ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Authors

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

Keywords:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ทักษะการเรียนรู้, นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ, Health Literacy, Health Literacy Program, learning skills, public health students

Abstract

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการที่จะเข้าถึง เข้าใจ และตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูลในรูปแบบหรือวิธีการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม เพื่อภาวะสุขภาพของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้องดังนั้นการส่งเสริมให้บุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experiment research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2562จำนวน 45 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยมาตรวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ด้วยวิธี Cronbach’s alpha มีค่าเท่ากับ 0.84  การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ประกอบไปด้วย จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตำสุด สูงสุด สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Independence t-test และการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทั้งภายในกลุ่มทดลองและภายในกลุ่มเปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-testผลการศึกษาพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติต่างๆ เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม ดังนี้ 1) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการส่งเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 0.32 คะแนน (95% CI0.15-0.50) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  2) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการป้องกันโรค ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 0.19 คะแนน (95% CI0.01-0.39) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) 3) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 0.25 คะแนน (95% CI0.04 - 0.46) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) และ 4) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการดูแลสุขภาพและด้านการฟื้นฟูสภาพ ไม่แตกต่างกัน  ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลให้นักศึกษา  มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นหลักสูตรต่างๆในสถาบันพระบรมราชชนกและหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในสถาบันการศึกษาอื่นๆ สามารถพิจารณานำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป ทั้งนี้เนื่องจาก รูปแบบและผลของการศึกษา มีความสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม

The Effect of the Health Literacy Program among Students in Sirindhorn College of  Public Health KhonKaen, Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health

Health literacy is a wide range of skills in recognition and social. It sets an individual’s motivation and abilities to access, understand, and determine which methods to be used to promote, prevent, maintain, rehabilitate, and protecting consumers to their own health and stakeholders to be in a good being  health. Aim to investigate the effects of the health literacy program among students in Sirindhorn College of Public Health KhonKaen. The quasi-experimental research was employed public health students to trial  the Health Literacy program in Sirindhorn College of Public Health KhonKaen from October to November 2019. The program has consisted of searching health information skills. The evaluation program using the health literacy questionnaire which consist of 120 items, using Cronbach's alpha coefficient for quality with confidence at 0.84. After the experiment, it was found that the experimental group gained more health literacy in health promotion than the controlled group 0.32 point (95%CI 0.15 to 0.50), which was statistically significant p<0.001. In addition, it was found that in health prevention, the difference was 0.19 point (95%CI 0.01 to 0.39), which was statistically significant p=0.05. It was also revealed that health literacy in the consumer protection was 0.25 point different (95%CI 0.04 to 0.46), which was statistically significant p=0.01. However, there were no differences statistically test for both health literacy for health care and rehabilitation. The result was revealed that the health literacy program enhanced the students to improve further health literacy. Therefore, any programs under college of public Health (Praboromarajchanok Institutes) and other health science institutes should be apply this health literacy program in their pedagogy in term of the pattern and the study outcomes, which will be complement the development of learning skills to engage student within digital world.

References

กฤษณี เกิดศรีและสงวน ลือเกียรติบัณฑิต.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
กับความสามารถในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภคในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ.
วารสารเภสัชกรรมไทย. 10 (1), สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561,
จาก https://tjpp.pharmacy.psu.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/60-56final.pdf
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง)
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561.
จาก https://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_แผน12.2559.pdf
จิระภา ขำพิสุทธิ์. (2561). ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1),
67–71.สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2561,
จาก https: //edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/702.pdf

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ประไพจิตร์ โสมภีร์ , อาทิตยา แก้วน้อยและกนกกาญจน์ เมฆอนันต์ธวัช.
(2562). ความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษา
พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. วารสารสาธารณสุข (28) ฉบับพิเศษ,
277-289.สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562,
จาก https://digitaljournals.moph.go.th › tdj › index.php › JHS ›
article › download.
วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติ
การพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44, 183–197. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2561,
จาก https://www2.nmd.go.th/ aad/images/61/nmdjournal /443/443.pdf
วิชัย เอกพลากร. (2557).รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5
พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2559).คู่มือการปฏิบัติงาน:การบริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา
ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค).สมุทรสาคร: บริษัทบอร์นทูบีพับลิชชิ่ง จำกัด.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2554). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต
สถาบันพระบรมราชชนก.นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.
หทัยกานต์ ห้องกระจก.(2559).อิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย
โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาชาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สืบค้นเมื่อ 31ธันวาคม 2561,
จาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/ dcms/ files/ 52920035.pdf
Nutbeam, D.(2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12),
2072–2208. https://dx.doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Retrived August 22, 2018, from
Turner, K., Rakkwamsuk , S., &Duangchai, O.(2018). Health literacy of nursing students at
Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. Journal of health science research.
12(1), 1-9. Retrived August 29, 2018, from https://www.tci-thaijo.org ›
index.php › JHR › article › view

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

ศรีดาเกษ เ., & พาจันทร์ ธ. (2019). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 144–155. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/226600