ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Authors

  • กฤตพัทธ์ ฝึกฝน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย
  • โสพิศ เวียงโอสถ

Keywords:

ประสิทธิผล, แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย, หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, effectiveness, clinical practice guideline, patient triage, emergency department

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพต่อความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วย หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 22 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยที่พัฒนาและปรับใช้กับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูล   เวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กลุ่มก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มละ 750 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และแบบรวบรวมผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย มีการคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93.33 จากก่อนใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยที่มีความถูกต้องเพียง ร้อยละ 69.47 การคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินไม่ถูกต้องลดลงจากร้อยละ 30.53  เป็นร้อยละ 6.67 โดยพบการคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินต่ำกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็นจริงลดลงจาก ร้อยละ 13.73 เป็นร้อยละ 0.93 และคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินสูงกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็นจริง ลดลงร้อยละ 16.80 เป็นร้อยละ 5.73       ผลการศึกษาในครั้งนี้ยืนยันถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและอาจนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการสาธารณสุขอื่นๆต่อไป

Effectiveness of Implementing Clinical Practice Guideline for Patient Triage among Professional Nurses in Emergency Department, Chiang RaiPrachanukroh Hospital

This quasi-experimental research aimed to identify the effectiveness of implementing clinical practice guideline for patient triage among professional nurses in the emergency department, Chiang RaiPrachanukroh Hospital before and after using the clinical practice guideline. Participants were 22 registered nurses working in the emergency department, Chiang RaiPrachanukroh Hospital who were trained using the developed the clinical practice guideline for patient triage. Research outcomes were a correction of 1,500 patients screening before (750 patients) and after (750 patients) implementation of the patient triage guideline. Patients screening records were reviewed by the experts to identify whether or not the screenings were correct using a research check-list form. Data were analyzed using a differential statistics.The results showed that after implementation of the clinical practice guideline for patient triage the correction of the screening increased from 69.47 percent at prior to the study to 93.33 percent. Underestimation of emergency patient screenings was decreased from 13.73 percent to 0.93 percent also the overestimation of emergency patient screening was lower (5.73%) than before the study (16.8 %).These recommend that the clinical practice guideline for patient triage was effective for the patient screening at the emergency department and may be applied appropriately to other emergency departments.

 

References

ชาติชาย คล้ายสุบรรณและคณะ. (2561). คู่มือแนวปฏิบัติการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สามชัย 2017.
ณรงค์ศักดิ์ วันดี. (2557). ประสิทธิผลของการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยกผู้ป่วย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย.การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์ และอนุชา เศรษฐเสถียร. (2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล. 31(2): 96-108.
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. (2559). รายงานเวชระเบียนผู้ป่วยปี 2559. เชียงราย: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวปฏิบัติปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สุมาลี จักรไพศาล, จินตนันท์ สิทธิประชาราษฎร์, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร และณัฐนันท์ มาลา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการสร้างความรู้และความสามารถในการคัดกรองระดับความรุนแรงผู้ป่วยฉุกเฉินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ของพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล. 44(2): 117-140.
Emergency Nurse Association. (2005).Emergency Nurses Association Position Statement: Customer Service and Satisfaction in the Emergency Department.Emergency Medicine.27(4):327-328.
Gerdtz, M.F.,&Bucknal,l T.K. (2001).Triage Nurses’ Clinical Decision Making: An Observational Study of Urgency Assessment. Journal of Advanced Nursing. 35:550-561.
Gilboy, N., Tanabe, T., Travers, D.&Rosenau, A. M. (2011).Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition.Rockville: Agency for Healthcare Research and Quality.
Holroyd, B.R., Bullard, M.J., Latoszek, K., Godon, D., Allen, S., Tam.S., et al. (2007).Impact of a Triage Liaison Physician on Emergency Department Overcrowding and Throughput: A Randomized Controlled Trial. The Society Journal of society for Academic Emergency Medicine.14(1):702-708.
Oredsson, S, Jonsson, H, Rognes, Jon , Lind, L, Göransson, K. E, Ehrenberg, Anna, et al.,(2011).
A systematic review of triage-related interventions to improve patient flow in emergency
Departments. J Trauma ResuscEmerg Med. ; 19(Jul) , PubMed
Soontorn,T., Sitthimongkol, Y., Thosingha, O.,&Viwatwongkasem, C. (2018). Factors Influencing the Accuracy ofTriage by Registered Nurses in Trauma Patients. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. 22(2): 120-130.
Trzeciak, S. & Rivers, E. (2003). Emergency Department Overcrowding in the United State: An Emerging Threat to Patient Safety and Public Health.Emergency Medical Journal.20:402 - 405.

Downloads

Published

2019-04-17

How to Cite

ฝึกฝน ก., ภาคภูมิวินิจฉัย ท., & เวียงโอสถ โ. (2019). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. Journal of Nursing and Health Research, 20(1), 66–76. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/159341