การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
Keywords:
สิทธิพื้นฐานคนพิการ, การส่งเสริมสุขภาพคนพิการ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, Fundamental Right of the Disabled, Health Promotion for the Disabled, Community ParticipationAbstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างในชุมชนประกอบด้วย ผู้พิการ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรภาครัฐ จำนวน 36 คนกระบวนการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนจะมีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีบ้านติดกันหนาแน่น เป็นชุมชนแบบดั้งเดิมมีการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เคยสืบทอดกันมา ให้ความเคารพแก่ผู้สูงวัยและผู้อาวุโส กระบวนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์ปัญหา 3) การวิเคราะห์บริบท 4) การกำหนดแนวทาง 5) การจัดทำแผนงาน/กิจกรรม 6) การบริหารจัดการแผน 7) การปฏิบัติการตามแผน 8) การติดตามประเมินผล และ 9) การสรุปผล กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดโครงการที่ชุมชนได้จัดทำขึ้นจำนวน 3 โครงการได้แก่ โครงการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยคนพิการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยชุมชนมีส่วนร่วม และโครงการเยี่ยมคนพิการโดยชุมชน เกิดผลลัพธ์ต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานคนพิการในชุมชนคนคือ คนพิการได้รับคำแนะนำปรึกษา/ความรู้เรื่องบทบาทหน้าที่ครอบครัวในการดูแลคนพิการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.59 คนพิการได้รับการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.95 คนพิการได้รับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิทธิ ผลประโยชน์คนพิการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.39 และทำให้เกิดแนวทางการส่งเสริมสุขภาพคนพิการในชุมชนคือ 1)ออกเยี่ยมคนพิการที่บ้านโดยเครือข่ายชุมชน อย่างน้อยปีละครั้ง 2) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพคนพิการ 3) สร้างพลังให้ชุมชนดำเนินการเอง 4) พัฒนาทักษะส่วนบุคคล แก่คนพิการอย่างสม่ำเสมอ 5) จัดระบบบริการสาธารณสุข ให้คนพิการเข้าถึงได้สะดวก ปัจจัยความสำเร็จในครั้งนี้ คือมีผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่เข้มแข็ง กลุ่มประชาชนในพื้นที่มีความใส่ใจต่อคนพิการ มีรูปแบบการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ กับองค์กรในพื้นที่ ที่มีประสิทธิภาพ
Development of health promotion model for disabled people by participation of the community at Phonsa Sub-District,Thabo District, Nongkhai Province.
The purposes of this operation research were to study 1) the context of community in structure development for health promotion to the disabled by participation of the community; 2) the process development of promotion for the disabled by participation of the community; 3) the proceed result from structure development of health promotion for the disabled by participation of the community; and 4) the achievement factors of structure development for the disabled by participation of the community. The sampling group in the community was consisted with the disabled, community leaders, health volunteers, and government officers in total for 36 people. The study process was consisted with problem analysis, problem solution planning, workshop, and monitoring and evaluation. The data was collected by questionnaire, notification, and interview. The data was analyzed with descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For the qualitative data was used content analysis.
The research found that the community was the semi-urban community, houses adjacent density, the traditional community, and the conservation of traditions and custom that handed down, and people respect the elderly and senior. The structure development process of health promotion for the disabled by participation of the community was consisted with 9 steps such as 1) Data Collection, 2) Problem Analysis, 3) Context Analysis, 4) Guidelines Setting, 5) Work Planning, 6) Plan Management, 7) Compliance with the Plan, Monitoring and Evaluation, and 9) Conclusion. The process resulted in a number of community projects have been prepared, including three projects. Project environment, housing people with disabilities. Development disabilities through community participation. And projects visited by the disabled community. Outcomes on access to basic rights of the disabled people in the community. The stated process could be advised and consulted for the disabled in subject of the roles and duties for looking after the disabled was increase for 24.59%, the disabled have adjusted the surrounding of their dwelling for 22.95%, the disabled have accessed to the information of their rights and benefits increase to 16.39% and the concept of health promotion in the disabled community. 1) Visit the home of the disabled community. At least once a year, 2) creation of an environment that is conducive to the health of people with disabilities, 3) empowering communities to take action themselves 4) developing personal skills. The people regularly 5) Public health services. Disabled accessible. The factors achievements on this research were that the local community leaders were vigorous, the local people were attentive to the disabled, and the working structure with the government organization has more efficiency.