การวิเคราะห์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก Analyzing Quality of Patient Safety Management: A Case Study of Female Surgical Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital

Authors

  • จำเนียร มาเนตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความปลอดภัยของผู้ป่วย, การจัดการ, Patient safety, Management

Abstract

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารจำนวน 5 คน พยาบาลวิชาชีพจำนวน 7 คน และพนักงานช่วยเหลือคนไข้จำนวน 3 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และจัดหมวดหมู่ ผลการศึกษาพบว่า หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 1 มีการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามกรอบแนวคิดระบบบริหารความเสี่ยง และความปลอดภัยของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (2558) 6 ด้าน ดังนี้ 1) ประสานงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง และระบบสารสนเทศ 2) ค้นหา และจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง 3) กำหนดมาตรการป้องกัน สื่อสาร สร้างความตระหนัก 4) ระบบการรายงานอุบัติการณ์ รายงาน วิเคราะห์ ใช้ประโยชน์ 5) การวิเคราะห์สาเหตุ และนำไปสู่การแก้ปัญหา 6) ประเมินประสิทธิผล และนำไปสู่การปรับปรุง และพบปัญหาในการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้แก่ ยังมีบุคลากรพยาบาลบางคนไม่ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงอย่างครอบคลุม บางคนขาดความตระหนัก และมีทักษะในการค้นหาความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงน้อย บางคนไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ บางคนขาดความตระหนักในการรายงานอุบัติการณ์ ไม่มีเวลาในการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของทุกอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และบุคลากรพยาบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการประเมินผล จึงเป็นการยากที่จะได้แนวทางใหม่ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความปลอดภัยมากขึ้น จากผลการศึกษานี้ มีความจำเป็นต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ช่วยส่งเสริมการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยผู้บริหารการพยาบาลควรมีการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้มีการปรับเปลี่ยน หอผู้ป่วยควรมีการค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกและความเสี่ยงไม่ใช่คลินิกอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดเวทีให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นความปลอดภัยของผู้ป่วยและใช้ข้อมูลความเสี่ยงในวางแผนการดูแลผู้ป่วยเชิงรุก นอกจากนี้ควรมีการลงทุนในการอบรมพยาบาลในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพและเกิดความปลอดภัย          

Analyzing Quality of Patient Safety Management: A Case Study of Female Surgical Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital

This study aimed to analyze the quality of patient safety management in the Female Surgical Ward 1, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. The participants were five nursing administrators, seven registered nurses, and three nurse aids. The data were collected by using document reviews, interviewing and focus group. The content analysis was used for analyzing data. Results of the study showed that this ward conducted patient safety management based on the model of a risk and safety management system suggested by the Healthcare Accreditation Institute (2015). There are six important domains for implementation of such practice: 1) Collaboration system and information technology related to the risk management; 2) Risk identification and prioritization; 3) Initiating risk prevention and solution, 4) Incident reporting and incidence report utilization; 5) Root cause analysis and implementation; and 6) Assessment of risk and safety management and its improvement. However, there were many problems in each domain as below: some nursing personnel did not receive coverage information about risk management; some nursing personnel did not aware of the responsibility in risk identification and prioritization and some had insufficient skills in those activities; some health personnel did not comply with the guidelines; some nursing personnel were lack of awareness of their responsible for reporting; there was no time to carry out root cause analysis in all harmful incidents; nursing personnel did not involve much in the assessment process, as it is difficulty in developing ways to make patient care better and safer. The findings of this study suggest a need for developing strategies to improve patient safety management in hospitals. Nurse administrators should have additional channels to communicate updated patient safety policies and initiatives. It is important for hospital wards to have a regular process for assessing clinical and non-clinical incidents, set up forums to discuss patient safety issues and use the risk information to proactively improve patient care. In addition, it is necessary to invest in providing nursing personnel with continuous education on patient safety. This will lead to increase quality of care and consequently patient safety.

References

กฤษดา แสวงดี (2542 ). การบริหารความเสี่ยง: มิติหนึ่งในการประกันคุณภาพการบริการ. วารสารกองการพยาบาล,26(3).34-36.
จิตราภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2548). การดูแลสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.
ชูศรี มโนการ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี (2550 ) การวิเคราะห์องค์ประกอบสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมในการทำงานของพยาบาล วิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพ- มหานคร. วารสารการพยาบาล, 22(2), 57-71
บัวบาล ชัยมงคล. (2555). การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลนครพิงค์ (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปัทมา นนทรี. (2555). การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความความเสี่ยงในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลลำพูน (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล)
เปรมวดี ศิริวัฒนานนท์, และ มณีรัตน์ รัตนามหัทธนะ. (2556). เหตุใดบุคลากรทางการแพทย์ ไม่รายงาน ความคลาดเคลื่อนทางยา: กรณีศึกษาโรงพยาบาล ประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9(1), 32.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, อุไร พานิชยานุสนธ์, ลัดดาวัลย์ ทัดศรี, เสาวลักษณ์ เจริญสิทธิ์, พริ้มเพรา สาครชัยพิทักษ์, มยุรี ปริญญวัฒน์ และคณะ. (2548). การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.
แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร: กรณีศึกษาบริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ม.ป.ท.
วราภรณ์ ศรีรัตนา. (2559). การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). (2558). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ฉบับปรับปรุง มกราคม 2558. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).
หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2559). รายงานประจำปี 2559. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ (2548). ความปลอดภัย (Safety) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
Bellandi, T., Albolino, S., & Tomassini, C. R. (2007). How to create a safety culture in the healthcare system: The experience of the Tuscany Region. Theoretical Issues in Ergonomics Science, 8(5), 495-507.
Blegen, M. A., Goode, C. J., & Reed, L. (1998). Nurse staffing and patient outcomes. Nursing Research, 47(1), 43-50.
Braithwaite, J., Westbrook, M. T., Mallock, N. A., Travaglia, J. F., & Iedema, R. A. (2006). Experiences of health professionals who conducted root cause analyses after undergoing a safety improvement programme. BMJ Quality & Safety, 15(6), 393-399.
Glendon, A. I., Clarke, S., & McKenna, E. (2016).Human safety and risk management. Crc Press.
Institute of Medicine. (2000). To err is human: Building a safer health system. Washington, DC: National Academy Press.
Reason, J. T. (1997). Managing the risks of organization accidents. England: Ashgate.
Shaw, R., Drever, F., Hughes, H., Osborn, S., & Williams, S. (2005). Adverse events and near miss reporting in the NHS. Quality and Safety in Health Care,14(4), 279-283.

Downloads

Published

2018-12-25

How to Cite

มาเนตร จ. (2018). การวิเคราะห์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก Analyzing Quality of Patient Safety Management: A Case Study of Female Surgical Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. Journal of Nursing and Health Research, 19(3), 96–106. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/122907