ผลของโปรแกรมฤาษีดัดตน ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังตึง เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
Keywords:
program, Thai yoga stretching, back muscle stiffness, โปรแกรมฤาษีดัดตน, กล้ามเนื้อหลังตึง, ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหลังAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (RCT) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฤาษีดัดตน ต่อการลดความปวดของหลังส่วนล่างและความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหลัง ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อ หลังตึง ที่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มควบคุม 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2561 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฤาษีดัดตน คือ การยืดกล้ามเนื้อท่าฤาษีดัดตน 5 ท่า (ท่าแก้ลมเอว, ท่าแก้ลมสันหลังและเข่า, ท่าแก้ลมปัศฆาฏในเอว, ท่าแก้กร่อน และท่าแก้ไหล่สะโพกขัด) ท่าละ 6 นาที ใช้เวลาทั้งหมด 30 นาที ร่วมการนวดแบบราชสำนัก 45 นาที และประคบสมุนไพร 15 นาที กลุ่มควบคุมได้รับเพียงการนวดแบบราชสำนัก 45 นาที และประคบสมุนไพร 15 นาทีทำการวัดระดับความปวดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง ก่อนและหลังการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง ด้วยสถิติ Paired sample t-test สำหรับการทดสอบภายในกลุ่มและ Independent sample t-testสำหรับการทดสอบระหว่างกลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความปวดหลังส่วนล่างลดลง และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยโปรแกรมฤาษีดัดตนสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหลังได้และควรมีการส่งเสริมในเรื่องของการยืดกล้ามเนื้อก่อนการทำงาน ในกลุ่มอาชีพที่ต้องยกของหนัก ทำงานในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
Effects of Thai yoga stretching program on releasing pain among back muscle stiffness patients at Chalermprakiat Hospital, Chalermprakiat District, Buriram Province.
This study is the randomized controlled trial research (RCT), aimed to study effects of Thai yoga stretching program on releasing back muscle among stiffness patients at Chalermprakiat hospital, Chalermprakiat district, Buriram province between January -May 2018. The samples were divided into two groups, the experimental group including 37 samples and the control group including 43 samples. The experimental group was treated with the 5 Thai yoga stretches (low back pain, back & knee pain, low back pain, low abdominal pain & scrotal distension, and shoulder & hip discomfort) for 6 minutes in each stretches this overall 30 minutes, and was the royal masseur and the compress for 45 minutes and 15 minutes, respectively. The control group was the royal masseur and the compress for 45 minutes and 15 minutes, respectively. Level measurements of pain scale and back muscle stretch, before and after the experiment. The data were collected from questionnaires. The frequency, percentage, means, standard deviation, min-max were calculated within the group for Paired sample t-test. While Independent sample t-test was calculated to compare between the groups at 0.05 level of statistical significance.The result represented that the sample of experimental group showed mean scores of back muscle pain lower than before treatment, and back muscle stretch was significantly higher than before treatment (p<0.001). The back muscle stretch of the experimental group was significantly higher than the control group (p<0.05). In conclusion, Thai yoga stretching program can increase stretching of back muscle, and health promotions of muscle stretch before doing work should be concerned for heavy lift occupation, long time working and elder persons.
References
จันทิพย์ จุนทการ, ธวัช ประสาทฤทธา และ ประพจน์ เภตรากาศ. (2017). The Effectiveness of Thai Massage and Joint Mobilization.International journal of therapeutic massage & bodywork, 10(2), 3-8.
ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ, วิชัย อึงพินิจพงศ์และอุไรวรรณ ชัชวาลย์. (2557). ผลของการนวดไทยประยุกต์ต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา: การศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 26(2), 197–204.
ชัยวัฒน์ไกรวัฒนพงศ์.(2554). การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าช่องเหนือน้ำไขสันหลัง (Epidural steroid injection). สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/102831
พรรัชนี วีระพงศ์, วิราภรณ์ แพบัว, สุภาณี ชวนเชย. (2559). ผลของการออกกาลังกายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการพักต่ออาการปวดคอและไหล่ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(2), 79–89.
เพ็ญศิริ จันทร์แอ. (2557) ผลของโปรแกรมสุขศึกษาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณพร สำราญพัฒน์. (2552). ผลทันทีของการฝึกฤาษีดัดตนแต่ละท่วงท่าต่อความยืดหยุ่นของหลัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2554). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ [HDC] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2014). การเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์แผนไทย จังหวัดบุรีรัมย์.สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560,จาก https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk
Atalay, E., Akova, B., Gür, H., &Sekir, U. (2017).Effect of Upper-Extremity Strengthening Exercises on the Lumbar Strength, Disability and Pain of Patients with Chronic Low Back Pain: A Randomized Controlled Study. Journal of sports science & medicine, 16(4), 595.
Sherman, K. J., Cherkin, D. C., Wellman, R. D., Cook, A. J., Hawkes, R. J., Delaney, K., ...Deyo, R. A. (2011). A randomized trial comparing yoga, stretching, and a self-care book for chronic low back pain. Archives of internal medicine, 171(22), 2019-2026.