ความสัมพันธ์ระหว่างภาระการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของมารดาที่มีเด็ก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
Keywords:
ภาระการดูแล, แรงสนับสนุนทางสังคม, คุณภาพชีวิต, มารดา, เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, burden of care, social support, quality of life, mothers, children with congenital heart diseaseAbstract
การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของมารดาที่ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุ 6 - 36 เดือน ที่มารับบริการ ณ คลินิกเด็ก (โรคหัวใจ) และศูนย์โรคหัวใจนราธิวาสราชนครินทร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ จำนวน 85 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาระการดูแล แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต ระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2558 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .78, .91, และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า มารดามีคะแนนภาระการดูแลอยู่ในระดับปานกลาง (mean= 25.74, SD = 3.86) คะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมและคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (mean = 85.18, SD = 13.79 และ mean = 39.61, SD = 6.17 ตามลำดับ) โดยภาระการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.31, p < 01) ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .47, p < 01) และภาระการดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.24, p < .01)ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลมารดาเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยพยาบาลควรจะประเมินระดับภาระการดูแลและแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดา ตลอดจนให้การดูแลช่วยเหลือในการลดภาระการดูแลและเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้มารดาที่ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Relationships Between Burden of Care, Social Support, and Quality of Life Among Mothers of Children With Congenital Heart Disease
The descriptive research aims to examine the relationship among burden of care, social support, and quality of life in mothers of children with congenital heart disease. The sample was mothers of children with congenital heart disease aged 6 - 36 months who received outpatient service at Pediatric clinic (cardiology) and Naradhiwas rajanagarindra heart center, Songklanakarind hospital. Eighty-five purposive sampling were recruited. Data were collected using Caregiver Burden Scale, Social Support Questionnaire, and Quality of Life Questionnaire, during October to December 2015. These questionnaires have Cronbach’s alpha coefficient .78, .91, and .75 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic, and Pearson's product moment correlation. The results showed the mean score of burden of care was at a moderate level (mean = 25.74, SD = 3.86). The means score of social support and quality of life were at the high level (mean = 85.18, SD = 13.79 and mean = 39.61, SD = 6.17, respectively). Burden of care was a lowly significant negative relationship with quality of life (r = -.31, p < 01) social support was a lowly significant positive relationship with quality of life; (r = .47, p < 01) and burden of care was a lowly significant negative relationship with social support (r = -.24, p < 01). The findings of this study can be used by nurses as a guidelines for caring mothers of children with congenital heart disease. Nurses should evaluate the level of burden of care and social support of mothers as well as reduce the burden of care and induce social support for providing care and help mothers to reach a good quality of life, and also can to take care their child effectively.