ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทำงานกับความผูกพันในองค์กร ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
Keywords:
สมดุลชีวิตกับการทำงาน, ดัชนีความสุขคนทำงาน, ความผูกพันในองค์กร, work-life balance, personnel happiness index, employee engagementAbstract
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบบริการสุขภาพและความจำเป็นในการตอบสนองต่อนโยบายสาธารณสุขภายใต้เงื่อนไขทรัพยากรบุคคลที่จำกัด อาจส่งผลต่อสมดุลชีวิตกับการทำงาน ความสุขคนทำงาน และความผูกพันในองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลซึ่งต้องปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขด้วย งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิต กับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทำงาน และความผูกพันในองค์กร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลาจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุดได้แก่ แบบประเมินดัชนีความสุขคนทำงานและสมดุลชีวิตกับการทำงาน และแบบประเมินความผูกพันในองค์กร เก็บรวมข้อมูลในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สิถิติเชิงพรรณนา ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าทีอิสระ (Independent T-Test) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลามีระยะเวลาทำงานในวิทยาลัยนาน 1 – 10 ปี มากที่สุด ร้อยละ 50.8 มีสมดุลชีวิตกับการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ความสุขคนทำงานในภาพรวมทั้ง 9 มิติอยู่ในระดับมีความสุข และมีความผูกพันในองค์กรอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า สมดุลชีวิตกับการทำงานโดยรวม และความสุขคนทำงานโดยรวม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .34, p<.01) และ (r = .52, p<.01) เมื่อเปรียบเทียบสมดุลชีวิตกับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทำงาน ความผูกพันในองค์กร ระหว่างอาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนพบว่า อาจารย์มีสมดุลชีวิตกับการทำงานแตกต่างจากบุคลากรสายสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t = 4.25, p<.01) ส่วนความผูกพันในองค์กร และดัชนีความสุขคนทำงานไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญว่า องค์กรที่สามารถดูแลบุคลากรให้เกิดสมดุลชีวิตกับการทำงาน และมีความสุขในการทำงาน จะมีผลให้บุคลากรมีความผูกพัน อยากทำงานอยู่ในองค์กรเดิมต่อไป และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพงานได้อย่างต่อเนื่อง
Relationships among Work-life Balance, Personnel Happiness Index, and Employee Engagement of Personnel Working at Boromarajonani College of Nursing, Yala
Rapid changes in a health service system and the needs to respond to public health policies based on an inadequate human resource condition may affect work-life balance, happiness index, and employee engagement of personnel working in Boromarajonani College of Nursing, Yala who must work according to the policy of Ministry of Public Health. This descriptive research purposed to examine and analyse the relationships among work-life balance, happiness index, and employee engagement of personnel working at Boromarajonani College of Nursing, Yala. Sixty of the personnel were recruited to complete two sets of the questionnaires—happinometer and work-life balance questionnaires and employee engagement questionnaires. Data were gathered from January to February, 2017. Descriptive statistics including Pearson product-moment correlation,and independent t-test were applied for data analysis.The results revealed that most personnel working at Boromarajonani College of Nursing, Yala, had ranged working duration from one to ten years. Fifty point eight percent of the personnel stayed in work-life balance at a moderate level. Overall, nine dimensional happiness of the personnel was rated at a happy level. Their employee engagement was also appraised at a high level. As well, the correlations revealed that total work-life balance and total happiness index of the personnel were statistically significant with employee engagement, (r = .34, p<.01) and (r = .52, p<.01). When compared the work-life balance, happiness index, and employee engagement of instructors to those of supportive staff members, the result disclosed that a statistically significant difference in work-life balance (t=4.25, p. < 0.01) was obviously obtained for the instructors. However, their employee engagement and happiness index were no statistically significant differences. This study indicates that an organization that can take care of personnel to achieve a work-life balance and happy to work well will note worthy to employee engagement and they would like to continue working in the organization and improve their capabilities to improve continuously productivity.
References
สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/
default/files/HAPPINOMETER.pdf
ชาญวุฒิ บุญชม. (2553) ความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสลามสันติชน.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทิพยวรรณ มงคลดีกล้ากุล. (2554). บทบาทของการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การและจิตลักษณะมุ่งอนาคต
ควบคุมตนที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ
พยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ),
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทัศนันท์ ทุมมานนท์. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ
ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลจังหวัดในเขตสาธารณสุข 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นูรีมัน ดอเลาะ, อนิวัช แก้วจำนงค์, อรจันทร์ ศิริโชติ. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5 (3), 110-121.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2557). 5 แนวทางสร้างความผูกพันองค์กร. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557, จาก https://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/EmployerArticle/engagement?ID=8265
ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้: ฉบับขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใยไหม.
ปรียนุช ชัยกองเกียรติ และบูรณ์คณัส จันทรศิริพุทธ. (2554). ดัชนีความสุขและความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. ยะลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
ยะลา.
ปรียนุช ชัยกองเกียรติ, อนุชิต คลังมั่น, และสาธิมาน มากชูชิต. (2555). ดัชนีความสุขและความพึงพอใจใน
การปฏิบัติงานด้วยจิตสาธารณะของบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. ยะลา:
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา.
พิบูลย์ พิมพ์จำปา วิรัติ ปานศิลา และสุรพร ลอยหา. การพัฒนาความผูกพันองค์กรของบุคลากร ใน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11 (1): 205-209, 2561.
วรรณิภา นิลวรรณ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง Happinometer. พิมพ์ครั้งที่ 1.
นครปฐม: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงาน และความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม:
โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ 20 ปี. สืบค้นเมื่อ
21 กันยายน 2560, จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/
Mowday, R.T., Porter, L.W., and Steers, R.M. (1982). Employee organization linkages: the
psychology of commitment absenteeism and turnover. New York: Academic Press.
Senge, P. (1994). The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning
Organization. London: Century Business.
Steers, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment.
Administrative Science Quatery, 22(1), 46-56.