ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับตัว ด้านจิตสังคม ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก

Authors

  • ภาซีน่า บุญลาภ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • โสเพ็ญ ชูนวล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

Social support program, Psychosocial adaptation, Women of advanced maternal age, โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม, การปรับตัวด้านจิตสังคมหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับตัวด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน  60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมประกอบด้วย แผนการสนับสนุนทางสังคม แผนการสอน สื่อนำเสนอภาพนิ่ง คู่มือการสนับสนุนทางสังคมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก และแผนการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรม 4 สัปดาห์ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสามีหรือครอบครัว และแบบวัดการปรับตัวด้านจิตสังคม ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบวัดการปรับตัวด้านจิตสังคมโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .86 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทีคู่(paired t-test)สำหรับเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และสถิติทีอิสระ(independent t-test)สำหรับเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมมีการปรับตัวด้านจิตสังคมดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p< .001) และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) จากการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่าโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากมีการปรับตัวด้านจิตสังคมได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ดังนั้นผู้ให้บริการด้านสุขภาพควรประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้เพิ่มขึ้นจากการดูแลที่เป็นงานประจำ

Effect of Social Support Program on Psychosocial Adaptation Among Women ofAdvanced Maternal Age

This quasi-experimental research aimed to test the effect of social support program on psychosocial adaptation among women of advanced maternal age. The sample consisted of 60 womens of advanced maternal age attending the antenatal department at a hospital in Yala Province. They were purposively selected and assigned into control group and experimental group. There were 30 subjects in each group. The control group received standard care, while the experimental group received the social support program. The research instrument consisted of 2 parts: 1) the interventional instruments were a social support program including social support plan, teaching plan, power pointmedia, social support manual guidebook for women of advanced maternal age and plan of follow up by phone. By using the 4 week program activity period; and 2) the data collection instruments were personal information for pregnant women questionnaire, personal information for husband or family members questionnaireand the psychosocial adaptation questionnaire. All instruments were validated by 3 experts. The reliability of the psychosocial adaptation questionnaire was tested using Cronbach’s alpha coefficient yielding a value of .86. Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test were used for comparison before and after receiving the program and independent t-test were used for comparison between the control group and the experimental group. The results revealed that the experimental group after receiving the social support program had a mean score of psychosocial adaptation significantly higher than before intervention (p< .001) and significantly higher than the control group (p< .01). This study showed that thesocial support program could help women of advanced maternal age improve their psychosocial adaptation. Thus, health care provider should integrate this program into the regular practice.

