ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกะลายางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
Keywords:
ผู้สูงอายุ, โปรแกรมการออกกำลังกายกะลายางยืด, การทรงตัวและการเคลื่อนไหว, Elderly, Exercise Program using Elastic Coconut, Balance and MovementAbstract
การศึกษานี้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกะลายางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ บ้านเชียงใหม่ ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 37 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติในการออกกำลังกาย และแบบทดสอบการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และค่าเฉลี่ยเวลาการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้สถิติ Paired Sample T - test ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เพศหญิง ร้อยละ 59.46 อายุเฉลี่ย 62.59 ปี จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 94.59 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 81.08 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 81.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 1,667.57 บาท หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value <0.001) ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value <0.001) และผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยเวลาการทรงตัวและการเคลื่อนไหวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value <0.001) ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือควรสนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยกะลายางยืดให้กับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความสมดุลในการทรงตัวและความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวของร่างกายของผู้สูงอายุ
Effects of Exercise Program using Elastic Coconut on improving the Balance and Movement for the Elderly in Pho Chai District, Roi-Et Province.
This quasi-experiment research aimed to a result of exercise programs with Elastic Coconut on the balance and movement among the elderly,who live in Ban Chiang Mai, Pho Chai District, Roi-Et Province about 37 sampling. Data collecting used questionnaires and the statistics with mobility tests of the elderly. The data were analyzed by means of descriptive statistics, standard deviation, the lowest score - the highest score and inferential statistics to compare the mean scores of exercise in the elderly, compare mean score of attitude toward exercise of the elderly, the mean balance time and mobility of the elderly before and after the program using Paired Sample t-test.The results found that most of the elderlywerefemale (59.46%), average age 62.59 years, primary education (94.59%), marital status (81.08%), farmer (81.09%) and average monthly income was 1,667.57 baht.The elderly had a statistically significant increase in knowledge on exercise (p <0.001),the attitude toward exercise of the elderly increased significantly (p - value < 0.001),and the elderly had a statistically significant decrease in time and movement (p - value <0.001).Suggestions of the study. The research suggestion was support exercise activities with an Elastic Coconut for the elderly In order to balance and the movement of body in the elderly
References
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. (2560). สูงวัยในศตวรรษที่ 21:การเฉลิมฉลองและการท้าทาย. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2561, จาก https://www.unfpa.org/sites/default/files/pubpdf/Thai%20summary_ Ageing%20in%20 the%2021st%20Century_0.pdf
กุลธิดา จันทร์เจริญ, ชนิดา มัททวางกูร, ฐิติมา อุดมศรี, นารี รมย์นุกูล, เนตร หงส์ไกรเลิศ, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, และสมหญิง เหง้ามูล. (2556). พฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกายของคนภาษีเจริญ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ตัวชี้วัดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2561. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561, จาก https://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12966&tid=32&gid=1-020
เจริญ กระบวนรัตน์. (2550). ความสำคัญในการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ : สหมิตรพรินดิ้งแอนด์พันลิชชิ่ง.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2560). เตรียมความพร้อมไทยสู่สังคมสูงวัยสร้างระบบรองรับออมเงินสร้างหลักประกันยามชรา. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561, จาก https://www.hfocus.org/content/ 2017/03/13631
ชนาทิพย์ ศุภผลศิริ. (2556). เทคโนโลยีและความสะดวกสบายเพื่อสังคมสูงวัย. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561, จาก https://m.mgronline.com/mutualfund/detail/9600000125513
ทิวาพร ทวีวรรณิจ, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ และสุกัลยา อมตฉายา. (2553). การทรงตัวการล้ม และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 22(3), 271-274.
เทศบาลตำบลเชียงใหม่. (2561). ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุตำบลเชียงใหม่. ร้อยเอ็ด: เทศบาลตำบลเชียงใหม่.
ศรันยา ดีสมบูรณ์. (2551). โปรแกรมกิจกรรมทางกายในการทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านของผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมชาย ลี่ทองอิน. (2543). สุขภาพดีมีได้ทุกวัน ออกกำลังกายไร้รูปแบบไม่เสียเงิน ไม่เสียเวลา ไม่เสียงาน. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
สกุลรัตน์ อัศวโกสินชัย, จารุวรรณ แสงเพชร และ วราภรณ์ รุ่งสาย. (2554). ผลของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 28(2), 110-124.
สมนึก กลุสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำงานสถิติแห่งชาติ.
สมฤทัย พุ่มสลุด และ ศศิมา พกุลานนท์. (2555). ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. ในการวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อารมย์ ขุนภาษี. (2553). ทัศนคติด้านการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกายของกำลังพลกอง
เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก, 63(3), 125-134.
อรวรรณ แผนคง และอรทัย สงวนพรรค. (2555). การออกกำลังกายแบบรำไทยประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความผาสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 39(suppl), 118-127.
Bloom, Benjamin S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Lwarning. New York: McGraw – Hill.