ประสิทธิผลของโปรแกรมการเดินเร็วต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ใหญ่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องในชนบท จังหวัดอุดรธานี
Keywords:
โรคเบาหวาน, การออกกำลังกาย, สมรรถภาพของหัวใจและปอด, เครื่องนับจำนวนก้าว, Diabetes, Exercise, Cardio-respiratory fitness, PedometerAbstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของการเดินเร็วที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด องค์ประกอบทางร่างกาย และระดับสมรรถภาพของหัวใจและปอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มที่มี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเช้าสูง ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร จำนวน 56 คน อายุ 35-59 ปี แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 28 คน กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ได้รับการแนะนำให้ทำกิจกรรมตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การป้องกันโรคเบาหวาน จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย การสาธิตและฝึกทักษะการออกกำลังกาย การเดิน ออกกำลังกาย โดยมีผู้นำออกกำลังกายร่วมเดินและฝึกสอนทุกครั้ง จำนวน 40 ครั้งๆ ละ 60 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน (จันทร์-ศุกร์) หลังทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับสมรรถภาพของหัวใจและปอดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเช้า และระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการจูงใจในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ออกกำลังกายโดยการเดินเร็วผลของการออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับสมรรถภาพของหัวใจและปอด และควบคุมความดันโลหิต สามารถนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปเป็นแนวทางในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต
The Effects of supervised pedometer program on blood glucose and cardiorespiratory fitness among Diabetes high risk group in Nhongtaguy Village Muang District , Udonthani province
This research aimsto compare the mean of glyceted hemoglobin, maximum velocity O2 consumption (VO2 max estimation), BMI, waist circumference and Blood pressure before and after entering the program. This study was a quasi-experimental designed. Fifty-six participants age 35-59 years had fasting glucose between 100-125 mg %, were assigned to intervention group and to a control group (no changes in lifestyles). All participants in the intervention group were informed to provide knowledge about diabetes 4-time group session based on diabetes, lifestyle modification and skill training and 40 supervised pedometer exercise sessions, minimum 30 minutes of daily brisk walking on 5 days of the week. Anthropometric, body mass index, blood pressure, blood glucose level, and maximal oxygen estimation were measured at baseline and post test. Results .After 12 weeks, there were significantly improved in VO2 max (p < 0.001), fasting blood sugar (p< 0.001); glycated hemoglobin (p < 0.001) when compared to the control group. Conclusions. This study suggested that the motivation strategy to exercise program can motivate 28 Pre-diabetes participants in 12 weeks of brisk walking ,the result show improvement in cardio-respiratory fitness, blood sugar and blood pressure.