การรับรู้ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Authors

  • Taksika Chachvarat Bomorajonnani Phayao
  • junya Kaewjiboon วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • wannipha Waengkam วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

การรับรู้การจัดการขยะ, พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ, นักศึกษาพยาบาล, Perception on waste management, behavior on waste management, nursing students

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ประชาการที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษา และ3) พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษา ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ความตรงในด้านเนื้อหา ด้วยค่า IOC (Index of item Objective Congruence) ได้ค่า 0.66 -1 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยง ด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient a)  ซึ่งได้ค่าเท่ากับ 0.755 และ0.826 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์หสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูล เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.4 มีชั้นปีที่ 1  ร้อยละ 34.6 รองลงมาเป็นชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 34.3 และชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 31.1   การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ พบว่า ภาพรวมการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอยู่ใน ปานกลาง ร้อยละ 82.7  เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ดีของนักศึกษา ประกอบด้วย การแยกกระดาษ พลาสติก ถุงขนม ภายใน วพบ.พะเยาต้องนำไปทิ้งในถังขยะแห้ง  ขยะจำพวกเศษอาหาร เศษพืชผัก เปลือกผลไม้ ภายใน วพบ.พะเยา ต้องนำไปทิ้งในถังขยะเปียก  และ การแยกขยะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่เป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม   ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะ พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง   ร้อยละ 81.3   เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะที่นักศึกษากระทำน้อย คือ การนำขยะที่ยังใช้ได้มาดัดแปลงใช้ใหม่  สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะ  พบว่าการรับรู้ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษา มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<.01 (r.398)

Perception and behavior on waste management of nursing students at  Boromarajonani College of Nursing  Phayao

This  descriptive research aimed at studying perception and behavior of Waste management of nursing students at Boromarajonani College of Nursing Phayao, academic year 2016 and to study the relationship between perception and behavior of Waste management. 289 nursing student’s year 1-3 academic year of 2016 was used in this study. The questionnaires consisted of 3 parts. 1) General information questionnaire about the nursing student's general information. 2) Perception on waste management questionnaire of nursing students. 3) Behavior on waste management questionnaire of nursing students. It had high content validity ranged from 0.60-1.00, and reliability was 0.755 and  0.826. The data were analyzed by frequency, percentage,  average value, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation.  The result shows that general information from the 289 people involved who gave information were 34.6% female from the 1st year, 34.3% 3rd year and 31.1% 2nd year., Perception on waste management of the group who gave information have an opinion overview of this study in a moderate level 82.7 %. When considering  by aspect, it was found that the perception of good waste management of students included the separation of plastic paper, confectionery bags must be disposed of in a dry bin. Food waste, vegetable waste, fruit peel must be disposed of in wet trash. Garbage collection is tricky. But what should be done to help reduce environmental problems.  Behavior on waste management overview of this study, the moderate level, 81.3 %. When considering  by aspect, it was found  the  recyclable waste were sold.  Moreover, the  perception on waste management related to behavior on waste management of Boromarajonani College of Nursing Phayao  which exhibited  a moderate level in the same direction at the .05 significance (r.398).

 

References

กรมควบคุมมลพิษ.(2556). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2556.กรมควบคุมมลพิษกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรมควบคุมมลพิษ.(2558). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2558.กรมควบคุมมลพิษกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จรรยา ปานพรม (2554).การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน : เทศบาลตำบลคลองจิก
อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิชาการค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(การจัดการสิ่งแวดล้อม)คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐวดี สุขช่วย (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่าน
อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนกฤต บวกขุนทด. (2553). การศึกษารูปแบบการจัดการการจัดเก็บขยะชุมชนกรณีศึกษา:องค์การบริหารส่วน
ตำบลโนนเมืองพัฒนาอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา.โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิศวกรรมโยธา, สานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นิตยา เพียรทรัพย์. (2552). ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเสม็ด
อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปนัดดา รุจะศิริ. (2555). พฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนานาชาติเทร็ลล.
การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)คณะพัฒนาสังคมแลสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุษลักษณ์ ทัพขวา และมาลิณี นาไชย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมใน
การจัดการขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม:สถาบันวิจัย
และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ยศภัทร ยศสูงเนิน วรรณภารัตนวงค์ และ นงนุชจันทร์ดาอ่อน (2558) การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย
ในชุมชนเทศบาลตำบลโคกกรวด. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์
และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา.

รัชณีกร วิเศษดอนหวาย (2555) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลโนนท่อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งกิจ บูรณ์เจริญ. (2554). การจัดการขยะฐานศูนย์ : กรณีศึกษา โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนา
สังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรรณธณี กองจันทร์ดี. (2555). การจัดการขยะของผู้ค้าในตลาดสด ศึกษากรณีตลาดสดบางกะปิและตลาดสด
นครไทย เขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการ
สิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกนรินทร์ กลิ่นหอม. (2553). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน
ในเขตเทศบาลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา
สาธารณสุขศาสตร์สิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Barreto, E. R., Benítez, S. O. & de Vega, C. A. (2008). Solid Waste Characterization and Recycling
Potential for a University Campus. Waste Management, 28(S1), S21 - S26.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

Chachvarat, T., Kaewjiboon, junya, & Waengkam, wannipha. (2018). การรับรู้ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 168–179. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/133306