พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น
Keywords:
พฤติกรรมสุขภาพ, วัยรุ่น, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องAbstract
การศึกษาเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ด้วยการสอบถาม วัยรุ่นช่วงอายุ 13 – 19 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ด้วยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนที่ 3พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และ ส่วนที่ 4 พฤติกรรมด้านอารมณ์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นของพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร 0.94 พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย 0.92 และพฤติกรรมด้านอารมณ์ 0.98 การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา เลขที่ 08/60 ลว. 22 กุมภาพันธ์ 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติ Chi – square ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยาพบว่า พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และ พฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้แก่ ปัจจัยด้านระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยด้านระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองก็มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P- Value= 0.038, 0.041) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย พบว่า ปัจจัยด้านดัชนีมวลกาย(BMI) ปัจจัยด้านศาสนา การเล่นเกมในยามว่าง และการใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬามีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value= 0.020, 0.029, 020, 0.000) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านอารมณ์ พบว่า ปัจจัยเพศ ปัจจัยด้านระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยด้านระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - Value= 0.000, 0.005) ดังนั้นการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้วัยรุ่นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีในอนาคต
Health Behaviors of The Teenagers
This descriptive research aiming to study the health behaviors of the teenagers and factors related with health behaviors in Muang Phayao district, Phayao province. The subjects of the study consisted of 364 adolescents, aged 13-18 years. The instruments were questionnaires composed of 4 parts, general information, food consuming behavior, exercise behavior, and emotional behavior. It had high content validity ranged from 0.60-1.00, and reliability was 0.94, 0.92, and 0.98. Data were analyzed by frequencies, percentages and chi square. Findings reveal that the overall score of food consuming behavior, exercise behavior, and emotional behavior were at moderate level. From the study of the factors related with teenagers’ health behavior, it was found that the educational factor of the sampling group and their parents were related with food consuming behavior (P- Value= 0.038, 0.041), BMI, religions’ factor, gaming behavior, and playing sport during free time were related with exercise behavior (P- Value= 0.020, 0.029, 020, 0.000), Sexual factor, the educational factor of the sampling group and their parents were related with emotional behavior (P - Value= 0.000, 0.005). So, building up the knowledge and understanding about taking care of teenagers’ health behaviors might make those who were involved able to help enhancing teenagers’ behaviors more effectively.