ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทมารดาของวัยรุ่น

Authors

  • จรรยา แก้วใจบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • อรทัย แซ่ตั้ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทักษิกา ชัชวรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, การแสดงบทบาทมารดา, วัยรุ่น, Related factors, maternal role, teenagers

Abstract

การที่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดจะแสดงบทบาทมารดาได้อย่างเหมาะสมนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงบทบาทการเป็นมารดาวัยรุ่น และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทมารดาของวัยรุ่น  กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอด ได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลพะเยา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562  จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ข้อมูลทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วน  คือ ส่วนที่ 1  ข้อมูลส่วนบุคคล   ส่วนที่ 2 ประวัติการคลอด  และการเลี้ยงดูบุตร และส่วนที่ 3ข้อมูลของบุตร ชุดที่ 2  การสนับสนุนทางสังคมจำนวน คือ การสนับสนุนจากครอบครัว และ การสนับสนุนจากสังคม ชุดที่ 3 การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอด  คือ การมีสัมพันธภาพกับบุตร และ การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลบุตร ชุดที่ 4 แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST - 20) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน  ได้ค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00  และหาความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของเครื่องมือชุดที่ 2 ชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4   เท่ากับ 0.84, และ 0.87 และ 0.90ตามลำดับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้ความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Product Moment Correlation และ Chi- Square  ผลการวิจัย พบว่า ผลการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอดภาพรวม พบว่า มารดาวัยรุ่นสามารถแสดงบทบาทของมารดาได้ดีมาก (  gif.latex?\bar{X}= 4.73, S.D. = .10) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  ประกอบด้วย  การมีสัมพันธภาพกับบุตร การปฏิบัติกิจกรรมการดูแลบุตร  พบว่า โดยรวมภาพอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.80, S.D. = .30) และ (  gif.latex?\bar{X}= 4.66, S.D. = .31) ผลการสนับสนุนทางสังคม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.55, S.D. = .40)  เมื่อวิเคราะห์ในรายด้าน พบว่า การสนับสนุนจากครอบครัวและการสนับสนุนจากสังคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.38, S.D. = .52) และ ( gif.latex?\bar{X}= 3.26, S.D. = .34) ส่วนผลการวัดความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง  ร้อยละ 75  ในระดับเล็กน้อย และเครียดรุนแรงร้อยละ 10 ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ภาวะเครียดกับการแสดงบทบาทมารดาของวัยรุ่น  พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทางบวก (r = 0.549) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.012)  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการสนับสนุนให้มารดาวัยรุ่นสามารถประสบความสำเร็จในการแสดงบทบาทของมารดา

Factors related to maternal role of teenagers

Teenage mothers who were able to play the maternal role appropriately after postpartum would rely on many factors. This research aimed to explore the maternal role of teenage mothers and factors related to their maternal role. Participants were twenty of postpartum teenage mothers who had been discharged from Phayao Hospital. The research questionnaires consisted of 4 sessions: 1) Demographic data: personal information, giving birth history and childcare information, 2) Social support from family and society, 3) the adaptation of maternal role during the postpartum period: relationship with their child and childcare activities, and 4) Stress test using SPST-20 of Department of Mental Health. It were approved by three experts ( IOC = 0.67-1.00) and its reliability was 0.84, 0.87, and 0.90 respectively. Data was analyzed by using frequency and percentage, mean and standard deviation, Pearson Product Moment Correlation, and Chi- Square. Research findings revealed that  the overall score of the adaptation of maternal role during the postpartum period was at very high level ( gif.latex?\bar{X} = 4.73, SD = 0.10), the overall score of the relationship with the child and childcare activities were at very high level (  gif.latex?\bar{X}= 4.80, SD = .30 and (  gif.latex?\bar{X}= 4.66, SD = .31 respectively). Also, the overall score of social support was at high level (  gif.latex?\bar{X}= 3.55, SD = .40). Considering each aspect of social support had found that the family support and social support were at the high level (  gif.latex?\bar{X}= 3.38, SD = .52and   gif.latex?\bar{X}= 3.26, SD = .34 respectively). Over 75 percent of participants had stress at medium level and 10 percent of them had stress at severe level, and the result of the relationship analysis of social support and stress of adolescents’ maternal role was found a positive correlation (r = 0.549) significantly (p-value = 0.012). The results had showed that the social support was a great help in encouraging adolescent mothers to be successful in maternal role.

