ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการรับรู้ ด้านการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออก ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ในวิชาคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพ
Keywords:
กิจกรรมการเรียนรู้, การรับรู้ด้านการควบคุมตนเอง, พฤติกรรมการกล้าแสดงออก, Organizing Learning Activity, Self Regulated Perception, Assertive BehaviorAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการรับรู้ด้านการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ในวิชาคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งดำเนินการวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว โดยทดสอบก่อน-หลัง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 1ที่ลงทะเบียนและเรียนวิชาคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพจำนวน 36 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติวิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.33 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 4 เท่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ด้านการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออกมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ผลที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้สามารถเพิ่มการรับรู้ด้านการควบคุมตนเองซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออก ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักศึกษาเพื่อประโยชน์และประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อไป
Effect of Organizing Learning Activity on Developing Self Regulated Perception towards Assertive Behavior of Pharmacy Technique Students in Moral and Professional Ethics Class of Higher Vocational Certificate Program in Public Health Science.
The purpose of this research was to study an effect of organizing learning activity on developingself regulated perception towards assertive behavior of pharmacy technique students in moral and professional ethics class of higher vocational certificate program in public health science. The sample was 36 pharmacy technique students in the first year of this program and they registered moral and professional ethic class. The research design was one group pretest-posttest design. Descriptive statistics were used to describe personal data and pairedt-test was used to analyze and compare pretest and posttest mean scores of assertive behavior of the students.The results revealed that the average age of students was 20.33 years old;the female number was more 4 times than male; after studying by this learning activity, the mean scores of self regulated perception towards assertive behavior of the students were significantly higher at .01level. The findings of this study indicated that the learning activities enhanced self regulated perception of the students and this perception also affected assertive behavior of the students.
References
ธีศิษฏ์ กิมอ่อน. (2554). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตร
วิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 กลุ่มช่างยนต์ ห้อง AU 301 โดยใช้แบบสังเกตแบบสอบถาม และการนำเสนอหน้าชั้น
เรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ, เชียงใหม่:วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
นรีพร ขุ่ยอาภัย. (2552). การเสริมสร้างพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
บ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้าน
เชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา).
บุญเรือง วีระวงค์. (2555). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 กลุ่มช่างยนต์ ห้อง AU 101 โดยใช้แบบสังเกต แบบสอบถาม และการนำเสนอหน้าชั้นเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ, เชียงใหม่: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
ภิญญดา อธิรัตนชัย. (2554). ผลที่เกิดจากการสอนโดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเองที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีห้างหุ้นส่วนของนักเรียน ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี.
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,3(2), 53-64.
รวีวรรณ สายแก้วดี และระพินทร์ ฉายวิมล.(2556). ผลการปรึกษากลุ่ม ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์
และพฤติกรรมต่อการเผชิญปัญหาของผู้ช่วยพยาบาล. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,
9(1), 16-30.
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2552). การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิต: การสะท้อนจากกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,5(1-2), 145-166.
วไลนารถ หอตระกูล. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ¼ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม โดยการนำเสนอผลการค้นคว้า วิชาวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน.
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย, ลัดดา ศุขปรีดี, อนงค์ วิเศษณ์สุวรรณ, ปริญญา ทองสอน และระพินทร์ ฉายวิมล. (2549). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์,17(2), 105-118.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2556). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม.สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้,4(1), 1-10.
สมภพ ชิมารักษ์ (2556). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษา
ระดับชั้น ปวช. ชั้นปีที่ 1/6 สาขาพาณิชยการ ในรายวิชาการขายเบื้องต้น 2 ภาคการเรียนที่
2/2557.วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน
ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี.
สินีนาฏ โคตรบรรเทา, สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล, อนุช แซ่เล้า และพูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดล
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน
โลหิต สูงของประชาชนเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยการ
สาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 85-96.
สุปรียา ตันสกุล. (2550). ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์:แนวทางการดำเนินงานในงานสุขศึกษา
และส่งเสริมสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา,30(105), 10-12.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 17).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2557). จิตวิทยา: แนวคิดทฤษฎีการศึกษาการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร,1(1), 21-33.
อติชาต หาญชาญชัย. (2556). ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองแบบผสมผสาน.ลำปาง: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเนชั่น.
อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ และกรกฎ สินประจักษ์ผล. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชากฎหมายและการคุ้มครองผู้บริโภค ของภาควิชาเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี: วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,10(1), 79-89.
Ajzen, I. (2006). Construcing a Theory of Planned Behavior Questionnaire: Brief Description of
theTheory of Planned Behavior. Retrieved July 6, 2015, from
https://www.researchgate.net/publication/235913732
Jongpil, C., Sangno L., Steven M.C., and Jaeki S. (2012). An investigation of mobile learning readiness in higher education based on the theory of planned behavior.Computers & Education An International Journal,59(3),1054-1064.
Schunk, D.H. (1990). Goal setting and self-efficacy during self-regulated learning.Eductional Psychologist,25(1), 71-86.