พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการ เกินและอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม

Authors

  • Thanisorn Rattanayoung Home Economics Faculty of Agriculture Kasetsart University
  • ประไพศรี ศิริจักวาล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม
  • จุรีภรณ์. นวนมุสิก สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
  • กานต์สุดา วันจันทึก ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, ภาวะโภชนาการ, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, Consumption behaviors, Nutritional Status, Senior high school students

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานทั่วไป, พฤติกรรมการรับประทานอาหารกับภาวะโภชนาการของนักเรียน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 421 คน โดยวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ภาวะโภชนาการด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ INMU-NutriStat และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple Logistic Regressionผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่รับประทานอาหารเช้าทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดร้อยละ 81.0 และร้อยละ 78.4 ตามลำดับ โดยนักเรียนส่วนใหญ่รับประทานอาหารมื้อหลักครบทั้ง 3 มื้อทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด ร้อยละ 79.3 และ ร้อยละ 70.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่รับประทานอาหารมื้อหลักไม่ครบทั้ง 3 มื้อ ทั้งในวันธรรมดาและในวันหยุด มีโอกาสเกิดภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับประทานอาหารมื้อหลักครบทั้ง 3 มื้อ จำนวน3.11 เท่า (odds ratio; OR=3.11, 95%CI = 1.09 – 8.89)และ 2.68 เท่า (OR=2.68, 95%CI = 1.08 – 6.64) ตามลำดับจากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารมื้อหลักไม่ครบ 3 มื้อ และรับประทานอาหารว่างที่ให้พลังงานสูงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนได้ ดังนั้น ควรมีการให้ความรู้ แสดงให้เห็นความสำคัญของอาหารแต่ละมื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและสมวัยต่อไป

Consumption Behaviors, Overweight and Obesity among Senior high school students in NakhonPathom province

The purpose of the study was to examine consumption behaviors and nutritional status among 421 Senior high school students of NakhonPathom province and explored factors influencing nutritional status. The data were analyzed by using descriptive statistics and multiple logistics regression. The results showed that students consumed breakfast 81.0% on weekday and78.4% on weekend.Students consumed three main meals a day were 79.3% on weekday and70.1% on weekend. However, results showed that female skip main meals of the day on weekdays which was associated with overweight and obesity more than female consumed main meals a day (odds ratio; OR=3.11, 95% CI = 1.09 – 8.89). However, the researchers found that female-students consumed incomplete 3 main meals was positively correlated with   overweight and obesity (OR=2.68, 95% CI = 1.08 – 6.64). These results could help to predict the incomplete 3 main meals a day and eat snack high calorie maybe a factor to influence of overweight and obesity so that nutritional education to emphasize importance of each meal in both quality and quantity are suggested to improve proper nutrition status of old age.

References

1.ธวัชชัย วรพงศธร. (2536). หลักกาวิจัยทั่วไปพร้อมตัวอย่างทางสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
2. นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล. (2559). การบริโภคอาหารของคนไทยในช่วงปี 2546-2558. น.37-38. ใน การ ประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 10. สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ.
3. เนตรนภา จุฑานันท์ และเบญจามุกตพันธุ์. (2014). การบริโภคขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและ ความสัมพันธ์กับ ภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). Graduate Research Conference Khon Kaen Univesity 2014, 1771 – 1780.
4. เพ็ญนภา ศรีกุลศศิธร. 2552. ผลจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าต่อภาวะสุขภาพของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย นเรศวร.
5. ประไพศรี ศิริจักรวาล, ศศิอำไพ พฤฒิพรธานี และณัฏฐา เจนศิริพานิชย์. (2556). ผลของการงดกา รับประทานอาหารเช้าต่อพฤติกรรมการบริโภคและปัญหาด้านสุขภาพในเด็ก. วารสารโภชนาการ 48 (2), 27-38.
6. วิชัย เอกพลากร (บ.ก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, นนทบุรี.
7. สรชัย พิศาลบุตร, เสารส ใหญ่สว่าง และ ปรีชา อัศวเดชานุกร. (2552). การสร้างและประมวลผลข้อมูล จากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
8. สมศรี เจริญเกียรติกุล. (2559). การบริโภคอาหารไทยเพื่อการมีสุขภาพที่ดี. น. 74-76. ใน การประชุม วิชาการ โภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 10. สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ.
9. สำนักงานสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ ประชากร พ.ศ. 2556. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรุงเทพฯ.
10. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (ม.ป.ป). กินตามวัยให้พอดี. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
11. สำนักโภชนาการ กรมอนามมัย กระทรวงสาธารณะสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัย เรียน. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
12. อรัฐา รังผึ้ง. (2558). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักระบาดวิทยา.
13. Bin Zaal A. A., A. O. Musaiger and R. D’Souza. (2009). Dietary habits associated with obesity among adolescents in Dubai,United Arab Emirates. Nutrición Hospitalaria. 24(4): 437-444.
14. Lee S.J, G. Mishra, K. Hayashi, E. Watanabe, K. Mori and K. Kawakubo. (2016). Combined eating behaviors and overweight: Eating quickly, late evening meals, and skipping breakfast. Eating Behaviors 21: 84-88.

Downloads

Published

2019-12-23

How to Cite

Rattanayoung, T., ศิริจักวาล ป., นวนมุสิก จ., & วันจันทึก ก. (2019). พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการ เกินและอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม. Journal of Nursing and Health Research, 20(3), 132–143. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/160239