ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจต่อความรู้ การรับรู้พลังอำนาจในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิง
Keywords:
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ต้องขังหญิง, ความรู้, การรับรู้พลังอำนาจ, empowerment, health behavior, knowledge, perception, incarcerated womenAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง (One groups pretest-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจต่อความรู้ การรับรู้พลังอำนาจในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิง จำนวน 30 คนคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าแบ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ 15 คน มารดาหลังคลอด 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 1 ชุด คือ โปรแกรมเสริมพลังอำนาจ ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ชุด คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้พลังอำนาจในตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด แบบสอบถามความรู้ด้านสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติPaired simples T -test) ผลการวิจัยพบว่าคะแนนการรับรู้พลังอำนาจในตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดหลังได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) คะแนนความรู้ด้านสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด คะแนนพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x2= 31.71, p< .01; x2= 15.04, p< .05) ตามลำดับ จากผลการวิจัยโปรแกรมเสริมพลังอำนาจมีผลต่อความรู้ การรับรู้พลังอำนาจและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดสูงขึ้น ดังนั้นควรนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงแห่งอื่นต่อไป
The Effects of Empowerment Program on Knowledge, Perception, and Health Behavior during Pregnancy and Postpartum among Incarcerated Pregnant and Postpartum Women
This one group pretest-posttest quasi-experimental research aimed to study the effects of empowerment program on knowledge, perception and health behavior during pregnancy and postpartum among incarcerated pregnant and postpartum women. The fifteen pregnant and fifteen postpartum samples were selected by purposive sampling following inclusion criteria. The research tool sconsisted of two parts. The empowerment program is an experimental instruments in the first part of the research tool.The second part is four data collection questionnaires during pregnancy and postpartum include the following: 1) the demographic data, 2) the knowledge of health behavior during pregnancy and postpartum period, 3) the self- perception during pregnancy and postpartum period and 4) the health behavior during pregnancy and postpartum period. The statistics included descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation and Paired simples T -test. The results have shown that the scores of the respondents after receiving the empowerment program of perception during pregnancy and postpartum period are significantly higher than their scores before receiving the program (p< .01). The scores of the respondents after receiving the empowerment program of knowledge, and health behavior during pregnancy and postpartum period are significantly higher than their scores before receiving the program (x2= 31.71, p< .01; x2= 15.04, p< .05respectively). The research results illustrated that the incarcerated pregnant and postpartum women have improved their knowledge perception and behavior after undertaking the empowerment program. Therefore, the implementation of this program in other prison cells is highly recommended.
References
upload/files/download/57/BKK_Rules2557-60_8.pdf
กฤตยา อาชวนิจกุล และกุลภา วจนสาระ.(2558).ผู้ต้องขังหญิง: สถานการณ์และข้อเสนอเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
กิตติกร สันคติประภา. (2555). มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการรักและดูแลเด็กที่เกิดในคุก. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
พิมพิไล ทองไพบูลย์,นันทกา สวัสดิพานิช, พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ และสุภาพร วรรณสันทัด.(2558). การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังมารดาหลังคลอดในเรือนจำ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 21(1), 5-17.
วรุณวรรณ ผาโคตร และสุภาพ ไทยแท้. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของแม่วัยรุ่นหลังคลอดต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเองของการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ที่บ้านอย่างต่อเนื่อง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข.27(2), 27-39.
รุ่งนพนันท์ เขียวสุประเสริฐ และนุจรี ไชยมงคล. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 20(4), 47-56.
ลมัย นิรมิตถวิล. (2556).ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้อำนาจ พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเปอร์เซ็นต์ไขมัน ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน.วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
Dinkel, S., & Schmidt, K. (2014). Health Educational Needs of Incarcerated Women. Journal of Nursing Scholarship.46(4), 229-234.
Gibson, C. H. (1993). The process of empowerment in mothers of chronically ill children.Journal of Advanced Nursing. 21(6), 1201-1210.
Johnson, J. E., Schonbrun, Y. C., Peabody, M. E., Shefner, R. T., Fernandes, K. M., Rosen, R. K., &Zlotnick, C. (2014). Provider Experiences with Prison Care and Aftercare for Women with Co-occurring Mental Health and Substance Use Disorders: Treatment, Resource, and Systems Integration Challenges. The Journal of Behavioral Health Services & Research, 42(2), 417-436.
TenkkuLepper, E. L., Trivedi, S., &Anakwe, A. (2018).Effectiveness of a Prison-Based Healthy Pregnancy Curriculum Delivered to Pregnant Inmates: A Pilot Study. Journal of Correctional Health Care.24(3), 243-252.