แนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี
Keywords:
แนวทาง, เด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, Guideline, early childhood, child development centersAbstract
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาประชากรของชาติ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมมารดาที่ท้อง การจัดการระบบการดูแลทารกแรกเกิด การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยหรือเด็กเล็กมีสุขภาพดี บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินการที่ผ่านมาเกี่ยวกับกระบวนการ กิจกรรม และแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งสามารถสรุปประเด็นการดำเนินการได้คือ สถานการณ์ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 0-2 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่พบปัญหาเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 0-1 ปี ได้รับการดูแลจากครอบครัวที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการ สำหรับแนวทางดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ ต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ การจัดการสถานบริการสำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องการดูแลด้านสุขภาพ การส่งเสริมการเลี้ยงดู การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ต้องเริ่มตั้งแต่การเริ่มมีการปฏิสนธิในครรภ์มารดา การดูแลให้เด็กแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ภายหลังจากทารกอายุ 6 เดือนแล้ว ต้องส่งเสริมให้ได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามช่วงวัย ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามาบทบาทในการเลี้ยงดูเด็กเล็กให้มากขึ้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความใส่ใจในการประเมินพัฒนาการ หน่วยงานองค์กรต่างๆที่รับผิดชอบการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องมคำนึงถึงการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพและด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยควบคู่กันไป หน่วยงานต่างๆต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของตนเองอย่างต่อเนื่อง และควรมีการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสม
Guideline for early childhood development, aged 1 month to 2 years
Children are an important human resource for development of the country. Population development should be prepared since pregnancy period, manage suitable newborn care system, and promote healthy early childhood. This article aims to review about processes, activities, and practices related to early childhood development between aged 1 month to 2 years and to develop policy suggestion. This review revealed that the situation of early childhood development was gradually progress but the main problem found was a lack of knowledge, understanding and skills related to childcare practice that appropriate with child development period of the family. Accordingly, the guideline for early childhood under 2 years should include child care service that focus on health promotion while child development should be motivated since pregnancy period. Moreover, Newborn should be properly care, and infant after 6 months should be suitably feed by age. Family should be encouraged to participate in taking care of the children and pays more attention to child development evaluation. For the institutions or organizations who are responsible for early childhood development, child health promotion should go side by side with promotion of early childhood development. Moreover, childcare units and child development centers should be continuous evaluated together with curriculum arrangement.
References
บังอร เทพเทียน, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. (2550). การดูแลเด็กปฐมวัยของประเทศไทย.วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา; 5(3):117-128.
(2560)พัฒนาการเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต.สืบค้น 5 มิถุนายน 2560 จาก http:resource.thaihealth.or.th/library/academic/14447
พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2554). ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก การสร้างเสริมสุขภาพเด็ก เล่ม 1. (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: บริษัทครองช่างพริ้นท์ติ้ง จำกัด.
รัตโนทัย พลับรู้การ. (2553). เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอย่างไรให้มีสุข: สถานการณ์สุขภาวะเด็กไทย.กุมารเวชสาร; 17(2):97-98.
ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. (2545). การพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์.
ศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2553). คุณภาพเด็กไทยวันหน้า อยุ่ในมือผู้ใหญ่วันนี้.กุมารเวชสาร; 17(2):93-94.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2556). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560 เข้าถึงได้จาก http://www.admin.e-library.onecapps.org/book/1233.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ(พ.ศ. 2545-2559).กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิกส์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2549). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2550-2559. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิกส์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). ข้อมูลประชากรกลางปี2557.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข