ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Authors

  • nantika ananchaipattana Boromarajonani College of Nursing, Phayao
  • dolruedi pechkwang
  • kasinee kansompoj
  • สุทธินี มหามิตร วงค์แสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

Resilience / Adversity Quotient /Nursing Students, Factors RelatedResilience, student, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความแข็งแกร่งในชีวิต ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค สัมพันธภาพกับเพื่อน และบรรยากาศในครอบครัวของนักศึกษาพยาบาล ศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา2)ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยาประชากรในการศึกษานี้ คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความแข็งแกร่งในชีวิต 3) แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค 4) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน 5) แบบสอบถามบรรยากาศในครอบครัววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคว์สแควร์

            ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 50.50         มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคอยู่ในระดับสูงร้อยละ 60.00 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 25.00 ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 80.90 มีสัมพันธภาพกับเพื่อนอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาอยู่ในระดับดีร้อยละ 16.40 สำหรับบรรยากาศในครอบครัว พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 73.80 มีบรรยากาศในครอบครัวอยู่ในระดับดี รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 24.00ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตพบว่าความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค สัมพันธภาพกับเพื่อน และบรรยากาศในครอบครัวกับความแข็งแกร่งในชีวิตทุกตัวแปรมีความเกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

Factors Related to Resilience in Nursing Students at  Boromarajonani College of Nursing, Phayao

This descriptive research aimed to explore 1) resilience,Adversity Quotient,relationships with friends, and family atmosphere, and 2) associations between resilience and the other variables among nursing students of Boromarajonani College of nursing, Phayao. The population were 408 undergraduate nursing students studying year 1- 4 in semester 1, academic year 2559. The research instruments composed of five parts 1) a demographic data questionnaire 2) Resilience questionnaire 3) Adversity Quotientquestionnaire 4) Relationships with friends Questionnaire 5) Family Atmosphere Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statisticsand Chi-Square test.

               The study found that 50.50 % of students had resiliencescoreshigher than an average score. Majority (60.00%)hadAdversity Quotientin high levels, and 25.00% had scores in moderate levels.Regarding relationships with friends, 80.90% had relationships with friends at  moderate levels, and 16.40 % were in good levels. With respect to family atmospheres,73.83% of students rated their family atmospheres at good levels, and24.00 % perceived that their family atmospheres were in moderate levels.All variables were associated with resilience significantly at p < 0.05.Results from this study could be used to develop program to promote resilience amongnursing students.

Author Biography

nantika ananchaipattana, Boromarajonani College of Nursing, Phayao

Deputy Director (Student Affairs)

References

จริยกุล ตรีสุวรรณ. (2542). การศึกษาเอกลักษณ์แห่งตนของนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต จิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระศักดิ์ กำบรรณรักษ์. (2551). AQ พลังแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ธรรกมล.

นิธิภา อาจฤทธิ์. (2559). ระดับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคกับผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประจําปี2559.

เพาพะงา จิตต์สวาสดิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตหลักสูตรการศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต (Resilience).ใน พัชรินทร์ นินทจันทร์(บรรณาธิการ), ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ (หน้า 3-24). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนาทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต (A resilience-enhancing program). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน,ลัดดา แสนสีหา,ขวัญพนมพร ธรรมไทย, และพิศสมัย อรทัย.(2554).
ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย.รามาธิบดีพยาบาลสาร,17(3),430-443.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศสมัย อรทัย,และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. (2557) การทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิตและสุขภาพจิต.รามาธิบดีสาร,20(3), 401-414.

พัชรินทร์ นินทจันทร์และคณะ. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิและเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิต
ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.วารสารเกื้อการุณย์, 23 (1), 7-20

ภานุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มะลิวรรณ วงษ์ขันต์, พัชรินทร์ นินจันทร์และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความ
แข็งแกร่งในชีวิตวัยรุ่น. รามาธิบดีวารสาร,29(1), 57-75.

