ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
Keywords:
ความเครียด, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), Stress, Village Health VolunteersAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-Sectional Descriptive Research) มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มประชากร คือ อสม. ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตอนที่ 3 พฤติกรรมการจัดการความเครียด ตอนที่ 4 ระดับความเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติค่าไคสแควร์ (Chi-square test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า อสม. ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 48.6 มีประสบการณ์เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหนึ่งพันบาท ร้อยละ 32.4 (ค่าเฉลี่ย = 3,955.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 3383.2 บาท) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ในระดับสูง มีพฤติกรรมการจัดการความเครียด 3 อันดับแรก คือ การพักผ่อน เช่น กิจกรรมดูหนัง ฟังเพลง ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในชุมชน และออกกำลังกาย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีระดับความเครียดอยู่ในระดับน้อย และจากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด มีเพียงระดับการศึกษาที่มีผลต่อระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือ อสม. ที่มีความเครียดจากการทำงานในการป้องกันไม่ให้ความเครียดระดับต่ำพัฒนาไปเป็นความเครียดระดับปานกลาง และระดับสูงต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้ในอนาคต โดยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน รวมถึงการ เพิ่มการสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดภาวะเครียดที่เกิดจากการทำงานของอสม.
Factors related with stress level among Village Health Volunteers in Phra-Arjan, Ongkharak District,
Nakhon Nayok Province.
This cross-sectional descriptive research was conducted to investigate factors related with stress level among village health volunteers. The populations of the study were 74 village health volunteers in Phra-Arjan, Ongkharak District, Nakhon Nayok Province. The research instrument was a questionnaire divided into 4 parts 1) General information 2) Support from public health staff 3) Stress management behaviors 4) Stress level according to Stress test of Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Chi-square test and Pearson's Correlation were used to test the hypothesis at significance level of 0.05. The research finding was as follows: Most of these village health volunteers are female (82.4%), age between 51-60 years old, primary education (48.6%), being a volunteer for more than 3 years, monthly income less than 1,000 (32.4%; µ = 3,955.4; = 3383.2 baht) and a high level of public health staffs supported. It was also found that, stress management behavior of village health volunteers were relaxation such as watching movies, listening to music, sharing with others in the community and exercise. Most of village health volunteers had low level of stress. Factors significant associated with stress levels was education (p <0.05).
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. (2550). อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสากับสุขภาวะไทย. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
คมกริช นันทะโรจพงศ์, ภูธิป มีถาวรกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการความเครียดของวัยรุ่นตอนกลาง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 24(1), 3-38.
จิตกาญจนา ชาญศิลป์. (2558). ความเครียดและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จุไรลักษณ์ เหลียงกอบกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการทุ่มเทในงานและการสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโ ร ง พ ย า บ า ล เ อ ก ช น ใ น เ ข ต ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
ดิเรก ภาคกุล. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขและความเครียดของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 1(2), 419-429.
ธีระพล ปัญนาวี และวริสรา ลุวีระ. (2559). ความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 185-197.
ปาณิภา เสียงเพราะ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และอรวรรณ แก้วบุญชู. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เขตภาคกลาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(1), 17-27.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2558). ความเครียดกับผู้บริหาร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 293-305.
ราตรี ศรีกระสัง. (2556). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลัดดา เหล็กมั่น. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสถานีอนามัย จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศิริลักษณ์ ง้าวนาเสียว และอนงค์ หาญสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15(1), 108-118.
Green, L. & Kreuter, M. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environmental Approach. California: Mayfield, Mountain View.
Piippo, J., Aaltonen, J. (2004). Mental health: Integrated network and family-oriented model for co-operation between mental health patients, adult mental health services and social services. J. Clin. Nurs, 13, 876–885.