การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล สำหรับนักศึกษาพยาบาล
Keywords:
หลักสูตรเสริม, สมรรถนะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล, นักศึกษาพยาบาล, Supplementary curriculum, Rational antibiotic drug use competencies, Nursing studentAbstract
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสำหรับนักศึกษาพยาบาล มีการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่1การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของนักศึกษา โดยการศึกษาเอกสารหลักสูตร เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์และผู้ใช้บัณฑิต การสนทนากลุ่มนักศึกษาพยาบาลและผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบหลักสูตรเสริม นำร่างหลักสูตรเสริมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสมและมีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเสริมตามคำแนะนำ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรเสริมเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมตามเกณฑ์ 80/80 โดยนำหลักสูตรเสริมไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่4 จำนวน 30คน ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเสริม ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีการเรียนการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลยังไม่ชัดเจนทำให้นักศึกษาขาดสมรรถนะการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) หลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลมีองค์ประกอบ คือหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหาจำนวน 1 หน่วยกิต ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียน วิธีการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมใช้บทเรียนออนไลน์ผ่าน Google Classroom สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล 3) การทดลองใช้หลักสูตรเสริมพบว่าหลังการใช้หลักสูตรเสริมทำให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้และเจตคติต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับภายหลังการทดลองใช้หลักสูตรเสริม 1 เดือน พบว่านักศึกษาร้อยละ 100 มีคะแนนทักษะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระดับมาก (Mean=4.13, SD=0.60) ประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมเท่ากับ 80.23/83.50 และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.96, SD=0.39) และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเสริมและนำไปขยายผลโดยการทดลองใช้อีกครั้ง พบว่าหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสำหรับนักศึกษาพยาบาลสามารถพัฒนาความรู้ เจตคติและทักษะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลได้จึงควรส่งเสริมการใช้หลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล จะช่วยให้นักศึกษาสามารถดูแลตนเองและผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสมและส่งผลให้สามารถลดปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลและลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะได้
Development of the Supplementary Curriculum for promoting Rational Antibiotic Drug Use Competencies among Nursing Students
This research and development study aimed to develop the supplementary curriculum for nursing students to promote the rational antibiotic drug use competencies. The process of development, including the 4 steps as follow: Step 1 the study of background information from academic documents and opinion from stakeholder including nursing instructors, graduate users and nursing students. In-depth interviews were conducted with nursing instructors and graduate users. Focus group discussion was conducted with nursing students and also examined the knowledge of rational antibiotic drug use among 215 nursing students in Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province using questionnaire. Step 2 curriculum design, the curriculum was validated and rate its appropriateness by five experts and revised according to their comments and suggestions. Step 3 curriculum implementation was conducted with 30 fourth-year nursing students. Step 4 revising the curriculum. The results revealed that; 1) There was little content regarding rational antibiotic drug use in Bachelor of Nursing Program. 2) The supplementary curriculum composed of rationale, objective, and one credit composed of 5 modules. The methods of teaching and learning activities including on line learning, instructional media and learning outcome evaluation. 3) One month after the curriculum implementation found that nursing students showed a significantly increased in knowledge, attitude, and skills score of rational antibiotic drug use (p<.001 and p<.05 ). Most of students had practice score at good level (M=4.13, SD=0.60). The criterion for efficiency and achievement of the supplementary curriculum were met (E1/E2 = 80.23/83.50). Nursing students satisfied with the curriculum at good level (M=3.96, SD=0.39) and Step 4 the curriculum was revised and implement again. The supplementary curriculum for nursing students to promote the rational antibiotic drug use for nursing students can increase the score of knowledge, attitude, and skills of rational antibiotic drug use. Promoting the use of the supplementary curriculum for nursing students to promote to promote the rational antibiotic drug use that will increasenursing student ability to perform self-care and patient care appropriately. This may reduce the problem of unreasonable antibiotics use and antibiotic resistance.
References
จัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้รอบด้านรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล
อนามัยชุมชน: กรณีคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.
วิชาการ, 20(40), 41-51.
กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนวิชาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้นโยบาย “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล”เป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาที่ 15. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม, 2562 จากpr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=8484120
นภาภรณ์ ภูริปัญญาวานิช. (2560). การพัฒนาข้อเสนอระบบเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศ ไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, รายงานการวิจัย.
วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (2561). มคอ.2 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. สถาบันพระบรมราชชนก นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2562). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2563 – 2567. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). ปฏิรูปการสร้างคนสุขภาพ บูรณาการร่วม 9 วิชาชีพ ตอบสนองระบบ บริการสุขภาพและประชาชน. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2560, จาก https://www.hsri.or.th/ researcher/ media/news/detail/7546
สภาการพยาบาล. (2562). บทสรุปรูปแบบการบรรจุหลักสูตรการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562, จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/summarymed.pdf
สรัญญ์รักษ์ บุญมุสิก รุ่งนภา จันทรา ชุลีพร หีตอักษร (2562) ความรู้ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง สมเหตุผลของนักศึกษาพยาบาลเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 25-36.
อติญาณ์ ศรเกษตริน นงณภัทร รุ่งเนย นิตยา ทองมา รัชชนก กลิ่นชาติ เบญจพร รัชตารมย์
พรฤดี นิธิรัตน์. (2562). ปัจจัยทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชนนี นครราชสีมา, 25(1), 43-59.
Hiemstra, R. (1997). Self-Directed Learning. The International Encyclopedia of Education (2nd)
Grate Britain : Wheaton Ltd, Exeter.
Hirumi, A. & Bermudez, A. (1996). Interactivity, distance education and instructional systems design
converge on the information superhighway. Journal of Research on Computing in Education.
29: 1-6.
Brockett, G.; & Hiemstra, R. (1991). Self – directed in Adult Learning: Perspective on Theory,
Research, and Practice. New York: Routledge.
Griffin. (1983). Curriculum Theory in Adult Lifelong Education. London: Croom
Helm.
Krippendorff, K. (2013). Content analysis: An introduction to its methodology (3rd edition). Los Angeles: SAGE publication.
Merriam, S. B. (2001). Andragogy and self‐directed learning: Pillars of adult learning theory. New directions for adult and continuing education, 2001(89), 3-14.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace and World.
World Health Organization. (1985). การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU). Retrieved March 6, 2019 from drug.fda.moph.go.th:81//nlem.in.th/sites/.../1rdu_ hospital_projectedit_oct 14__edit.pdf