ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานจัดระวางสินค้า สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • ประหยัด ทิพย์สุทธิ์ พยาบาลประจำ บริษํทเอกชน
  • ประหยัด ทิพย์สุทธิ์ ืพยาบาลวิชาชีพ ประจำบริษัทบริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มสธ.

Keywords:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บ, พนักงานจัดระวางสินค้า, Factors Affecting, Injury Protection Behaviors, Build- Up Staff

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของบุคคล การออกกฎระเบียบและข้อบังคับ การสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการทำงาน และพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานจัดระวางสินค้า สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานจัดระวางสินค้า สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ  กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานจัดระวางสินค้าจาก 4 บริษัท ในสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 189 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 8 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้เรื่องการบาดเจ็บจากการทำงาน 3) การรับรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการทำงาน  4) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน  5) การสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง 6) การออกกฎระเบียบและข้อบังคับ 7) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน และ 8) พฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2-8 อยู่ระหว่าง 0.735 - 0.945 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ของบุคคล การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน  โอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บฯ ความรุนแรงของการบาดเจ็บฯ และความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการบาดเจ็บฯ อยู่ในระดับมาก/สูง แต่การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บฯ อยู่ในระดับปานกลาง สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ การสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง การออกกฎระเบียบและข้อบังคับ และการบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บฯ อยู่ในระดับมาก/สูง และปัจจัยร่วม ความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการทำงานอยู่ในระดับดีมาก  ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมป้องกันการบาดเจ็บฯ การรับรู้ความรุนแรงของการบาดเจ็บฯ  และการบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บฯ มีอิทธิพลและสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บฯ ได้ร้อยละ 34.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานมากที่สุด

Factors Affecting Occupational Injury Protection Behaviors  among Build-Up Staff at Suvarnnabhumi Airport, Samutprakarn Province

The objective of this descriptive research were: (1) to study individual perceptions,rules and regulations, management for occupational injury protection,the support from related persons,knowledge about occupational injury and occupational injury protection behaviors (OIPBs) among build- up staff at Suvarnnabhumi Airport, Samutprakarn Province. (2) to explore factors affecting to  OIPBs  among build up  staff at Suvarnnabhumi Airport. The sample included 189  build- up staff from 4 companies at Suvarnnabhumi Airport, Samutprakarn Province who worked at least 6 months. Samples were selected by simple random sampling technique. The  collecting data tool was questionnaires which comprised 8 parts: (1) personal data, (2) knowledge about occupational injury, (3) individual perceptions about occupational injury, (4) perceived self –efficacy about OIPBs, (5) support from related persons, (6) rules and regulations, (7) management for occupational injury protection, and (8) OIPBs. The Cronbach’ s alpha coefficients of the second-eight parts were 0.735- 0.945. Data were analyzed by descriptive statistics:  frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The result of this study illustrated as follows. (1) individual perceptions : Build-up staffrated their perceptions about benefits from OIPBs,  susceptibility  and  severity of occupational injury, including self-efficacy about OIPBs at the high level. However, they rated their perceptions about barriers to OIPBs at the moderate level. Moreover, the support from related persons, rules and regulations, management for occupational injury protection at the high level. Knowledge about occupational injury was at the very good level. OIPBs at the high level (2) Supporting from related persons, perception of barriers to OIPBs, perception of susceptibility of occupational injury and the management for occupational injury protection explained the variance of OIPBs at 34.7% with a statistically significant (p < .001). The most affecting factor was supporting from related persons.

References

เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2533). การบริหารงานความปลอดภัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2555). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ. ใน ศิริพร ขัมภลิขิต และจุฬาลักษณ์ บารมี (บรรณาธิการ). คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต.
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(1), 43-55.
นันท์นภัส ประสานทอง. (2559). คู่มือการดูแลทางสังคมจิตใจคนพิการแขนขาขาดสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: แก้วเจ้าจอม.
ปิยนุช บุญวิเศษ. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสฝุ่นธูปในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มุกดา หนุ่ยศรี และสมโภช รติโอฬาร. (2558). พยาบาลชุมชนกับการป้องกันและควบคุมโรค. ใน ประมวลสาระชุดวิชาวิทยาการระบาด การพยาบาลชุมชนขั้นสูงและปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 2 (หน่วยที 5, หน้า 1-93). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุพิน ภวายน. (2555). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานผลิตเสาเข็ม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิจิตร บุณยะโหตระ. (2530). วิชาความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: รวมทรรศน์.
สำนักงานประกันสังคม. (2556). สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/home.jsp
________. (2557). สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/home.jsp
________. (2558). สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/home.jsp
อภิรดี ศรีโอภาส. (2558). การสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. (หน่วยที่ 2, หน้า 20-21). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน และพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,
30(2), 53-66.
Becker, M. H., Drachman, R. H. & Krrscht, J. P. (1974). A New Approach to Explaining Sick-Role. Behavior in Low-Income Population. American Journal of Public Health, 64, 205-215.
Glanz, K., Rimer, B. K., & Viswanath, K. (Eds.). (2008). Health behavior and health education: Theory, research and practice (4thed.). San Francisco, CA: Jossey-Bass. .
Rosenstock, I. M. (1974). Historical origin of the health care belief model. Health Education Monograph.
The International Air Transport Association (IATA). (2016). Airport handling manual (36th ed.). Montreal: 800 Place Victoria.

Downloads

Published

2019-06-10

How to Cite

ทิพย์สุทธิ์ ป., & ทิพย์สุทธิ์ ป. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานจัดระวางสินค้า สนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 132–146. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/145742