ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Keywords:

ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, Behavioral Health Care, Elderly, Elderly care to caregivers

Abstract

      การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัวขวาง (Cross-Sectional Analytical Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 399 คน ที่อาศัยอยู่ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified  Simple Ramdom Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองประกอบด้วย 4 ส่วน หาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ความเชื่อมั่นส่วนที่ 2 เท่ากับ.89 ส่วนที่ 3 เท่ากับ .87,.87,.76,.94 ส่วนที่ 4 เท่ากับ.89,.79 และค่า KR-20 เท่ากับ .56 - .60 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาสมการทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น

      ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยชีวสังคม ได้แก่  ปัจจัยระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการดูแล และปัจจัยลักษณะความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ  ปัจจัยทางจิต ได้แก่ ความเครียด  ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และความเชื่ออำนาจภายใน-นอกตนด้านสุขภาพ  ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การให้การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลจากครอบครัว และการให้การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์   มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)   

      เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น พบว่า ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ร้อยละ 23.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< .001) ได้แก่  ปัจจัยความเครียด ปัจจัยความเชื่ออำนาจภายใน-นอกตนด้านสุขภาพของผู้ดูแลและปัจจัยการให้การสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรมีทีมสุขภาพ และครอบครัวดูแลพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุให้มากขึ้น

Predictors of  Health Care behaviors for the Elderly among Caregivers in Warinchamrap District, Ubonratchathani Province

      The purpose of this cross-sectional analysis research is to predictors of  health care behaviors for the elderly among caregivers,The sample consisted of 399 caregivers of elderly people in Warinchamrab district,Ubonratchathani Province by using stratified random sampling method . Data were collected by applying 4 parts self-administrative questionnaires and data were analyzed by using 1)descriptive statistics 2)analytical statistics : Pearson correlation, chi-square test, and stepwise multiple regression statistics.

      The results revealed that social life such as factor income and the relationship with the elderly, psychological factors :stress factors in the role of elder care factors knowledge in the health care of elderly caregivers and the locus inside - outside their own health care to elderly , social factors: The factors supporting the health care of elderly caregiver family  and inputs to support the health care of the elderly care from medical personnel  were associated with behavioral health care, statistically significant (p <0.05). 

      The result of stepwise method of multiple regression statistics revealed that factors including stress factors: the locus inside - outside their own health care, and supporting the elderly care health care from medical personnel could accurately predict health care behaviors for the elderly among caregivers at the level of 23.2 % (R2 = .232, p<.05). Therefore, it should be arrange the family health care teams appropriately for taking care health care behaviors for the elderly

Downloads

How to Cite

รอบรู้เจน ส. (2016). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Nursing and Health Research, 17(2), 71–84. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/70354