ลดารัตน์ ศรรักษ์.(2556).ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสถิติ
ธุรกิจแบบผสมผสานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 17(33), 17-35.

วัชรินทร์ กระแสสัตย์, วรรณี เดียวอิศเรศและจินตนา วัชรสินธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างประเพณี
ครอบครัวความผูกพันในครอบครัวกับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 59-68.

ศรัณพร คันธรส. (2552). ผลของการอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟัน
อุปสรรคของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ. (2545). จิตวิทยาครอบครัวการให้การปรึกษาครอบครัวและครอบครัวบำบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ศิริรัตน์ ผุดผ่อง. (2540).ผลการฝึกสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนตามรูปแบบของจอยซ์และคณะของนักศึกษา
พยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต จิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพงษ์ จินดารุ่งเรืองรัตน์. (2546). ปัจจัยทางจิตวิทยาและปัจจัยทางชีวสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าใน ตนเองของเด็กวัยรุ่น. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิณี ภารา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยราคำแหง.

อารีย์ ขันติธรรมกุล. (2558). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิทยาเขตชลบุรี ตามทฤษฎีของสตอทซ์.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี,11(3), 49-55.

อายุพร กัยวิกัยโกศล, สุทธามาศ อนุธาตุและพัชรินทร์ นินทจันทร์.(2558).ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
ในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง.วารสารการพยาบาลจิตเวชและ
สุขภาพจิต 29 (1), 27 – 43.

Chickering, W., Linda Reisser.(1969).Education and Identity.the University of Illinois, Chicago.

Collishaw, S., Pickles, A., Messer, J., Rutter, M., Shearer, C., &Maughan, B. (2007). Resilience to adult psychopathology following childhood maltreatment: Evidence from a community
sample. Child Abuse & Neglect, 31, 211-229.

Grotberg, E. H. (1995).A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Bernard Van Leer Foundation.

Grothberg,E.H. (1999).Tapping your inner Strength: How to find the Resilience to deal with anything.Oakland:New Harbinger.

Grotberg, E. H. (2005). Resilience for tomorrow.Retrieved January 20, 2014, fromhttps://resilnet.uiuc. edu/library/grotberg_resilience-for-tomorrow-brazil. pdf.

Heiss, J. (1996). Effects of African American family structure on school attitudes and performance. Social Problems, 43, 246-265.

Im, Y. J., & Kim, D. H. (2012). Factors associated with the resilience of school-aged children with atopic dermatitis. The Journal of Clinical Nursing, 21, 80-88.

Johnson, M. B. (2005). OPTIMISM, ADVERSITY AND PERFORMANCE:COMPARING EXPLANATORY STYLE AND AQ. The Faculty of the Department of Psychology San Jose State University.

Kim, D. H., &Yoo, I. Y. (2010). Factors associated with resilience of school age children with cancer. Journal of Pediatrics and Child Health, 46, 431- 436.

Reyes, A.T., Andrusyszyn, M.A., Iwasiw, C., Forchuk, C., &Babenko-Mould, Y. (2015). Nursing
students’ understanding and enactment of resilience : a grounded theory study.
Journal Advance Nursing, 71 (11), 22-33.

Schumacher, J. A. & Camp, L. L. (2010).The relation between family functioning, ego identity, and self esteem in young adults.Psi Chi Journal of Undergraduate Research, 15 (4), 179- 185.

Stoltz, P. G. (2000). Adversity quotient @ work.NewYork:Harper Collins.

Thomas, L.J. &Revell, S.H. (2016).Resilience in nursing students: An integrative review.
Retrieved May 18, 2017, fromhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26549265

Uraisa, S., &Rungsayatorn, C. (2009). Family relationship and adversity quotient and prevention of commit suicide at- risk of public university students. Kasetsart University Journal: Social Sciences, 30(2), 156-168.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

ananchaipattana, nantika, pechkwang, dolruedi, kansompoj, kasinee, & มหามิตร วงค์แสน ส. (2018). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 106–119. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/130754