ทัศนคติของสูติแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

Authors

  • สุทธิรักษ์ นภาพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

Keywords:

Attitude, Obstetrician, Nurse, Safe abortion, ทัศนคติ, สูติแพทย์, ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

Abstract

ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นำไปสู่ปัญหาสังคม และเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเมื่อวัยรุ่นและสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ จะต้องได้รับสิทธิในการรับบริการและรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน หลังดำเนินงานยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยพบว่า แพทย์และสถานพยาบาลของรัฐที่รับยุติการตั้งครรภ์ปลอดภัยยังมีน้อยทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของสูติแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งเกี่ยวกับทัศนคติต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยพบว่า ความคิดเห็นของสูติแพทย์แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนและยินดีที่จะยุติการตั้งครรภ์ กลุ่มที่สนับสนุนแต่ไม่ยินดีที่จะยุติการตั้งครรภ์ และกลุ่มที่ไม่สนับสนุนและไม่ยินดีที่จะยุติการตั้งครรภ์ โดยกลุ่มที่สนับสนุนการยุติการตั้งครรภ์มองในด้านของปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการป้องกันการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย แต่กลุ่มที่สนับสนุนก็เห็นว่าในด้านกฎหมายนั้นยังไม่อนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มที่ไม่สนับสนุนนั้นมองว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมและเป็นบาป

Attitudes of Obstetricians towards Safe Abortion

The problem of unplanned pregnancy among adolescence and female of reproductive age in Thailand has lead to social problem in many dimensions. It was also proved to be a major factor of sickness and death from unsafe abortion of pregnant women in Thailand. The Ministry of Health has the policy to prevent and resolve the problem of unwanted pregnancy, unintended pregnant require the right to access medical treatment like other patients and procedure for terminating an unintended pregnancy should be carried out by the necessary skills persons and environment in medical standard. After working on safe abortion services, it was found that doctors and public hospitals that accept safe pregnancy were underprovided, causing pregnant women to not be able to access services. In-depth interviews with obstetricians in a governmental hospital about attitudes towards safe abortion, found that opinions of obstetricians are divided into 3 groups: advocate and are willing to terminate of pregnancy,advocate but are not willing to terminate of pregnancy and oppose and are not willing to terminate of pregnancy. The groups that advocate safe abortion are looking at economy, social problem and prevention of unsafe abortion. Also they agree that the law does not allow termination of pregnancy. As for the opposing groups, it was viewed as immoral and sinful.

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฌอมาศ จำกัด.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือปฏิบัติการทางคลินิกสำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อการแท้งที่ปลอดภัย.
กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.
________. (2560). รายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
World Health Organization. (2012). Safe abortion: technical and policy guidance for health systems. 2nd edition. Malta: World Health Organization.
ชลลดา บัวทรัพย์. (27 มีนาคม 2561). ประชาสังคม เรียกร้องแก้ ม. 301 เปิดช่องทำแท้งได้ถูกกฎหมาย สร้างความเท่าเทียม. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561, จาก
https://www.isranews.org/isranews-news/64617-abortion.html
อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. (11 กุมภาพันธ์ 2562). ขอสังคม ‘เปลี่ยนมุมคิด’ หญิงท้องไม่พร้อมคือผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562, จาก
https://www.thaihealth.or.th/Content/47424.html

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

นภาพันธ์ ส. (2019). ทัศนคติของสูติแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 3–14. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/204481