การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
Keywords:
สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา, นักศึกษาพยาบาล, Electronic learning, Anatomy, and Physiology, Nursing studentsAbstract
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 40 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ปีการศึกษา 2560 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และตรวจสอบคุณภาพสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ปรับปรุงแก้ไขแล้วประเมินประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มที่คล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 ครั้ง คือ กลุ่มเดี่ยว 3 คน กลุ่มเล็ก 9 คน และกลุ่มใหญ่ 22 คน นําคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนตามเกณฑ์ (E1/E2≥ 80/80) จากนั้นทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทดลองโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยแบบทดสอบรายบททั้ง 4 หน่วยการเรียนรู้ และสำรวจความพึงพอใจของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลประเมินคุณภาพของสื่อบทเรียนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย(μ 4.40) 2) ผลประเมินประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E1/E2) 3 ครั้ง เท่ากับ 81.25/83.33, 84.17/90.69 และ 85.50/91.00 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (E1/E2≥ 80/80) ผลประเมินคุณภาพแบบทดสอบรายบททั้ง 4 หน่วยการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงมีค่า 0.93 ค่าความยากมีค่า 0.27-0.80 ค่าอำนาจจำแนกมีค่า 0.20-0.70 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาอยู่ในระดับมากที่สุดแต่ละด้าน คือ สามารถทบทวนเนื้อหาการเรียนได้ตลอดเวลา มีค่าเฉลี่ย(μ 4.75 ) การนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย มีค่าเฉลี่ย (μ 4.92) การดำเนินเรื่องมีความน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย (μ 4.67)
The development of electronic lessons used in the course of teaching, anatomy and physiology for Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj
The purposes of this research were to:: 1) to create and test the performance of electronic lessons, subjects, anatomy and physiology, 2) comparing the academic achievement of nursing students before and after using electronic media in the course of anatomy and Physiology and 3) study the satisfaction of learning with electronic lessons. The sample used in the research consisted of 40 students in first semester of academic year 2017 by purposive sampling. The tools used in the research consist of 1), electronic lesson media, anatomy and Physiology 2), academic Achievement Test 3), the Satisfaction Assessment of electronic lesson media. The results of the research showed that 1) the quality of the lesson media is very high with an average (μ 4.40) 2). The performance evaluation of electronic lessons (E1/E2) 3 times equivalent to 81.25/83.33, 84.17/90.69 and 85.50/91.00 are more efficient than the criteria (E1/E2 ≥ 80/80), quality assessments, test results, 4-unit learning. With a value of 0.93, the difficulty value is 0.27-0.80. The total power of 0.20-0.70 achievement The experimental group has a higher average rating after an electronic study, with a statistically significant level of statistics at the P< 0.05, the satisfaction of learners who have on the electronic lessons, the anatomy and physiology are at the most level, each of which is able to revise the course content at any time. With an average (μ 4.75) content presentation is an easy-to-understand process. Has an average (μ4.92), the story is interesting. Has an average (μ4.67).
References
ดวงมณี แสนมั่น.(2561).การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยแอพพลิเคชันสมาร์ทโฟนในรายวิชาโลหิตวิทยา (The development of instructional media using applicationon smartphone: Hematology course). วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ.2561.
ปริวรรต สมนึก.(2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”.วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปีที่ 11; ฉบับที่ 1.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Open Worlds.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2556). แผนการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา. ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธน วงค์แดง, ภาณุมาส เศรษฐจันทร, วีระพงษ์ สิงห์ครุธ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 37 มกราคม - เมษายน 2561.
Trilling B, Fadel C. (2009). Learning and innovation skills 21st century skills learning for life in our times. San Francisco: Jossey-Bass.
วรรณี ศรีวิลัย, วิรดา อรรถเมธากุล (2554). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจหลอดเลือดและระบบไหลเวียนน้ำเหลือง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2554.
โสภิดา ท้วมมี. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี สาหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559.