References

กมลวรรณ ลีนะธรรม, และธนิดา จุลย์วนิชพงษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของมารดาหลังคลอด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น, 11(1), 1-11.
กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธรณสุข.
กาญจนา บัวหอม, ศศิกานต์ กาละ, และสุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. (2560). ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อคามเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 38-51.
จิราวรรณ นิรมิตภาษ. (2551). ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และการปรับตัวด้านจิตสังคมของสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). ค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดแห่งประเทศไทย (Thailis-Thai Library Integrated System).
ณัชชา วรรณนิยม. (2555). ประสบการณ์การเป็นหญิงตั้งครรภ์อายุมาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). ค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดแห่งประเทศไทย (Thailis-Thai Library Integrated System).
นันทพร แสนศิริพันธ์. (2555). การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิตยา พรหมกันทา. (2559). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความกลัวการคลอดบุตรในผู้คลอดครรภ์แรก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). ค้นจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดแห่งประเทศไทย (Thailis-Thai Library Integrated System).
เบญจวรรณ คล้ายทับทิม. (2559). สตรีตั้งครรภ์อายุมาก: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 36-48.
พิมพ์ศิริ พรหมใจรักษา, กรรณิการ์ กันธะรักษา, และจันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2557). ผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. พยาบาลสาร, 41(2), 97-106.
มาณี จันทร์โสภา, ฉวี เบาทรวง, และสุกัญญา ปริสัญญกุล. (2555). ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเจ็บปวดในการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก. พยาบาลสาร, 39(4), 71-84.
ลาวัลย์ ปัจจักขภัติ. (2555). การตั้งครรภ์ในหญิงอายุมาก. ใน วรพงศ์ ภู่พงศ์ (บรรณาธิการ), การดูแลปัญหาที่พบบ่อยทางสูติศาสตร์ (หน้า 53-58). กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.
สุภาวดี แถวเพีย, และกมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง. (2560). สตรีตั้งครรภ์อายุมาก: การพยาบาลที่ควรตระหนักของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(1), 144-152.
โสเพ็ญ ชูนวล. (2555). Midwifery and Social Support การผดุงครรภ์และแรงสนับสนุนทางสังคม. สงขลา: บรรลือการพิมพ์
Ates, S., Batmaz, G., Sevket, O., Molla, T., Dane, C., & Dane, B. (2013). Pregnancy outcome of multiparous women aged over 40 years. International Journal of Reproductive Medicine, 1-4. doi:10.1155/ 2013/287519
Bayrampour, H., Heaman, M., Duncan, K. A., & Tough, S. (2012). Advanced maternal age and risk perception: A qualitative study. Bio Med Central Pregnancy and Childbirth, 12:100, 1-13. doi: 10.1186/1471-2393-12-100
Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J, R. (2013). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (7th ed.). St. Louis: Elsevier Saunders.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Laopaiboon, M., Lumboganon, P., Intatut, N., Mori, R., Ganchimeg, T., Vogel, J. P.,...Gulmezoglu, A. M. (2014). Advanced maternal age and pregnancy outcomes: A multicountry assessment. An International Journal of Obstetrics and Gynaecology, 121(suppl.1), 49-56. doi:10.1111/ 1471-0528.12659
Lederman, R., & Weis, K. (2009). Psychosocial adaptation to pregnancy: Seven dimension of maternal role developmet. (3rd ed.). New York, USA: Springer Publishing.
Martin, J. A., Hamilton, B. E., Osterman, M. J. K., Driscoll, A. K., & Drake, P. (2018). Births: Final data for 2016. National Vital Statistics Reports, 67(1), 1-55. Retrieved from https://www.cdc.gov/ nchs/data/nvsr/nvsr67/nvsr67_01.pdf
Matsuda, Y., Kawamichi, Y., Hayashi, K., Shiozaki, A., Satoh, S., & Saito, S. (2011). Impact of maternal age on the incidence of obstetrical complications in Japan. The Journal of Obstetrics and Gynecology Research, 37(10), 1409-1414. doi:10.1111/j.1447-0756.2011.01552.x
Office for National Statistics. (2017). Births in England and Wales: 2016. Statistical Bulletin, Retrieved from https://www.ons.gov.uk/peoplepopulationandcommunity/birthsdeathsandmarriages/livebirths/
bulletins/birthsummarytablesenglandandwales/2016
Radhakrishnan, S. A., (2016). Advanced maternal age (AMA). Asian Journal of Nursing Education and Research, 6(1), 138-148. doi:10.5958/2349-2996.2016.00027.6
Rini, C., Schetter, C. D., Hobel, C. J., Glynn, L. M., & Sandman, C. A. (2006). Effective socail support: Antecedents and consequences of partner support during pregnancy. Personal Relationships, 13, 207-229.
Roozbahani, R. K., Geranmayeh, M., Hantoushzadeh, S., & Mehran, A. (2015). Effects of telephone follow-up on blood glucose levels and postpartum screening in mothers with gestational diabetes mellitus. Medical Journal of the Islamic Republic of Iran, 29(249). 1-6.
Sengodan, S. S., Dhanapal, M., & Subramanian, V. (2016). Maternal and perinatal outcome of pregnancy over the age of 35 years. International Journal of Scientific Research, 5(7), 474-477.
Thaewpia, S., Howland, L. C., Clark, M. J., & Jame, K. S. (2013). Relationships among health promoting behavior and maternal age infant birth outcome in older pregnancy Thai. Pacific Rim International Journal Nursing Research, 17(1), 28-37.

Downloads

Published

2019-04-17

How to Cite

บุญลาภ ภ., & ชูนวล โ. (2019). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับตัว ด้านจิตสังคม ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก. Journal of Nursing and Health Research, 20(1), 14–27. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/163513