ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการมองเห็นบกพร่องในผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Authors

  • Chanyawee Chaiwong

Keywords:

ความชุก, การมองเห็นบกพร่อง, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยเสี่ยง, Prevalence, Vision impairment, the elderly, Risk factors

Abstract

 ความบกพร่องในการการมองเห็นมีความสัมพันธ์กับความพิการและคุณภาพชีวิตที่ลดลงของผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การมองเห็นบกพร่องและปัจจัยเสี่ยงของการมองเห็นบกพร่องของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 1,609 คน จาก 8 พื้นที่ของ 6 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป  แบบคัดกรองสุขภาวะทางตา แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น และแบบคัดกรองภาวะหกล้ม  ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบคัดกรองสุขภาวะทางตา แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น เทากับ0.72,0.89 ตามลำดับ  ส่วนแบบคัดกรองภาวะหกล้ม มีความน่าเชื่อถือในการวัดซํ้าและระหว่างผู้วัดอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม (ICC =0.95-0.99)  และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเทากับ 0.76  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิธีถดถอยพหุแบบลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 70.48 ±7.68 ปี  มีปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็น ร้อยละ 40.77  โดยพบความบกพร่องด้านสายตาผิดปกติมากที่สุด ร้อยละ 70.28 รองลงมาคือต้อกระจก ร้อยละ 16.01 ด้านปัจจัยเสี่ยงของการมองเห็นบกพร่อง พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และเป็นเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับการมองเห็นบกพร่อง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีการมองเห็นบกพร่องมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการรู้คิดบกพร่องและความเสี่ยงต่อการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  มีค่า adjusted odds ratio เป็น 2.24 (95% CI: 1.79-2.81), 1.90 (95% CI: 1.47-2.45), 5.65 (95% CI: 4.50-7.11) และ 1.56 (95% CI: 1.23-1.98) ตามลำดับ สรุป ความชุกของการมองเห็นบกพร่องของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในเกณฑ์สูง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี และระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดการมองเห็นบกพร่องในผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีการมองเห็นบกพร่อง มักพบว่ามีความบกพร่องในการรู้คิดและเสี่ยงต่อการหกล้ม  ดังนั้นผู้ให้บริการสุขภาพจึงควรให้ความสำคัญในการป้องกันสาเหตุและความเสี่ยงของการมองเห็นบกพร่องในผู้สูงตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ โดยการให้ความรู้และทำการคัดกรองความสามารถในการมองเห็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการรู้คิดบกพร่อง อายุ 70 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน เพื่อสามารถให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรก

The Prevalence and Risk factors of Visual Impairment among older adultsin the Northeast of Thailand

Visual impairment is associated with disability and deteriorates the quality of life among the elderly. This descriptive research aimed to assess the prevalence and associated risk factors of visual impairment among the elderly. There were 1,609 elderly cases in 6 provinces; 8 areas in the Northeast of Thailand who were randomized by multi-stages sampling. Questionnaires comprised of demographic data, eye-health screening and the Thai Mental State Examination (TMSE) in which the Cronbach's alpha coefficient of the eye-health screening questionnaire and the TMSE were equal to 0.72 and 0.89, respectively. It was found that the reliability of the fall assessment questionnaire in repeating measurements and between measuring userswas excellent (ICC = 0.95-0.99). The confidenceof the whole questionnaire is 0.76. The collected data were analyzed by using percentage, mean, and multiple logistic regression. The results showed the average age of participants was 70.48±7.68 years, the majority were females (61.1%). The prevalence of vision impairment was 40.77%. The majority types of impairment were reflective errors (70.28%) and cataract (16.0%). The significant risk factors associated with visual impairment among the elderly with adjusted odds ratio (adj.) were age over than 70 years (2.241, 95% CI: 1.79-2.81) and diabetes (1.90, 95% CI: 1.47-2.45). Moreover, there were correlation between visual impairment and the risk of cognitive impairment (5.6, 95% CI: 4.50-7.11), as well as between visual impairment and the fall assessment risk (1.56, 95% CI: 1.23-1.98). In conclusion, the prevalence of visual impairment was high in this study. Age over than 70 and diabetes were important risk factors of visual impairment. In addition, cognitive impairment and risk to fall were associated with visual impairment. Health care providers should concern and proceed primary and secondary prevention programs. Health education and screening program in the elderly with visual impairment and seek early treatment for those who have high-risk factors in the community.

 

Author Biography

Chanyawee Chaiwong

   

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. นนทบุรี, สำนักงาน
กิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.
นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา,บุปผา ใจมั่น.( 2560). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ: เพชฌฆาต
เงียบที่ควรตระหนัก.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.28 (1):100-111.
พิทยา ภมรเวชวรรณ. (2560). โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. สุขภาพผู้สูงอายุ. สืบค้นวันที่ 21สิงหาคม 2560
จาก www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=966
ลัดดา เทียมวงศ์ และ จอม สุวรรณโณ. (2557). ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวบกพร่องของผู้สูงอายุ
ในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 57-69.
วรางคณา ชัยสงคราม (2560) ความชุกและปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 26 (S1): S37-S45.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.(2560). การสำ รวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557.บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
สุชาดา ภัทรมงคลฤทธิ์ (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในผู้สูงอายุ. คณะพยาบาลศาตร์. กรุงเทพฯ,
มหาวิทยาลัยมหิดล. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: 214 หน้า.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
อนุพจน์ สมภพสกุล, และคณะ. (2560). "ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้น
จอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์4(3): 29-43.

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

Chaiwong, C. (2019). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการมองเห็นบกพร่องในผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 107–118. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/205139