ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน
Keywords:
ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมเศร้า, และโปรแกรมการป้องกันการฆ่าตัวตาย, Elderly, depression, suicidal prevention programAbstract
การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชนต่อความหวัง การเชื่อมโยงกับสังคม ภาวะซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความคิดฆ่าตัวตายในตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งถูกคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน ซึ่งพัฒนาขึ้นตามกระบวนการแนวคิดสามขั้นตอน มีระยะเวลา 8 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วยการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสาเหตุของความคิดฆ่าตัวตายและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การให้คำแนะนำผู้ดูแล และการจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง 2) คู่มือการดูแลผู้สูงวัย สูตรคลายซึมเศร้า 3) แบบสอบถาม มี 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความหวัง เชื่อมโยงกับสังคม ภาวะซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตาย แบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของส่วนที่ 2-5 เท่ากับ .92, .90, .98, .97 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราค เท่ากับ .84, .82, .88 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบซี ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยความหวังและการเชื่อมโยงกับสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับภาวะซึมเศร้ามีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีความคิดฆ่าตัวตายมีน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีบริบทใกล้เคียงกัน มีการศึกษาในผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง และติดตามประเมินโปรแกรมฯในระยะยาว โดยทุกขั้นตอนของกิจกรรมต้องมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในครอบครัว และควรเพิ่มญาติหรือผู้ดูแลเป็นกลุ่มตัวอย่าง และใช้เป็นเกณฑ์คัดเข้า จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
The effectiveness of a suicidal prevention program in elderly with depression in the community
The purposes of this quasi-experimental study with two-group pre-test and post-test design were to study the effects of The community – based prevention program for older people who have depression on hope, social connectedness, depression, and suicidal idea in elderly with depression in the community. The sample was elderly with depression and suicidal ideation in Auan Tambon Health Promotion Hospital, Pua district, Nan province. The elderly were selected by the simple random sampling and put into the experimental and comparative groups which each group included 20. The research instruments comprised 1) A suicide prevention program for elderly with depression in the community was developed based on the Three-step theory. The duration of the program was 8 weeks. The activities comprised the home visit for assessment of cause and environment risk to suicidal ideation, caregiver advice, and the strengthen relationship with surrounding people, 2) Handbook “Caring for the elderly with depression”, 3) a questionnaire composed of five sections: general information, hope, social connectedness, depression, and suicidal ideation. Content validity indexes of sections of 2-5 were .92, .90, .98, .97 and Cronbach’s alpha coefficients were .84, .82, .88 and .83, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, t-test, and Z-test. The result revealed that after enrolling the program, mean of hope and social connectedness of elderly with depression in the experimental group were significantly higher than before enrolling the program and higher than the comparison group at p-value .01. Mean of depression of the experimental group was significantly lower than before enrolling the program and lower than the comparison group at p-value.01. The proportion of elderly with depression in the experimental group was significantly fewer than before enrolling the program and fewer than the comparison group at p-value.01. This research can be applied to samples with similar contexts. Having education in the elderly who are alone and monitoring the program in the long term. Every step of the program requires the participation of family or caregivers. And should add relatives or carers as a sample group and used as input criteria forl result in more quality information.
References
ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิริธรรมออฟเซต.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). โรคซึมเศร้ากับการฆ่าตัวตาย ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.pfizer.co.th/th/node/3031
กรรณิการ์ ผ่องโต และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2557). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ
ต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(1),
121-132.
จันทรา พรหมน้อย. (2560). ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล:
กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งนึ่งในภาคใต้. สงขลานครินทร์เวชสาร, 23(6), 405-412.
ดุษฎี กฤษฎี. (2551). ทัศนคติต่อความตาย การตระหนักรู้ในตนเอง การสนับสนุนของครอบครัวกับภาวะซึมเศร้าของ
ผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ พย.ม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ.
นภัส แก้ววิเชียร และเบญจพร สุธรรมชัย. (2554). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
นภัสสร ยอดทองดี และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสิ้นหวังของผู้ป่วยสูงอายุ
โรคซึมเศร้าร่วมกับโรคทางกาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ,33(1), 29-39.
นิรัชรา ศศิธร และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2558). ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุใน
ชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร,59(6), 717-730.
นิษา สมานทรัพย์ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสิ้นหวังในผู้ป่วย
โรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(3), 57-70.
ปวีณา นพโสตร. (2556). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความหวังแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้าของ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 83-94.
สมใจ โชติธนพันธุ์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ
ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุบ้านบางแค .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
กรุงเทพฯ.
หยกฟ้า เพ็งเลีย, สุขเสริม ทิพย์ปัญญา, กรรณิการ์ พุกศร, วิชัย ลิขสิทธิ์ดำรงกุล, สงวน ธานี และสมจิตต์ ลุประสงค์.
(2561). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลจริม อำเภอท่าปลา
จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(3), 186-196.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, รังสิมันต์ สุนทรไชยา และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2555). รูปแบบการบำบัดทางจิตสังคมโดยพยาบาลจิตเวชสำหรับบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตาย ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(3), 112-126.
อรสา ยองใย และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2554). ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจาก การสูญเสียของผู้สูงอายุ
ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย, 56(2), 117-128.
Health Data Center (HDC). (2561). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม
2561, จาก https://neo.moph.go.th/hdc/
Herth, K. A. (1992). Abbreviated Instrument to Measure Hope: Development and Psychometric
Evaluation. Journal of Advanced Nursing, 17(10), 1251-9.
Klonsky, E. D., & May, A. M. (2015). The three-step theory (3ST): A new theory of suicide rooted
in the “Ideation-to-Action” Framework. International Journal of Cognitive Therapy,
8(2), 114-129.
Phyllis P., Christen W. & Nashville, T. N. (2016). Triple threaten among the elderly: Depression, suicide risk, and handguns. Journal Of Emergency Nursing, 42(1), 14-18.
Polit, D. F. & Beck, C. (2006). Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. China: Lippincott Williams & Wilkins.
Richard, M. L. (2008). Cultural socialization in families with Internationally adopted children. J
Fam Psychol, 20(4), 571-580.
Yesavage, J. A., Brink, T.L., Rose, T. L., Lum, O., Huang, V., Adey, M., & Leirer, V. O. (1983).
Development and validation of a geriatric depression screening scale: a preliminary
report. Journal of Psychiatric Research, 17(1), 37-49.
World Health Organization. (2012). Depression around the world. Retrieved Match 6, 2018, from
https://www.who.int/mental_health/management/depression/wfmh_paper_depres sion_wmhd_2012.pdf
World Federation for Mental Health. (2012). Depression: A global crisis. Retrieved November 26,
2017 from www.who.int/mental_health/management/.../wfmh_paper_depression_wmhd_2012.pdf