รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน ตำบลสร้างก่ออำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • บัวพา บัวระภา นิสิตสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผศ.ชัยยง ขามรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผศ.อัจฉรา จินวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

รูปแบบ, ผู้สูงอายุ, รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, Model, Elderly people, The health promotion model of the elderly people

Abstract

      การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน ตำบลสร้างก่อ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1ได้แก่ นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการหมู่บ้านด้านสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 37 คน กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้สูงอายุบ้านบ่อคำ จำนวน 76 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือ ใบงานในกระบวนการ AIC แบบสังเกตกระบวนการ แบบบันทึกการประชุม แบบสอบถามผลการดำเนินงานโครงการ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77และแบบวัดคุณภาพชีวิต เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตระหว่างก่อนและหลังการดำเนินการโดยใช้สถิติ Paired t-test

      ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน

ประกอบด้วย 7  ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ สภาพการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2)วิเคราะห์ปัญหาและสังเคราะห์รูปแบบ 3) ทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 5) นิเทศ สอบถามผลการดำเนินงานโครงการ 6) ประเมินคุณภาพชีวิต 7) ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปและข้อเสนอแนะและรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน ประกอบด้วย 8 กิจกรรม คือ 1) การสร้างเครือข่ายและคณะทำงาน 2) การส่งเสริมการออกกำลังกาย 3) การให้ข้อมูลข่าวสาร/การประชาสัมพันธ์โครงการ 4) การส่งเสริมและพัฒนาด้านจิตใจ 5) การส่งเสริมอาชีพและรายได้ 6) การให้ความรู้และตรวจคัดกรองสุขภาพในวันจ่ายเบี้ยยังชีพ 7) การติดต่อประสานงานของเครือข่าย 8) การจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้การดำเนินงานตามรูปแบบ มีคะแนนหลังการดำเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 (S.D.= 0.55) และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 91.22 (S.D.= 5.86) เป็น 95.89 (S.D.= 7.35)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<0.005) ปัจจัยความสำเร็จเกิดจาก 1) มีการจัดตั้งเครือข่ายคณะทำงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน 3) การติดต่อประสานงานของเครือข่าย 4) ชุมชนมีการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

The Health Promotion Model of the Elderly People by Community,Sangko Sub-District, Kutchap District, UdonthaniProvince

      This action research aimed to study the health promotion model of the elderly people by community, Sangko Sub-distric, Kutchap District, Udonthani Province. The samples were 2 group. Group 1total 37 personsconsist ofthe mayor, The direct of the hospital district health, Headmanvillage,Assistance headman village, Village health committee, Health volunteers, philosopher and The elderly committee club. Group 2 consist of 76 elderly people. Data were collected by worksheets of AIC, Observation form, Conference record, Rating scaleproject performance form of  reliability of0.77 and Rating scale quality of life evaluation form of reliability of 0.85. Data were analyzed by using descriptive statistics in term of frequency, percentage, average, standard deviation. The inferential statistics were analyzed by paired t-test.

      The results found that the process performance of the health promotion model of the elderlypeople by community include 7 stage:1) Context base and Operating condition study 2) Analysisof the problems synthetic model  3) Planning Activities4) Action 5) Supervisionperformance 6) Quality of Life

evaluation 7) Knowledge exchange and suggestions.Thehealth promotion model of the elderly people by communitythat include 8 activities:1) A network and teamwork 2) Promotion of exercise 3) Provide information and Public relation 4) Promotion and Development of psychological 5) Promotion career and earning 6) Educating and Health screening in the allowance received 7) Coordination 8) Memorandum on the health promotion of theelderly people. The processleading tothe health promotion model of the elderly people by community, the overall of operation Project implementation average 4.07 (S.D.= 0.55) and Quality of life for the elderly people evaluation increased form an average 91.22 (S.D.= 5.86) to95.89 (S.D.= 7.35),Theincreased was statistically significant (p value< 0.005)    The key success is comprised 1) Health promotion network working group  2) Participants 3) Coordination 4) Continuing operation of the community. 


Downloads

How to Cite

บัวระภา บ., ขามรัตน์ ผ., & จินวงษ์ ผ. (2016). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน ตำบลสร้างก่ออำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. Journal of Nursing and Health Research, 17(2), 57–70. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/70353