การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคมของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Development of A Causal Relationship Model of Social Responsibility for the Students under the Faculty of Education, Burapha University
Keywords:
องค์ประกอบเชิงยืนยัน, โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความรับผิดชอบต่อสังคม, : Confirmatory Factor Analysis, Causal - relation, Social ResponsibilityAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความรับผิดชอบต่อสังคมและพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2560 จำนวน 597 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิต วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบเชิงยืนยันความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิต ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ความรับผิดชอบต่อสถาบันการศึกษา ความรับผิดชอบต่อชุมชนและความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ มีน้ำหนักองค์ประกอบ 0.69 ถึง 0.90 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1015.26 ค่า p = 0.00 ค่า df เท่ากับ 610 ดัชนี CFI เท่ากับ 0.98 ดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.032) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ได้แก่ สภาพแวดล้อมครอบครัว สังคมและสื่อมวลชน คุณลักษณะภายในของนิสิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ สภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษาโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 204.47 ค่า p = 0.00 ค่า df เท่ากับ 104 ดัชนี CFI เท่ากับ 0.99 ดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.04 ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ตัวแปรตาม (R2) เท่ากับ 0.79 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 79
Development of A Causal Relationship Model of Social Responsibility for the Students under the Faculty
of Education, Burapha University
This recent study aims to analyze the confirmatory factors of social responsibility and to develop the casual-relation model of social responsibility of students under the Faculty of Education, Burapha University. Participants of this study were 597 students of the Faculty of Education, Burapha University who enrolled in the first semester of 2017, and were drawn from the first year to the fifth year by stratified random sampling. Questionnaires of Students’ Social Responsibility were used to collect data. Data were analyzed by using SPSS for basic statistics, and LISREL version 8.72 for CFA and causal-relation model analysis. Results showed that 1) confirmatory factors of student’s social responsibility consisted of five factors: family responsibility, friend responsibility, educational institutions responsibility, community responsibility, and nation responsibility. The factor loadings of the model were between 0.69 and0.90; and the model was well fitted with the empirical data ( = 1015.26; p = 0.00; df = 610; /df= 1.66; CFI = 0.98; RMSEA =0.03); 2) the model was consisted of two types of effects: direct and indirect effects. Direct effects included family settings, social and mass media, intrinsic attributes, and learning achievement; indirect effects included educational institution settings which were through the intrinsic attributes of the students. The model indicated good fit to the empirical data as = 204.47; p = 0.00; df = 104; /df= 1.97; CFI = 0.99; RMSEA 0=.04; R2 = 0.79, which can explain the variance of the students’ social responsibility at 79 percent.
References
ปริญญาศึกาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กำธร แจ่มจำรัส ณัฐวิชช์ ศรีธาดาสวัสดิ์ กฤติน ตันเจริญ และพิทักษ์ ศิริวงศ์.(2557). วิเคราะห์รูปแบบกิจกรรม
ความรับผิดชอบต่อสังคมและรูปแบบในความต้องการกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ, 7(1), 81 – 90.
ฉันทนา จันทร์บรรจง จิตราภรณ์ ใยศิลป์ และสุภาภรณ์ กิติรัชดานนท์.(2554). ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อการ
ปลูกฝังจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 73 – 90.
ฉันทนา ปาปัดถาณัฐภณ สุเมธ อธิคม และปิติพงศ์ พิมพ์พิเศษ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อ
สังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษา
เอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.),19(2),92 – 100.
ชุติมา ไชยสิทธิ์. (2554).การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดุสิต อุทิศพงษ์. (2547). การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พระมหาสมควร ขุนภิบาล. (2550). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มของนักเรียน
ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนพณิชยการสยาม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุวรี ผลพันธิน. (2551). การวิเคราะห์สภาพและแนวทางในการส่งเสริมความรับผิดชอบของนักเรียน: กรณีศึกษา
โรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.(2559).สถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย.กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม
(องค์การมหาชน).
สาวิตรี แสงศิลป์ และนิออน พิณประดิษฐ์.(2551).บทบาทครอบครัวและสถานศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรม
รับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 100 – 106.
สุรศักดิ์ หลาบมาลา.(2552). การสอนความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารการศึกษาไทย, 6(61),21 – 27.
สุรีพร อนุศาสนนันท์.(2558).การวัดและประเมินในชั้นเรียน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี : เก็ทกู๊ดครีเอชั่น จำกัด.
Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E.(2014).Mutivaritate data analysis.
(7thed.) Essex, England: Pearson Education Limited.