References

จีรันดา อ่อนเจริญ นิตยา สินสุกใส วรรณา พาหุวัฒนกร และปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2) : 87-98.
บุญมี ภูด่านงัว, วรรณี เดียวอิศเรศ, และกนกนุช ชื่นเลิศกุล. (2556). ตัวตนใหม่: ประสบการณ์การเป็นมารดา
ของนักเรียนที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ. วารสารสภาการพยาบาล, 28(2), 58-74.
พิมพ์ศิริ พรหมใจษา กรรณิการ์ กันธะรักษา จันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2557). ผลของการส่งเสริมการ
สนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. พยาบาลสาร,ปีที่ 41 เมษายน-
มิถุนายน, 97-106
มยุรี นภาพรรณสกุล, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, สุนุตตรา ตะบูนพงศ์, และบุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์. (2550). ปัจจัย
ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงบทบาทการเป็นมารดา.สงขลานครินทร์เวชสาร, 25(1), 1-8.
รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ. (2557). ปัจจัยทำนายความเครียดในการเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกวัยทารก.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชฏากรณ์ ธรรมรัตน์ พิริยา ศุภศรี สุพิศ ศิริอรุณรัตน์.(2560).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการ
ดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 9(3),
37-47.
รีนา ต๊ะดี.(2560). ชีวิตวัยรุ่นหญิงเมื่อต้องเป็นแม่. การประชุมวิชาการระดับชาติ” ประชากรและสังคมครั้งที่13”.
วันที่ 30 มิถุนายน 2560. ณ.โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ.
วันชาติ แวดล้อม. (2553). อิทธิพลของการสนับสนุนของคู่สมรส และการทำ หน้าที่ของครอบครัว ที่มีต่อความ
ไวในการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2560). สถานกาการณ์อนามัยการเจริญพันธ์ใน
วัยรุ่นและเยาวชนปี 2558. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561 จาก http.//rh.anamai.moph.go.th.
แสงจันทร์ สุนันต๊ะ ฉวีวรรณ อยู่สำราญ วรรณา พาหุวัฒนกร. (2559). ผลของการให้ความรู้และการ
สนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยายต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา.วารสาร
พยาบาลทหารบก, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พ.ค. - ส.ค.),125-134.
สุจิตรา ชัยวุฒิ. (2554). การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาครอบครัวและทารก.ในอภิรัชอินทรางกูรณ
อยุธยา (บรรณาธิการ), ความรู้เบื้องต้นการพยาบาลผดุงครรภ์เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 207-228).
เชียงใหม่: คลองช่างพริ้นท์ติ้ง.
สุภาวดี เครือโชติกุลและสุมิตตา สว่างทุกข์. (2552). เปรียบเทียบความเครียดในบทบาทระหว่าง
มารดาวัยรุ่นและมารดาวัยผู้ใหญ่, วารสารเกื้อการุณย์, 16(2), 75 - 89.
อดิณา ศรีสมบูรณ์. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาต่อความสำเร็จใน บทบาทการ
เป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์. Journal of Nursing Science ;29(2): 74-81.
Cox, J. E., Buman, M., Valenzuela, J., Joseph, N. P., Mitchell, A., & Woods, E. R. (2008).Depression,
parenting attributes, and social support among adolescent mothers attending a teen tot
program. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecol, 21(5),275-81.
DeVito J. (2007). Self-perceptions of parenting among adolescent mothers. J Perinat Educ,16(1):16-23.
Green, C. J., & Wilkinson, J. M. (2004).Maternal newborn nursing care plan.(2nd ed.). St.Louis: TheC.V.
Mosby, Inc.
Littleton, L. Y., &Engebretson, J. C. (2005).Maternity Nursing Care.(2nd ed.). St. Louis: Elsevier, Inc.
Mercer, R. T. (2004).Becoming a mother versus maternalrole attainment.Journal of Nursing Scholarship,
36,226-232.
Logsdon, M. C., &Koniak-Griffin, D. (2005). Social support in postpartum adolescent : Guidelines for nursing
assessments and interventions. Journal of Obstetric,Gynecologic, & Neonatal Nursing, 34(6),
761–768.
Muangpin, S. (2009). Experiences of being unmarried pregnant adolescents in northeastern Thailand.
Unpublished master’s thesis, Chiangmai university, Chiangmai, Thailand.
Olds, S. B., London, M. L., Ladewig, P. W., & Davidson, M. R. (2008).Maternal-newborn nursing and
women,s healthcare. (8th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

แก้วใจบุญ จ., แซ่ตั้ง อ., & ชัชวรัตน์ ท. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทมารดาของวัยรุ่น. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 95–106. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/223840