การพัฒนาระบบการสอนจุลภาคอิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการสอน สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

-

Authors

  • Phatcharee Thongampai Faculty of Education, Burapha University.169 Long-Hard Bangsaen Road, Saen Sook Sub-district, Mueang District, Chonburi 20131

Keywords:

ระบบการสอน, การสอนจุลภาคอิงเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร, ทักษะการสอน, Instructional System, Information and Communication Technology-Based Microteaching, Teaching Skills.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการสอนจุลภาค
อิงเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการสอนสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบการสอนจุลภาคฯ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของชุดพัฒนาทักษะตามระบบการสอนจุลภาคฯ 3) ศึกษาความก้าวหน้าของผลจากการพัฒนาทักษะการสอนจากการเรียนด้วยระบบการสอนจุลภาคฯ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อการเรียนด้วยระบบการสอนจุลภาคฯ 5) ประเมินและรับรองระบบการสอนจุลภาคฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 10 คน 2) นักศึกษาครูหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  ในการประเมินและรับรองระบบการสอนจุลภาคฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการสอนจุลภาคอิงเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการสอน สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียน 3) แบบประเมินการใช้ทักษะการสอนโดยอาจารย์นิเทศก์ ผู้ฝึกทักษะการสอนและเพื่อนร่วมชั้น 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อระบบการสอนจุลภาคฯ 5) แบบประเมินและรับรองระบบการสอนจุลภาคฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และ t-test (Dependent samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบการสอนจุลภาคอิงเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการสอน สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่      1.1) การวิเคราะห์สถานการณ์หรือบริบท 1.2) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการสอน 1.3) การเสนอช่องทางสนับสนุนอาจารย์ 1.4) การเสนอช่องทางสนับสนุนผู้เรียน 1.5) กระบวนการจัดกิจกรรมการสอนจุลภาคฯ 1.6) การประเมินผล 1.7) ผลลัพธ์ 1.8) การตรวจสอบและปรับปรุงระบบ 2) ประสิทธิภาพของชุดพัฒนาทักษะตามระบบการสอนจุลภาคฯ พบว่า ค่า E1/E2 ของชุดพัฒนาทักษะนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการใช้คำถามและทักษะการสรุปบทเรียนมีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามลำดับดังนี้ 79.88/81.2579.06/80.00 และ 80.89/81.87 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/803) นักศึกษาครูมีความก้าวหน้าในการใช้ทักษะการสอน ประกอบด้วย ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการใช้คำถามและทักษะการสรุปบทเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .014) นักศึกษาครูมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยระบบการสอนจุลภาคฯ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และ 5) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและรับรองระบบการสอนจุลภาคฯ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

Development Of An Information And Communication Technology-Based Microteaching System For Enhancing Teaching Skills Of Teacher Studens In Yala Rajabhat University

            This study is a research and development research. The main purposes were to develop a microteaching system based on information and communication technology, and to develop teaching skills for teacher students of YalaRajabhat University. The specific objectives were 1) to study the components of the micro-teaching system, 2) to test the efficiency of the teaching skills packages relate to microteaching system, 3) to study the improvement of the developmental of teaching skills from learning with the microteaching system, 4) to study the opinions of students towards learning with the microteaching system, and 5) to assess and certify the microteaching system by the educational experts. The samples included: 1) 10 experts in educational technology and instructional designs and 2) 28 teacher students from the Bachelor of Education Program in YalaRajabhat University whom it was obtained by multi-stage random sampling. The instruments were 1) microteaching system based on information and communication technology to develop teaching skills for teacher students of YalaRajabhat University, 2) knowledge tests before and after learning by microteaching  system,3) assessment forms of the use of teaching skills for supervisers,teacher students and classmates4) questionnaire of students' opinions on the microteaching system, and 5) Assessment and verification   forms on microteaching system for educational experts for educational experts. The statistics used in data analysis Efficiency value( E1/E2),mean,standarddeviation,percentage and t-test dependent samples . Major Findings;1)The microteaching system based on information and communication technology to develop teaching skills for teacher students of YalaRajabhat University consisted of: 1) Situation or context analysis, 2) Input components related to the development of teaching skills, 3) Providing support channels for teachers, 4) Providing  support channels for learners, 5) Process of organizing microteaching activities, 6) Evaluation, 7) Results, and 8) Validation and revision.2) The efficiency values of the teaching skills packages related to microteaching system including introduction skill,questioning skill and closure skill were 79.88/ 81.25, 79.06/ 80.00, and 80.89/ 81.87 respectively and each of them met the criterion of 80/80 .3) The teacher students had the statistically significant progress  in using  teaching skills those including introduction skills, questioning skills and summarizing skills with statistical significance at .01 levels.4) The teacher students have opinions on learning by using the microteaching system at the highest level.5)The assessed and approved the appropriatessof the microteaching system at the highest level.

 

References

จันจลี ถนอมลิขิตวงค์ และฟารีดา สามะอาลี. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
ณัฐพล รำไพ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ผ่านเว็บที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา,
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พึงใจ สินธวานนท์. (2516). การสอนแบบจุลภาคของวิทยาลัยครูธนบุรี. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). สัตตสิกขาทัศน์ เจ็ดมุมมองการศึกษาใหม่ และการเรียนการสอน
นอกกรอบ 7 ประการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพสิท พรหมรักษา. (2554). เส้นทางสร้างครู. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์,
9(1), 2-7.
รัฐกรณ์ คิดการ. (2551). การพัฒนารูปแบบการสอนบนเว็บ โดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้รายวิชา
เทคโนโลยีการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิทยา คู่วิรัตน์. (2539). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนคาทอลิก
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: สาขา เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริมศรี ลักษณะศิริ. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อินทิรา บุณยาทร. (2542). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Allen, W. D. (1969). Microteaching. Boston: Addison-Wesley Publishing Company Inc.
Matt, B., Michael, C., Robyn, M., & Ming, D. (2011). Developing communication competence using an online Video Reflection system: pre-service teachers’ experiences. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 39(4), 311-326.
Thomas, J., & Diana, J. R. (2013). Microteaching revisited: Using technology to enhance the
professional development of pre-service teacher. The Clearing House, 86, 50-62.
Tülüce, H. S., & Çeçen, S. (2018). The use of video in microteaching: Affordances and
constraints. ELT Journal: English Language Teaching Journal, 72(1), 73-82.
Zhang, G., Zhao, L., Shao, F., & Bian, F. (2009). On the construction of net-based microteachingtraining mode. Second International Conference on Education Technology and Training, 2, 86-89.

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

Thongampai, P. (2019). การพัฒนาระบบการสอนจุลภาคอิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการสอน สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: -. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 156–173. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/185583