ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจติดตาม ระดับน้ำตาลที่ กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย
Keywords:
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 HbA1c, Glycemic control, Diabetes Mellitus Type 2 Patients, HbA1cAbstract
การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (HbA1c< 7% หรือ FBS < 100 mg/dL) ถือเป็นจุดสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาล (HbA1c< 7%) ในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาตรวจติดตามระดับน้ำตาลที่ กองการแพทย์นครเชียงรายโดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาระหว่าง 1 พฤษภาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2562 ในกลุ่มประชากรโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 49 คน ที่มารับการรักษาที่ กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงรายข้อมูลถูกเก็บโดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบสอบถามผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ 0.80 0.77 และ 0.83 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 60 ปีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 kg/m2 (ร้อยละ67.3) ร้อยละ 55.1 ของกลุ่มตัวอย่างไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กล่าวโดยสรุปการสนับสนุนทางสังคมระดับสูงโดยเฉพาะจากการดูแลของชมาชิกในครอบครัวและการมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 kg/m2เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาและตรวจติดตามระดับน้ำตาล ที่ กองการแพทย์เทศบาลนครเชียงรายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1c< 7% หรือ FBS < 100 mg/dL)
Effective Factors Associated with Controlling Blood Sugar among Diabetes Mellitus Type 2 Patients on follow-up at Medical Division, Chiang Rai Municipality
To maintain normal blood-sugar levels (HbA1c< 7) in type 2 diabetes mellitus (T2DM) is the critical point for treatment. The objective in this study was to determine the relationship between personal factors, background knowledge of diabetes type 2, social support, and health care behaviors against glycemic control in T2DM. The cross-sectionalstudy was conducted on 49 T2DM patients who visitfollow-up of the glycemic level at Medical Division, Chiang Rai Municipality by self-administered questionnaire during May 2019. The instruments for data collection comprised 4 parts including personal factors, background knowledge of diabetes type 2, social support, and health care behaviors.The Content Validity Index (CVI) of questionnaire value of 0.90 and the reliability of the questionnaire in the parts of background knowledge of diabetes type 2, social support, and health care behaviors were 0.80 0.77 and 0.83 ,respectively. The dada revealed that T2DM are mostly female and have overweight (BMI > 30 kg/m2),as well as 55 percent of T2DM was unable to control blood sugar levels (HbA1c> 7). According to the Chi-square test, body mass index, the background knowledge of diabetes type 2, social support, and health care behaviors were significantly associated with glycemic control in T2DM (p-value< 0.05). Therefore,the factors that might help T2DM to management and improve glycemic control werelower in BMI, gain more knowledge about type 2 diabetes, and obtaining social support especially form family.
References
Haghighatpanah Mohammad, Mozaffari, N. A. S., & Haghighatpanah Maryam. (2018). Factors that Correlate with Poor Glycemic Control in Type 2 Diabetes Mellitus Patients with Complications Osong Public Health and Research Perspectives, 9(4), 167−174.
Honestdocs. (2019). น้ำหนักกับโรคเบาหวาน. Retrieved from https://www.honestdocs.co/weight-with-diabetes
World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. Retrieved from https://www.who.int/diabetes/en/
Yigazu Daniel Miteku, & Desse Tigestu Alemu. (2017). Glycemic control and associated factors among type 2 diabetic patients at Shanan Gibe Hospital, Southwest Ethiopia.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เผยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/Content/33953-เผย“โรคเบาหวาน”มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น.html
กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.
จรวย สุวรรณบำรุง. (2559). กระบวนการวิจัย : การประยุกต์ใช้ทางสุขภาพและการพยาบาล. นครศรีธรรมราช: ก.พลการพิมพ์.
ณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทมุธานี, 6(3), 163-170.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำาตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-522.
อมรรัตน์ รักฉิม สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และวรนุช แสงเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่2 โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (คณะเภสัชศาสตร์ ), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, Retrieved from https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/5197/789
อรพินท์ สีขาว รัชนี นามจันทรา และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 39-49.
อุสา พุทธรักษ์ และเสาวนันท์ บําเรอราช. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลก้างปลา จังหวัดเลย (คณะแพทยศาสตร์), มหาวิทยาลัยขอนแก่น Retrieved from https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMP11.pdf