การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด University-Community Engagement

Authors

  • ธานี กล่อมใจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทักษิกา ชัชวรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • สิริสุดา เตชะวิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

การบูรณาการ, ความเข้มแข็งของชุมชน, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, University-Community, integration, community strengthening, dependent elders, university-community engagement

Abstract

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง   โดยมีขั้นตอนการวิจัย  2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการณ์การของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  จากผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังและได้รับการประเมินจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อมว่าเป็นผู้ป่วยติดบ้านที่มีการรับรู้ปกติ    และสามารถสื่อสารภาษาไทยหรือภาษาถิ่นได้อย่างเข้าใจ   และมีความยินดีให้ความร่วมมือจำนวน66คน แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามผลกระทบจากภาวะพึ่งพิง และแบบแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น  ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาด้วยผุ้ทรงคุณวุฒิ  3 ท่านได้ค่า IOC 0.67-1  และค่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .73, 0.84, 0.75, 0.90 และ 0.74  ตามลำดับ  ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง  ตามแนวคิด  University-Community Engageme ประกอบด้วย 1) การร่วมคิดร่วมทำแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน (Partnership) 2) การดำเนินการเพื่อเกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย(Mutual benefits) 3) การก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดผลงานวิชาการ (Knowledge sharing and scholarship)  และ 4) เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย(Measurable social impact)  ผลการศึกษา พบว่า  ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปมากที่สุด    ภาวะพึ่งพิงทำให้มีผลกระทบต่อผุ้สูงอายุในทุกด้านทั้งด้านสุขภาพ ครอบครัว   ชุมชนและสถานบริการสุขภาพ    ส่วนผลพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด  University-Community Engageme  ปรากฏว่ามีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายของชุมชน  จนเกิดผลงานวิชาการได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่แกนนำจิตอาสา  และจัดทำคู่มือ เพื่อให้แกนนำจิตอาสานำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแกนนำจิตอาสามีขีดความสามารถในการดูแลสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมากขึ้นและเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยผ่อนเบาภาระของเจ้าหน้าที่รพ.สต.ได้เป็นอย่างดีชุมชนมีการขยายผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชนเพื่อชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน  ส่วนวิทยาลัยพยาบาลได้ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ และความมีจิตอาสาแก่นักศึกษาพยาบาล    ในการแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชนด้วยศักยภาพของชุมชน

 The development of the model  of Integration  between  academic instruction  and health  services to enhance the strengthening of the community for dependent elderly caring by University-Community Engagement  Concept

This research and development aimed to identify a situation of elderly dependency  and to develop a model of curriculum and community engagement integration to strengthen community ability in caring for the dependent older adults in Bantom community. The study processes composed of two steps: Step I situation analysis of the 66 dependent older adults who were living with chronic diseases and were identified by Bantom sub-district Health Promotion Hospital ashomebound patients. They were also orientable, communicable using Thai or local language, and preferable to be a part of the study. Research instruments composed of a questionnaire of dependent impacts and a shot-form of Thai mental health index with .67-1 of IOC by three experts. Cronbach’s alpha reliability of the variables was .73, .84, .75, .90 and .74 respectively. Step 2 the development of a model of curriculum and community engagement integration following a concept of University-Community Engagement including partnership, mutual benefit, knowledge sharing and scholarship, and measurable social impact.

Research findings revealed that the elderly has lower mental health than other people. Dependent status of the older adults impacted to physical health, family, and health services. The model of curriculum and community engagement integration showed that the collaboration of stakeholders in the community established academic outcomes such as an intensive training workshop for the voluntary caregivers, a handbook of basic care for the voluntary caregivers to provide an appropriate care for the dependent elderly. The voluntary caregivers improved caring skills and were able to assist the dependent elderly in the community. The community sustainable development was significantly found from this study as an expansion of caring for the dependent elderly in community. In addition, the nursing college also gained more knowledge and innovations in curriculum development to improve knowledge, skills, and caring mind of the nursing students.

References

ชวลิตสวัสดิ์ผล, ธวัชชัยเพ็งพินิจ, อัครเดชเสนานิกรณ์และวารีศรีสุรพล. (2560). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ใน
ภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5
ฉบับพิเศษ, 387-405
นันทนาอยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะ
จรเข้น้อยอำเภอบางเสาธงจังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารทั่วไปวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.
เนติยา แจ่มทิม สินีพร ยืนยง ปุรินทร์ศรีศศลักษณ์. (2558). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมใน
การดูแลผู้สูงอายุตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวง
สาธารณสุข,Vol 25, No 3, 108-119
ปัณณธร ชัชวรัตน์ และสมานจิต ภิรมย์รื่น. (2558). การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 16(3), 100-108.
พันธกิจสัมพันธมหาวิทยาลัยกับสังคมEngagement Thailand.(2559). ประมวลบทความวิชาการเพื่อสังคม
Socially-engaged Scholarship. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วันชัยชูประดิษฐ์. (2554). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล
ตำบลลำทับอำเภอลำทับจังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระ
บรมราชูปถัมภ์.
วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ ร.อ.หญิงศิริพันธ์ สาสัตย์พรทิพย์ มาลาธรรม และ
จิณณ์สิธาณรงค์ศักดิ์.(2557). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น.
วารสารสภาการพยาบาล, 29 (3), 104-115
ศศิพัฒน์ยอดเพชร. (2552). ครอบครัวและผู้สูงอายุ.ในชื่นตาวิชชาวุธ (บรรณาธิการ). การทบทวนและ
สังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2545-2550: แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของ
ผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ผลสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561
จาก https://www.ryt9.com/s/ nso/1148663
สำนักอนามัยผู้สูงอายุกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ
หลักสูตร 420 ชั่วโมง.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2559). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแล
ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).
สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2552).การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ.ในการประชุม
วิชาการบริการปฐมภูมิเรื่องการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ.(หน้า15-161).กรุงเทพมหานคร :
สหพัฒนไพศาล.
อภิเชษฐ์จำเนียสุขพิชสุดา เดชบุญกฤติเดชมิ่งไม้ศศิวิมลโพธิ์ภักตร์สานุรักษ์โพธิ์หาและสุชานรี
พานิชเจริญ.(2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู.วารสารราชพฤกษ์, ปีที่ 15
ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม),16-26
อังควรา วงษาสันต์ และ นพรัตน์ บุญเพียรผล.(2017). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดของผู้สูงอายุในเขต
บางพลัด กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "
ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2552). แนวคิดและหลักการของการดูแลต่อเนื่อง. ในเอกสารประกอบการประชุม
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. (หน้า1 – 21). ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม
2552 ณ.โรงแรมเจริญธานี. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

Downloads

Published

2019-05-26

How to Cite

กล่อมใจ ธ., ชัชวรัตน์ ท., & เตชะวิเศษ ส. (2019). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด University-Community Engagement. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 31–47. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/190064