ผลของการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

Authors

  • พินทอง ปินใจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • พงศ์พัชรา พรหมเผ่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • สุรางคณา ไชยรินคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

การสะท้อนคิด, ทักษะทางปัญญา, นักศึกษาพยาบาล, reflective thinking, cognitive skills, student nurses

Abstract

การวิจัยเรื่อง ผลของการใช้กระบวนการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการสะท้อนคิด  ต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญาสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 2 ทีเรียนในภาคการศึกษา ที่ 2 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา รุ่นที่ 28 จำนวน 92 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนที่ใช้กระบวนการสะท้อนคิดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา เป็นแบบประเมินแบบself  assessmentโดยนักศึกษาเป็นผู้ประเมินตนเองให้คะแนนตามความคิดเห็นเป็น 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ  Dependent t –test ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (n = 87 คน ,94.57%) อายุเฉลี่ย 20.55 ปี (S.D. =1.91) และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (94.60%) เคยมีประสบการณ์การเรียนแบบสะท้อนคิดในขณะที่ฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการแนวคิดและเทคนิคทางการพยาบาลโดยเรียนเป็นกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มๆ ละ 5-7 คนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติจะจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน ภายหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิด นักศึกษามีคะแนนผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.001)  ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิด เป็นกลยุทธ์การสอนหนึ่งที่ดีทำให้นักศึกษาพัฒนาทักษะทางปัญญา ควรนำไปใช้ในการสอนในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป

The effect of using reflectivethinking process for developing cognitive skills among the second year nursing students who attending the Child and Adolescent Nursing subject.

This research entitle “effect of using reflective thinking process for developing cognitive skills among the second year nursing students who attending the Child and Adolescent Nursing subject”  was a one group pretest posttest design. It was aimed at testing the effect of using reflective thinking process for developing cognitive skills among the second year nursing students who attending the Child and Adolescent Nursing subject. Participants were 92 second year nursing students, batch 28, attending the Child and Adolescent  Nursing subject in the second semester, academic year 2018, at  Boromarajonani College of Nursing, Phayao. Research tools compose of 1) lesson plan designed by using reflective thinking process, and 2) intellectual skills questionnaire with four rating scales. Descriptive statistic such as frequency, percentage, mean and standard deviation were used to describe demographic data as well as dependent t –test was used to compare cognitive skills before and after intervention. Research revealed that majority (94.57%) of students were female, there average age was 20.55 year (S.D. =1.91). Majority (94.60%) ever had the experience of learning using reflective thinking process during practicing in the Principle & Techniques in Nursing Practicum which learning in a small group with 5-7 students for two weeks and it depended on the  instructors would provide reflective thinking experience for students. After students studied the Child and Adolescent Nursing subject by using reflective thinking process, students had significant higher score of cognitive skills than before intervention ( p< 0.001).Research suggests that reflective thinking process is one of good strategies for developing students cognitive skills; there for it is recommended to teach in others subject. 

 

References

จุฬินทิพา นพคุณ. (2561). การสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารมหาวิทยาลัยสวนดุสิตปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจำ เดือนกันยายน –
ธันวาคม 2561.
เชษฐา แก้วพรหม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการ
เรียนรู้ ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
จันทบุรี 2556.
เฌอร์นินทร์ ตั้งปฐมวงศ์ และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ต่อทักษะ
ทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล . วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 19 ฉบับพิเศษ พฤษภาคม –
สิงหาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี. (2561) . ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2558). เอกสารประกอบการอบรมกลยุทธ์การสอนสำหรับอาจารย์วิทยาลัย
เครือข่ายภาคเหนือ .วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีพุทธชินราชพิษณุโลก.
ประกาย จิโรจน์กุล , พิไลพร สุขเจริญ , สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์ และ ญาดารัตน์ บาลจ่าย.(2561).การเรียนรู้
จากการให้บริการสู่การพัฒนาทักษะทางปัญญา และคุณค่าวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล .วารสาร
พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2561.
ประไพ กิตติบุญถวัลย์ , จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ , ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา และ Samuel Umereweneza. (2561).
การสะท้อนคิด: จากประสบการณ์ที่ล้าค่าสู่การเปลี่ยนแปลง. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE
RESEARCH Volume 12 No. 1: January – June 2018.
ปวีณภัทร ตันตินิธิวัฒน์.(2557).คู่มือแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflection).วิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี.
มกราพันธ์ จูฑะรสก.(2558). การสะท้อนคิด: กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ด้วยตระกร้า 3 ใบ
กรุงเทพฯ.บริษัทดีเน็กซ์ อินเตอร์คอปอเรชั่นจำกัด.
ลำเจียก กำธร. (2560).การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษา
พยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล
และการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2560.
วรวิทย์ ชัยพรเจริญศรี และคณะ . (2558). ผลของการสอนด้วยการสะท้อนคิด และพัฒนาระดับการรับรู้
ความสามารถของผู้เรียนต่อสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติในรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว และชุมชน 2: กรณีศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธ
บาท . การประชุมวิชา การระดับชาติ ประจำปี 2558: Diversity in Health and Well-Being.
ศศิธร ชิดนายี .(2560).การฝึกหัดทางปัญญา: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความรู้ .วารสาร
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ , พรรณี สินธพานนท์.(2561) .พัฒนาทักษะการคิด.พิชิตการ
สอน.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์, พรรณี สินธพานนท์. (2561). พัฒนาทักษะการคิดตาม
แนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ.ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุภมาส ตามบุญ อรุณี ไชยฤทธิ์ และ พรเลิศ ชุมชัย. (2558) . การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อน
คิดในกระบวนการวางแผนจาหน่ายเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติการ
บริหารการพยาบาล.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท .การประชุมวิชาการระดับชาติ
ประจำปี 2558: Diversity in Health and Well-Being
อัศนี วันชัย , ชนานันท์ แสงปาก, ยศพล เหลืองโสมนภา. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค
การสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล .วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2:
กรกฎาคม - ธันวาคม 2560 .
อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2561). การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษา
ครู . Veridian E-Journal, Silpakorn University ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
2561.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย .(2553). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Johns, Christopher .(2000). Becoming a Reflective Practitioner. London: Blackwell Science.
Sherwood GD, Deutsch SH. Reflective practice: Transforming education and improving
outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International; 2014.
Sherwood GD, Horton-Deutsch S. (2017).Reflective practice: Transforming education and
improving outcomes. 2nd ed. Indianapolis: Sigma Theta Tau International;.
Tsingso C, Bosnic-Anticevich S, Smith L.(2014). Reflective practice and its implications for
pharmacy education. Am J Pharm Educ.

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

ปินใจ พ., พรหมเผ่า พ., & ไชยรินคำ ส. (2019). ผลของการสอนโดยกระบวนการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 200–214. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/225391