ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
Keywords:
Resilience, Student Nursing, ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษาพยาบาลAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่
สร้างความยุ่งยากใจ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค บรรยากาศในครอบครัว และสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ศึกษาจากประชากรทั้งหมดคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 265 คน เครื่องมือในการวิจัย แบ่งเป็น 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความแข็งแกร่งในชีวิต 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ 4)ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค 5) แบบสอบถามบรรยากาศในครอบครัว 6) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- นักศึกษาพยาบาล ร้อยละ 94 มีค่าคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตมากกว่าค่า
คะแนนเฉลี่ย (คะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิต เท่ากับ 114.63 ,SD=9.99) เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจให้นักศึกษามากที่สุด คือ ปัญหาด้านวิชาเรียน คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 10.04 SD=3.72 นักศึกษาพยาบาล ร้อยละ62.30 มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค อยู่ในระดับสูง มีบรรยากาศในครอบครัว อยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.10 และมีสัมพันธภาพกับเพื่อน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 55.50
- ความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถใน
การเผชิญปัญหา และฝ่าฟันอุปสรรค บรรยากาศในครอบครัว และสัมพันธภาพกับเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.01). และมีความสัมพันธ์ทางลบกับเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.01). ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลต่อไป
Factors Related to Resilience in Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Yala
This descriptive research aimed to determine 1) resilience ,the negative events, adversity quotient, relationship with friends, and family atmosphere, and 2) relationships between resilience , the negative events , adversity quotient, relationship with friends, and family atmosphere among the nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Yala. The population were 265 nursing students studying year 1–4, Academic year 2559. The research instruments consisted of six parts 1) a personal data questionnaire 2) resilience inventory 3) the negative events 4) adversity quotient questionnaire 5) family atmosphere questionnaire. 6) relationships with friends questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson correlation.
Results:
- 94 % of nursing students had resilience scores higher than an average score (an
average score =114.63, SD=9.99). The most negative events were problem with academic course (an average score =10.04, SD=3.72). 62.30 % of nursing students had adversity quotient in high levels, 49.10% of nursing students were in good levels with respect to family atmospheres, and 55.50% of nursing students had relationships with friends at good levels.
- The resilience was positively and significantly related to a total score of adversity
quotient, relationship with friends, and family atmosphere (p < 0.01). The resilience was negatively and significantly related to a total score of the negative events (p < 0.01). Results from this study could be applied to develop program to promote resilience among the nursing students.
References
สมดี อนันต์ปฏิเวธ, วิภา เพ็งเสงี่ยม, และจันทร์เพ็ญ อัครสถิตานนท์. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบพลังสุขภาพจิตก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 4(1). 38-51.
จริยกุล ตรีสุวรรณ. (2542). การศึกษาเอกลักษณ์แห่งตนของนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ธีระศักดิ์ กำบรรณรักษ์. (2551). AQ พลังแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ธรรกมล.
นันทิกา อนันต์ชัย, พัทธนา ดลฤดี, เพชรขว้าง สุทธินี, มหามิตร วงค์แสน และเกศินี การสมพจน์. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 19(2), 106-119.
นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ = The methodology in nursing research. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผุสนีย์ แก้วมณีย์ และเรวัตร คงผาสุข. (2557). ความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล. ยะลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา.
พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต (Resilience). ในพัชรินทร์ นินทจันทร์(บรรณาธิการ). ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ (หน้า 3-24). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศมัย อรทัย และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. (2557). การทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างสถานการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิตและสุขภาพจิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 20(3), 401-414.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศสมัย อรทัย, และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิต และสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 401-414.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2(7), 12 - 26.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน และทัศนา ทวีคูณ (2555). โปรแกรมการสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต (A resilience-enhancing program). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภรม และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 25(1), 1 – 13.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน,ลัดดา แสนสีหา,ขวัญพนมพร ธรรมไทย และพิศสมัย อรทัย.(2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 430-443.
มะลิวรรณ วงษ์ขันต์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตวัยรุ่น. รามาธิบดีวารสาร. 29(1), 57-75.
วัชรินทร์ กระแสสัตย์, วรรณี เดียวอิศเรศ และจินตนา วัชรสินธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างประเพณี ครอบครัว ความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันในครอบครัวกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 59-68.
ศรัณพร คันธรส. (2552). ผลของการอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟัน
อุปสรรคของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ. (2545). จิตวิทยาครอบครัวการให้คำปรึกษาครอบครัวและครอบครัวบำบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สิรีย์ลักษณ์ ไชยลังกา. (2557). ความมั่นคงทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาลการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา.18(2) ,30-39.
อาภรณ์ ศรีชัยจิณห์จุฑา, ชัยเสนา ดาลลาส และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 24(4), 65-76.
Burnard, P., Rahim, H.T., Hayes, D, & Edwards, D. (2007). A descriptive study of Bruneian student nurses’s perceptions of stress. Nurse Education Today, 27, 808-818.
Boonyamalik, P. (2005). Epidemiology of adolescent suicidal ideation: Roles of perceived life stress, depressive symptoms, amd substance use (Dissertation). Baltimore (MD): Johns Hopkins University.
Friedlander, L. J., Reid, G. J., Shupak, N., & Ccibbie, R. (2007). Social support, self-esteem, and stress as predictors of adjustment to university among first-year undergraduates. Journal of College student Development, 48(3), 259-274.
Kan, S., Nan, J., Xuefeng, C., Zhen, W., Jing, G., & Weipeng, H. (2010). College students’ socialanxiety associated with stress and mental heath. Retrieved from https://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=&arnumber=5607377.
Peng, L., Zhang, J., Li, P. Zhang, Y., Zuo, X, Miao, Y. and Xu, Y. (2012). Negative life events and mental health of Chinese medical students: The effect of resilience, personality and social support. China Psychiatry Research, 196, 138-141.
Resenic, M.D., Bearman, P.S., Blum, R.W., et al. Protecting adolescents from harm: Finding from the National Longitudinal Study on Adolescent Health. The Journal of American Medication Association, 278(10): 23-32
Grothberg, E.H. (2005). Resilience for tomorrow. Retrieved May 16, 2018, from https://resilnet.uiuc.edu/library/grotberg_resilience-for-tomorrow-brazil.pdf.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit.The Bernard Van Leer Foundation.
Jimenez c., Navia‐osorio p.m. & Diaz c.v. (2010). Stress and health in novice and experienced nursing students. Journal of Advanced Nursing66(2), 442–455.
Rutter, M. (2000). Resilience reconsidered: conceptual consideration, empirical findings, and policy implications in J.P. Shonkoff and S.J. Meisels (eds). Handbook of Early Child Intervention. Cambridge: Cambridge University Press.
Stoltz, P.G. (1997). Adversity quotient. New York: Harper Collins.