ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน

Authors

  • Arunya - Namwong Boromarajonnani College of Nursing, Phayao
  • คอย ละอองอ่อน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • วัชรี ไชยจันดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • เอกพันธ์ คําภีระ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน, depressive symptom, community-dwelling older adults, chronic illness

Abstract

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทั้งองค์รวมของผู้สูงอายุ การประเมิน ป้องกันและรักษาให้เร็วสุดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง   กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในตำบลบ้านต๋อม อำเภอ เมือง จังหวัดพะเยา  สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายได้จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูง (3)   แบบประเมินสภาพจิตจุฬา (4)  แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (5) แบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ (6) แบบสอบถามเกี่ยวกับสัมพันธภาพในครอบครัว และ (7) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ  ความเชื่อมั่นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคอยู่ระหว่าง .71 ถึง .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ การหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ (mean = 3.15, S.D. = 1.92) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูง ( r = -.195, p<.01)  การทำหน้าที่ด้านสติปัญญา (r =  -.254 , p<.01) ความผาสุกทางจิตวิญญาณ (r = -.416, p<.01) สัมพันธภาพในครอบครัว (r = -.193, p <.01)  และ แรงสนับสนุนทางสังคม (r = -.142 , p<.05) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ  ปัจจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Selected Factors Related to Depressive Symptoms Among Community-Dwelling Older People with Chronic Illness

Depression among older adults with chronic illness is vital problem effecting on their holistic health. Therefore, it must be early detected and treated. The descriptive research aimed to exam depressive symptoms and factors related to depressive symptoms among older people with chronic illness. Simple random sampling was used to obtain 306 samples being Thai older people with chronic diseases aged ≥60 years at Tumbon Bantom, Phayao during Febuary-March, 2017. The acceptable seven questionnaires were used to collect data as follow: 1) The personal data form  2) Instrumental Activities of Daily Living  3) Chula mental test 4) Social support 5) Spiritual well-being scale of Thai older Buddhists 6) The family relationship and depression and 7) Thai Geriatric Depression Scale-15. All questionnaires  had the Alpha Cronbach’s coefficient between .71 to .89. Descriptive statistics and Pearson product-moment correlation coefficient were used to analyze all data. Results showed that the samples had a mean of depressive symptom in normal criteria (mean = 3.15, S.D. = 1.92). Also, all factors had a significant statistic negative relationship with depression as follow: physical function (r = -.195, p<.01), cognitive function (r = -.254 , p<.01), spiritual well-being (r = -.416, p<.01), The family relationship (r = -.193,p<.01), and Social support (r = -.142 , p<.05). These factors would be developed to enhance depressive prevention program for the community-dwelling older adults with chronic illness in order to increasing their quality of life.    

References

กัตติกา ธนะขว้าง, วันทนา ถิ่นกาญจน์, รวมพร คงกําเนิด และ อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2558). รายงานการวิจัยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานในประเทศไทย. สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2559). ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จังหวัดพะเยา. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, จาก https://203.209.96.247/chronic/report_main.php

จันทร์จิรา สีสว่าง และปุลวิชช์ ทองแตง. (2559). ภาวะซึมเศร้าหลังป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยสูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(2), กรกฎาคม-ธันวาคม.

จินตนภา ฉิมจินดา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, จาก https://library.christian.ac.th/thesis/document/T032950.pdf

ชัยวัฒน์ อินไชยา, โสภิณ แสงอ่อน และ พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2559). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(1), 17-33: มกราคม-เมษายน.

ช่อผกา สุทธิพงศ์และ ศิริอร สินธุ. (2012). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุภายหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองในเขตชุมชนเมือง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(1), 28-39.

ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ. (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : สูตรคลายซึมเศร้า. ใน ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

นพรัตน์ ไทยแท้. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลิน อำเภอ เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2), 207-217.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า : ปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญในผู้สูงอายุ
วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24-31, กันยายน-ธันวาคม.

นันทกา ภักดีพงษ์และเจียมจิต แสงสุวรรณ. (2552). ภาวะพร่องของสมรรถภาพสมองในผู้ป่วยสูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 7(1).

บุญส่ง หาทวายการ, ผ่องพรรณ อรุณแสง และวิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์. (2555). การพัฒนาแบบวัดการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 154-165: เมษายน-มิถุนายน.

บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์และเบญจพร ปัญญายง. (2557). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและจิตเวชในเขตสุขภาพ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 22 (3): 142-156.

