การจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น ตามการรับรู้ของวัยรุ่นในชนบท จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • วนิดา ศรีพรหมษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ดวงพร ถิ่นถา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • สถิดาภรณ์ สุระถิตย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
  • เพ็ญศิริ ศรีจันทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

Keywords:

การจัดบริการสุขภาพ, ด้านอนามัยเจริญพันธุ์, วัยรุ่นชนบท, Health Care Service, Reproductive Health, Rural Teenagers

Abstract

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของวัยรุ่นเกี่ยวกับ สถานการณ์การจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์ คุณลักษณะบริการที่เป็นมิตร และสมรรถนะของผู้ให้บริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี กำลังเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ใน 5 พื้นที่ชนบท จังหวัดอุดรธานี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดยสุ่มเลือกอย่างง่าย จำนวน 439 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1 ชุด แบ่งเป็น 5 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง, ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศ, การตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์, ความคิดเห็นเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวีและเอดส์, และการตระหนักด้านการจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่  ร้อยละ  และ สถิติchi - square  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องเพศศึกษา 6.34 จากคะแนนเต็ม 11 คะแนน กลุ่มตัวอย่างทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนใหญ่เชื่อว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ ทัศนคติต่อการจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์ วัยรุ่นส่วนใหญ่คือร้อยละ 74.7 ไม่ทราบว่าสถานบริการอยู่ที่ไหน และร้อยละ 80 ตอบแบบสอบถามว่าสถานบริการเหล่านี้น่าจะไม่มีประโยชน์มาก ไม่ทราบว่าสถานที่เหล่านี้ให้บริการอะไรแก่วัยรุ่นพบร้อยละ 60.6 และร้อยละ 50 ระบุว่าสถานบริการเหล่านี้ไม่มีบริการสำหรับวัยรุ่น และที่สำคัญคือร้อยละ 98 ของกลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นว่า มันเป็นการยากที่จะเข้าถึงสถานบริการเหล่านี้ โดยที่ร้อยละ 75 กังวลว่าเจ้าหน้าที่ของสถานบริการเหล่านี้จะคาดเดาพฤติกรรมของวัยรุ่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนยังไม่เพียงพอ เกี่ยวกับ การรักร่วมเพศ เลสเบี้ยน เกย์ การมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศ การตั้งครรภ์และการทำแท้ง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ควรมีการเพิ่มเติมในการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน ระบบบริการสุขภาพคือหน่วยงานสาธารณสุขทั้งในระดับประเทศ เขต จังหวัดและพื้นที่ ควรมีการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์และกิจกรรมที่รณรงค์ส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับเยาวชน ควรที่จะกำหนดให้เห็นถึงสิทธิของเยาวชนในการรับบริการด้านอนามัยเจริญพันธ์ การเข้าถึงบริการ การเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายด้านอนามัยเจริญพันธ์ การวิจัยครั้งนี้มีข้อจำกัดคือศึกษาเฉพาะวัยรุ่นในโรงเรียน ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาให้ครอบคลุมวัยรุ่นในทุกพื้นที่และครอบคลุมทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เสี่ยง กลุ่มเสี่ยง ทั้งในและนอกโรงเรียน 

      This survey study was taken with 439 teenagers aged 12-18 years in 5 villages, Udon Thani, Thailand. This study aimed to explore the existing attitudes of rural Thai teenagers towards reproductive health care services. The questionnaire survey had been used for teenage participants that the instrument included 5 dimensions of general information of participants, the knowledge of sexual health, the awareness of prevention of pregnancy when having sex, the attitudes of sexual transmitted diseases, HIV, and AIDs, and the awareness of reproductive health services. The reliability of the questionnaire survey found alpha = 0.91. The descriptive statistics were used to analysed the data. Results: The findings showed the mean knowledge score of contraception and condom reproductive was 6.34 from a total score 11. Most students suggested that the knowledge from schools was not enough. The topics that students needed teachers to provide including homosexual, pregnancy, and abortion. Most teenagers stated that using condom is effective to protect them from pregnancy. However, most male teens felt embarrassment to get condoms from health services.  More than 70 percent of teenagers of both sexes did not have much information about available sexual health services, provided for them (74.7%). They did not think health care officials were useful for them (80%). Most teenagers did not access and get advice from health care services (98%). Most teenagers never talked with health care staff about sexual topics that they were not sure that talking with health care staff was private (75%). Most teenagers especially girls expressed a need for counseling services and reported a need for telephone services. Conclusions: The need of appropriate information focusing on sexual relationships and contraception should be designed to help young people make wise decisions and there should be establishment of easily accessible health care services for Thai teenagers. Health care providers are also need to improve their knowledge, attitudes and skills in reproductive health care practices for Thai teenagers. The future research should address the target groups cover teenagers in schools, out of schools, risky and less risky groups.

Downloads

How to Cite

ศรีดาวเรือง ฉ., ศรีพรหมษา ว., ถิ่นถา ด., สุระถิตย์ ส., & ศรีจันทร์ เ. (2016). การจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น ตามการรับรู้ของวัยรุ่นในชนบท จังหวัดอุดรธานี. Journal of Nursing and Health Research, 17(2), 43–56. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/70352