รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า

Authors

  • นิมัศตูรา แว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • รศ. ดร. วิชิต เรืองแป้น
  • ดร.วารุณี หะยีสามะสา
  • ดร.นิสาพร มูหะมัด
  • ดร.อรรณพ สนธิไชย
  • ดร.นฤมล ทองมาก

Keywords:

รูปแบบที่เหมาะสม, การดูแลผู้สูงอายุ, วิจัยอนาคต, An Appropriate Caring Model, Elderly Care, Future Research

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้าใช้รูปแบบการวิจัยอนาคต วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาสภาพการณ์รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า มีขั้นตอนการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการศึกษาสภาพการณ์รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษ (พ.ศ. 2557-2567) ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ  25 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structure Interview) และแบบประเมินรูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุเป็นแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับขั้นตอนที่ 3 การรับรองผลการวิจัยรวมทั้งความเหมาะสมในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยการสัมมนาอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 8 คน เพื่อรับรองผลการวิจัยรวมทั้งความเหมาะสมในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2557 - 2567) เรียกว่าPP & SUM  Model  ประกอบด้วย  5องค์ประกอบ  28 ด้านดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ      ( Preparing  for  the  elderly  care ) มี 4 ด้าน องค์ประกอบที่ 2  ด้านการส่งเสริมด้านต่างๆที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ ( Providing  the  necessary  care  for  the  elderly ) มี 3ด้าน องค์ประกอบที่ 3  ด้านการสนับสนุนด้านต่างๆและการคุ้มครองผู้สูงอายุ ( Supporting  the facilities  and  protecting  the  elderly ) มี 6 ด้าน องค์ประกอบที่ 4 ด้านการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีในการดูแลผู้สูงอายุ(Using  information  and  technology  the  elderly ) มี 6 ด้าน องค์ประกอบที่ 5  ด้านการจัดการระบบในการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม (Managing the  appropriate  elderly  care  system) มี 9 ด้านผลการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน มีฉันทามติให้การรับรองผลการวิจัย พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปในอนาคต

An Appropriate Caring Modelin Elderly Careinthe Southernmostof Thailandinthe Next Decade

This future research aimed to identifyan appropriate odel of elderly care in the three southern provinces of Thailand in the next decade. The study processes were divided into 3 phases includingphase I a situation analysis of an appropriate model of elderly care in the three southern provinces, phase II identifying an appropriate model in elderly care using Delphi’s techniquefrom 25 experts. Instruments composed of a semi-structure interview and a 5 rating scale of an appropriate model of care evaluation form. Phase III connoisseurshipseminar with 8 experts was performed to approve the research result and appropriateness of research result implementation. Research findings indicatedthat the suitable modelof elderly carein the next decade (B.C.2557-2567) (preparing, providing & supporting, using, managing: PP & SUM) composed of 5 aspects and 28 elements: 1) preparing for elderly carein the future aspect which had 4 elements;2)providing  the  necessary  care  for  the  elderly aspect which had 3 elements; 3) supporting  the facilities  and  protecting  the  elderly aspect which had 6 elements;4) information and technology in caring for the elderly aspects which had 6 elements; and 5) managing  the  appropriate  elderly  care  system aspect which had 9 elements. The connoisseurshipseminar approved the research findings and provided suggestions for implementation the research findings in the three southern provinces of Thailand. 

References

-

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

แว น., เรืองแป้น ร. ด. ว., หะยีสามะสา ด., มูหะมัด ด., สนธิไชย ด., & ทองมาก ด. (2018). รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 86–96. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/111615