ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาในหวัดอุตรดิตถ์
Keywords:
การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เยาวชน, ผู้ประกอบการร้านค้า, alcohol selling, adolescents, alcohol retailersAbstract
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 148 คน ทำการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมีนาคม – ตุลาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติไค-สแควร์
ผลการศึกษาพบว่าผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนร้อยละ 69.6 โดยมีการติดป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 70.2 ไม่สอบถามอายุของผู้ซื้อ ร้อยละ 46.6 ไม่ตรวจบัตรประชาชน ร้อยละ 51.4 และมีการวางโชว์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ จุดขาย ร้อยละ 54.1 ผู้จำหน่ายมีความรู้เกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.1 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เพศ (ORAdjust=7.73,95% CI: 1.32-45.12) การแสดงป้ายร้านค้านี้ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชน (ORAdjust =15.26, 95% CI: 2.75-84.49) การถูกตรวจสอบตามกฎหมาย (ORAdjust=6.99, 95% CI: 1.47-33.20) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบให้ลูกค้าบริการตัวเอง (ORAdjust=15.25, 95% CI: 1.97-117.98) การสอบถามอายุของผู้ซื้อ (ORAdjust=7.32, 95% CI:1.74-30.81) การตรวจสอบบัตรประชาชน (ORAdjust=13.51, 95% CI: 3.16-30.81) และวางโชว์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ จุดขาย (ORAdjust=54.11, 95%CI:7.49-390.82) ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนได้ ร้อยละ 73.7 (Pseudo R2=0.737)
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ไม่ปฏิบัตตาม ดังนั้นรัฐบาลและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการจำหน่ายแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชนและป้องกันปัญหาที่ตามมา
Factors Associated with Selling Alcohol to Adolescents by Retailersin the Vicinity of Educational Institutions in Uttaradit Province
The Cross-sectional study aimed to study the behaviors of selling alcohol by entrepreneurs surrounding educational institutionsand toexplore factors associated with alcohol selling to adolescents by retailersin the vicinity of educational institutions in uttaradit province.The simple random sampling technique was used with 148 alcohol retailers. Data was collected by questionnaires during January – December 2017. Data wasanalyzed by descriptive, percentage, mean, standard deviation, andinferential statistics by using Chi-square.The results found that alcohol retailers sell was to adolescents was 69.6%. Showing alcohol advertising was 70.2%, do not check the age of the buyer before selling 46.6%, do not check the identity card of the buyer before selling was 51.4%, and alcohol showcase at the point of selling was 54.1%. The samples had knowledge about alcohol control law in medium level (54.1%). and factors associated with alcohol selling to adolescents by retailersin the vicinity of educational institutions was statistically significant at 0.05 level were point of selling (ORAdjus=54.11, 95% CI:7.49-390.82), self service (ORAdjust=15.25,95% CI:1.97-117.98), check the identity card (ORAdjust=13.51, 95% CI: 3.16-30.81), gender (ORAdjust=7.73,95% CI: 1.32-45.12), check the buyer's age (ORAdjust=7.32, 95% CI:1.74-30.81), and checked by law (ORAdjust=6.99, 95% CI:1.47-33.20). These factors could help to predict the alcohol retailers selling to adolescents at 73.3%. The findings of this study indicate that most alcohol retailers point of selling and self service. Therefore, the government and alcohol control committee should strongly enforce the laws to control access and alcohol selling to adolescents and prevent alcohol-related problems.
References
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. (2554). การประเมินผลมาตรการการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
เพ็ญแข แสงแก้ว. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พันนี่พลับชิ่ง.
วรวุฒิ สันติมัค. (2551). การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของผู้ประกอบการร้านชำในเขตอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2553). การพัฒนาตัวแบบแก้ไขปัญหาการละเมิดกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2559). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2558. นนทบุรี:เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2559). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปี ปี 2558. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อโนชา หมึกทอง, และถนอมศรี อินทนนท์. (2551). รายงานผลการศึกษาเรื่องการเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ.(2551). พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อารีกุล พวงสุวรรณ, กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, และทักษพล ธรรมรังสี. (2555). การปฏิบัติตามกฎหมายของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวกับการจำกัดอายุของผู้ซื้อ. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.