแล, ทักษะ, มะเร็ง, ระยะสุดท้าย, Caregiver, Skill, Cancer, End of Life

Abstract

การเข้าใจทักษะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายมีความสำคัญ เพื่อเป็นข้อมูลพัฒนาโปรแกรมสำหรับการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง วัตถุประสงค์การครั้งนี้เพื่อศึกษาทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จำนวน 30 ราย  เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ณ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  และแบบสอบถามทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามกรอบแนวคิด A transactional model of cancer family caregiving skill วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ทักษะของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายโดยรวม 9 ด้านอยู่ในระดับน้อยต้องปรับปรุง ( \bar{x}= 65.7 ± 0.78) เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่าทักษะการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ (  \bar{x}= 75.83 ± 12.63) ทักษะการเข้าถึงแหล่งสนับสนุน ( \bar{x} = 70.00 ± 19.64) อยู่ในระดับพอใช้   ทักษะอยู่ในระดับน้อยต้องปรับปรุงได้แก่ 1) ทักษะการปรับกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสม ( \bar{x} = 61.11 ± 12.05) 2) ทักษะการตัดสินใจ ( \bar{x} = 61.94 ± 16.03) 3) ทักษะการแปลความหมายของอาการ   ( \bar{x} = 62.22 ± 13.08) 4) ทักษะการให้การดูแล (\bar{x}  = 64.16 ± 12.78)  5) ทักษะการร่วมมือกับผู้ป่วย ( \bar{x} = 64.16 ± 15.03)   6) ทักษะการปฏิบัติการ ( \bar{x} = 64.44 ± 14.33) และ 7) ทักษะการเฝ้าระวังตรวจสอบอาการ ( \bar{x} = 67.50 ± 12.25) ตามลำดับ  

ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีทักษะที่อยู่ในระดับต่ำมีความจำเป้นได้รับการช่วยเหลือดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพในการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อให้เกิดความมั่นใจให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Caregiving Skill of Cancer Patients in the End-of-life stage 

 It is important to understand the skills of caregivers of the end of life in cancer patients for developing and refining program services for cancer care. The purpose of this study was to study caregiver’s skills in the end of life of cancer patients. This study used a cross-sectional and descriptive design. The participants were 30 caregivers of cancer patients’ end of life. Purposive selection was performed in Ubonratchathani cancer hospital. Data were collected with general information questionnaire and the caregiving skill questionnaire based on framework of a transactional model of cancer family caregiving skill. The data were analyzed using descriptive statistics. The results found that overall of caregiver’s skills 9 domain were low level and need to improve (\bar{x} = 65.7 ± 0.78). When analyzed each domains found negotiating the health care system’s skill ( \bar{x} = 75.83 ± 12.6) and accessing resources’ skill ( \bar{x} = 70.00 ± 19.64) were at satisfaction level. The skills at low level and need to improving were 1) making adjustment skill ( \bar{x} = 61.11 ± 12.05), 2) decision making skill (\bar{x}  = 61.94 ± 16.03), 3) interpretation skill ( \bar{x} = 62.22 ± 13.08), 4) handy on care skill (  \bar{x}= 64.16 ± 12.78), 5) working together with the care receiver skill (  \bar{x}= 64.16 ± 15.03),  6) taking action skill ( \bar{x} = 64.44 ± 14.33),  and 7) monitoring skill ( \bar{x} = 67.50 ± 12.25) respectively.  Caregivers of the end of life in cancer patients have low level of caregiving skills, the supports are needed from health care team provider to improve their skills to take care cancer patients in the end of life. Thus they will confidence and effectively caring cancer patients.   


Downloads

How to Cite

วามะลุน ช., ไชยเสนา ม., & ประเสริฐศรี น. (2016). ทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. Journal of Nursing and Health Research, 17(1), 40–51. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/71787