บุษราคัม จิตอารีย์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัด
นครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลสาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

พระปลัดสมชาย ปโยโคและอุทัย สุดสุข. (2558).พุทธบูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสังคมไทย.
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 3(2), 46-64. doi: 10.14456/jmcupeace.2015.4

เฟย หลี่, วรรณภา ศรีธัญรัตน์ และ เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. (2555). ภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในชุมชนหนานเหมียน เมืองหนานหนิง มลฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(1), 71-78.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), พฤษภาคม-สิงหาคม.

มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญ
เสริมศักดิ์.(2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 58(พิเศษ), 18-29.

วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ศิริอร สินธุ, รสสุคนธ์ วาริทสกุล และอรวมน ศรียุกตศุทธ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 19(2), กรกฎาคม-กันยายน

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). มิเตอร์ประเทศไทย. สืบค้น 31 มีนาคม 2561, จาก https://www.thailandometers.mahidol.ac.th/index.php?#population

สายพิณ ยอดกุล และจิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. (2557). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), กรกฎาคม-กันยายน.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2548). การประเมินผู้สูงอายุ ในวันดี โภคะกุล (บรรณาธิการ). การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

แสงเดือน พรมแก้วงาม และอรัญญา นามวงศ์ (2560).ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), กรกฎาคม-กันยายน.

อรพิน คำโต และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(2), 74-87.

อภิญญา วงศ์ใหม่. (2560). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าและแนวทางการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2553). แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีสาร, 16(2). พฤษภาคม-สิงหาคม.

อรัญญา นามวงศ์, แสงเดือน พรมแก้วงาม, ดลนภา ไชยสมบัติ, สุทธิลักษณ์ จันทะวัง, วัชรี ไชยจันดี, อรพิญ บัวงาม และ สาคร นาต๊ะ. (2560). รูปแบบศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

Carson, A. J. (2012). Mood disorder as a specific complication of stroke. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry, 83, 859. doi:10.1136/jnnp-2011-301854.

Chang-Quan, H., Bi-Rong, D., Zhen-Chan, Lu., Ji-Rong, Yue., & Qing-Xiu, Liu. (2010). Chronic diseases and risk for depression in older age: A meta-analysis of published literature. Ageing Research Reviews, 9 131–141. doi:10.1016/j.arr.2009.05.005

Hamilton, J. L., et al. (2014). Relationship Between Depressive Symptoms and Cognition in Older, Non-demented African Americans. Journal of International Neuropsychological Society. 20(7): 756-763. doi:10.1017/S1355617714000423.

Hatawaikarn, B. (2012). Development of Age-friendly nursing care scale perceived by hospitalized older persons. Journal of Nurses’Association of Thailand North-Eastern Division. 30(2):154-165.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA : Addison- Wesley.

Pan, A., Lucas, M., Sun, Q., van Dam RM, Franco OH, Manson JE, Hu, F.B. (2010). Bidirectional association between depression and type 2 diabetes mellitus in women. Archives of Internal Medicine,170:1884–1891.

Promkaewngam S, Pothiban L, Srisuphan W, Sucamvang K. (2013). Development of the Spiritual well-being Scale for Thai Buddhist Adults with Chronic Illness. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 18(4): 320-32.

Robert, G. Robinson & Ricardo, E. Jorge. (2016). Post-Stroke Depression: A Review. American Journal Psychiatry. 173:221-231; doi: 10.1176/appi.ajp.2015.15030363

Stegenga, B. T., et al. (2012). Depression, anxiety and physical function: exploring the strength of causality. Journal of Epidemiol and Community Health. 66(7).

Rustad, J. K., Musselman, D. L & Nemeroff, C. B. (2011). The relationship of depression and diabetes: pathophysiological and treatment implications. Psychoneuroendocrinology 36:1276-1286.

United Nations. (2017). World Population Prospects the 2017 Revision Key Findings and Advance Tables. [Online] Retrieved on 2 March 2018. from: https://esa.un.org/unpd/wpp/Publications/Files/WPP2017_KeyFindings.pdf.

World Health Organization (WHO). (2012). Depression. Retrieved on 2 March 2018.
from https:// www.who.int/mental_health/management/depression/definition/en/.

World Health Organization. (2017). Depression and Other Common Mental Disorders: Global Health Estimates. Geneva: Licence: CC BY-NC-SA 3.0 IGO. Retrieved on 12 April 2017. from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf; jsessionid.

Waite, P. J., Hawks, S. R & Gast, J, A. (1999). The correlation between spiritual well-being and health behaviors [Electronic version]. American Journal of Health Promotion, 13(3).

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

Namwong, A. .-., ละอองอ่อน ค., ไชยจันดี ว., & คําภีระ เ. (2018). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 94–105. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/129045