โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
A Causal Model of Quality of life Among Nursing student at Nursing faculty of St. Theresa International college
Keywords:
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล,การสนับสนุนทางสังคม, Quality of life, Nursing student, Social support, causal relationship modelAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 192 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึง 4 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม เป็นแบบประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 15 ข้อมีค่า ความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .5–1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ(r) อยู่ระหว่าง .21-.82 มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability)เท่ากับ .90 และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .5 – 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ(r)อยู่ระหว่าง .22 - .94 มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability)เท่ากับ.94วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมSPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม AMOS 22
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุฯ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 185.10 ค่าองศาอิสระ(df) เท่ากับ 165 ค่า ความน่าจะเป็น(p) เท่ากับ .14 ดัชนี GFI เท่ากับ .93 NFI เท่ากับ .90 CFI เท่ากับ .99 RMSEA เท่ากับ .02 และ RMR เท่ากับ.02และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ.54แสดงว่าตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมจากอาจารย์ในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 54 โดยที่การสนับสนุนทางสังคมจากอาจารย์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ.54 ส่วนตัวแปรการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและเพื่อนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตฯอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
A Causal Model of Quality of life Among Nursing student at Nursing faculty of St. Theresa International college
The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship and the goodness of fit model comprising social support and Quality of life among nursing student at nursing faculty of St.Theresa international college. The sample included 192 undergraduate nursing students (year 2-4) who studied in first semester of academic year 2017 from St.Theresa international college. The research instrument was a social support questionnaire scale consist of 15 items in three domains.Each itemis scored on 4 point rating scale all items indicated .5 – 1.0 IOC values.The item discrimination index were ranged between .21 - .82 and the reliability were .90 A QOL.questionnaire scale consist of 40 items in 8 domains. Each items scored on 5 point rating scale all items indicated .5 – 1.0 IOC values. The item discrimination index were ranged between .22 - .94 and the reliability were .94 Descriptive statistics were generated using SPSS; causal modeling involved in the use of AMOS 22.
The Results of the study were follows:
The results indicated that the hypothetical model was consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit measures: chi-square test = 185.10, df = 165, p =.14, GFI = .98, NFI = .96,CFI = .99 , RMSEA = .02. and RMR =.02, Teacher dimension in social support variables in the model accounted for 54 % of the total variance in Quality of life among nursing student at nursing faculty of St.Theresa international college. The Social support teacher dimension variable had a direct effect on Quality of life among nursing student at nursing faculty of St.Theresa international college. While the social support family and friend dimension had a direct effect accounted for .20 and .06 but nonsignificant.
References
ปาณจิตร สุกุมาลย์.(2553).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ไพศาล แย้มวงษ์.(2555).การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ (2559).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิต ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี วารสารเกื้อการุณย์. ปีที่ 23 ฉบับที่:1 หน้า 7-20
วินิทรา นวลละออง. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 57(2)หน้า225-234.
Astin, A. W. (2012). Assessment for excellence: The philosophy and practice of assessment and evaluation in higher education. Rowman & Littlefield Publishers.
Danielsen, A. G., Samdal, O., Hetland, J., & Wold, B. (2009). School-related social support and students' perceived life satisfaction. The Journal of educational research, 102(4), 303-320.
Hair,J.F.,Black,W.C.,Babin,B.J.&Anderson,R.E.(2014).Multivariate data analysis a globalperspective (7 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall International.
Hu,L.T.,&Blentler,P.M.(1999).“Cutoffcriteria for fit indexes in covariance structure analysis:Coventional criteria versus new alternatives”.Structural Equation Modelling,6(1), 1-55.
Joreskog,K.G.,& Sorbom,D.(1993).LISREL 8 :Structural Equation Modeling with the SIMPLIS Command Language.Chicago:Scientific Software International.
Kline, R. B.(2005).Principle and Practice of Structural Equation Modelling.2nd edition.New York:The Guildford Press.
Malinauskas,Romualdas.(2010).The Association among Social Support,Stress,and Life Satisfaction as Perceieved by Injured College Athletes.Social Behavior and Personality.
Matheny,Kenneth B.;Tovar,B.E.Roque;&Curlette,William L.(2008).Percieved Stress,Coping Resources,and Life Satisfaction among U.S.and Maxican College Student:A Cross-Cultural Study.Anales de Psicologia.Universidad de Murcia:Murcia.Espana.24(1):49-59.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner’s guide to structural equation modelling.Second edition. Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum Associates.
Unesco. (1981). Quality of life. An Orientation to Population Education. Bangkok: Unesco.