แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริม ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • พระจันทอง จนฺทโชโต

Keywords:

ผู้นำทางการศึกษา, การบริหารงานวิชาการ, ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา, Educational Leadership, Academic Administration, Primary School Effectiveness

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา ปีการศึกษา 2559 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 359 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นด้านสภาพการณ์ภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารงานวิชาการและด้านประสิทธิผลโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ทั้งตัวแปรหลักและตัวแปรรอง ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ตัวแปรหลักทั้งสามมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านภาวะผู้นำ (Lead) และการบริหารงานวิชาการ (Aca) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า r = .908 ภาวะผู้นำ (Lead) และประสิทธิผลโรงเรียน (ScEff) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า r = .882 การบริหารวิชาการ (Aca) และประสิทธิผลโรงเรียน (ScEff) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า r = .919 ตัวแปรที่สามารถเข้าสมการพยากรณ์ได้จำนวน 6 ตัวแปรประกอบด้วย การวัดประเมินผลการเรียน (As) ความสัมพันธ์ทางสังคม (Sr) การนิเทศการสอน (Su) ภาวะผู้นำการศึกษา (El) การพัฒนากระบวนการเรียน (Ld) และการพัฒนาหลักสูตร (Cd) โดยตัวแปรทั้ง 6 สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 87 โดยมีผลทดสอบ F = 401.289 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ทั้งนี้มีผลทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรพยากรณ์ตามเทคนิคของ Durbin-Watson = 1.907 ซึ่งเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 1.5 แต่ไม่เกิน 2.0 ถือว่าตัวแปรพยากรณ์มีความเป็นอิสระต่อกัน จากนั้นผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาจากตัวแปรทั้ง 6 ตัวแปร จากสมการพยากรณ์ดังกล่าว แล้วนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยและยืนยันความเป็นไปได้ของแนวทางในการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน ที่ได้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ภาวะผู้นำการศึกษา ความสัมพันธ์ทางสังคม การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียน การนิเทศการสอน และการวัดประเมินผลนักเรียน

Guidelines on the Development of Educational Leadership and Academic Administration Supporting the Effectiveness of Primary Schools in the Northeast of Thailand under Office of the Basic Education Commission

 

The purposes of this research were 1) to study the situations of educational leadership and academic administration that support the effectiveness of primary schools in the northeastern part of Thailand, 2) to study the relationship of the educational leadership and academic administration that support the effectiveness of primary schools in the northeastern part of Thailand, and 3) to study the methods for developing the educational leadership and academic administration that support the effectiveness of primary schools in the northeastern part of Thailand, under Office of the Basic Education Commission. The samples were 359 primary school principals and teachers of the academic year 2016. The statistics employed in the research were namely, Frequency, Mean, Percentage, Standard Deviation (SD), and Multiple Regression Analysis (MRA). The research findings revealed that the samples’ opinion toward the situations of educational leadership and academic administration that support the effectiveness of primary schools in the northeastern part of Thailand, leadership, academic administration, and the school effectiveness were at a high level, in all independent variables. For the relationship of educational leadership and academic administration that support the effectiveness of primary schools in the northeastern part of Thailand, the three variables’ relationship moved in the same direction at a significance level of 0.1; the relationship of educational leadership and academic administration moved in the same direction at a high level (r = .908); the relationship of educational leadership and school effectiveness moved in the same direction at a high level (r = .882); and the relationship of academic administration and school effectiveness moved in the same direction at a high level (r = .919). The researcher applied the prediction equation to the six variables, which included assessment, social relationship, supervision, educational leadership, learning process development, and curriculum development. These six variables explained 87% of the combined variance (F= 401.289) at a significance level of .05. In testing independence of the variables, the Durbin-Watson statistic was 1.907 which was between 1.5 and 2.0 and, therefore, the data were not auto correlated. Overall, in all elements of this research, The experts confirm the possibility. The researcher applied the prediction equation to the six variables, which included assessment, social relationship, supervision, educational leadership, learning process development, and curriculum development.

References

จีรนันท์ เกิดม่วง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบทบาทการบริหารงานวิชาการด้านการ
จัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.ปีที่ 10ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – เดือนเมษายน)

ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติทีเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก.
ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธุมากร เจดีย์คํา. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
กับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รําไพพรรณี.

วันเผด็จ มีชัย วัลลภา อารีรัตน์ และ ประกฤติยา ทักษิโณ.(2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงาน
วิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน.

ศศิวิมล สุขทนารักษ์.(2554) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงาน
วิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี
เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

สมานจิต ภิรมย์รื่น ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการ
เรียนรู้ที่ต้องการในศตวรรษที่ 21. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. ปีที่ 18ฉบับที่ 1
มกราคม-เมษายน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การบริหารโรงเรียนตามแนวปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

โสภาวงษ์ นาคเพ็ชร์ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2554). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดสําานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย
ศิลปากร. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน)

Caldwell, B.J. and Spinks, J.M. (2008).The Self – Managing School : Administrative Science
Quarterly. London :Tayor and Francis (Mimeographed).

Elmor, H. (2000). The University as Learning Organization : Developing a Conceptual Model,
Doctoral dissertation, Higher, Montana State University.

Ewans, B. (1998). Management development : Using internal and external resources in developing
core competencies. Human Resource Development Review, 4,136-158.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Educational administration : Theory, research, and practice.
6th ed. New York : McGraw-Hill.

Krejcie,R.V., and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Psycholological measurement.

Leithwood. H., (2006). Management Pearson Education. Berkshire : McGraw – Hill.
Mac Neill, N., & Silcox, S. (2003). School renewal: Planning for tomorrow’s schools.The Practicing
Administrator, 22(1), 12-14, 44.

Pierce, Lorraine V. (1998). Effective School of national origin language minority students.
Washington, DC : The Mid Atlantic Equity Center.

Sergiovarnni, Thomas J., and Fred D. Carver.(2009). The School Executive : A Theory of
Administration. 2nd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

จนฺทโชโต พ. (2018). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาและการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริม ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 157–167. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/129051