Using Participation to Reducing Risk Behavior in Using Pesticides for Farmers in Ban Kok, Dong Daeng Sub-District, Chaturaphak Phiman District, Roi Et Province
Keywords:
PARTICIPATION PESTICIDES CHOLINESTERASE ENZYME, การมีส่วนร่วม, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส, Participation, Pesticides, Cholinesterase EnzymeAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรและบ้านกอก ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเกษตรกรบ้านกอก หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 15 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นรูปแบบจัดกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค AIC และแบบสอบถาม ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.63 แบบสอบถามทัศนคติ การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.75, 0.85, 0.83วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความเสี่ยง และพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกร ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการโดยใช้สถิติ Paired Sample T-testผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มเกษตรได้มีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการอภิปรายกลุ่มด้วยเทคนิค AIC และกลุ่มเกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value = 0.002) มีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value = 0.000) มีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value = 0.000) และมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value = 0.000) โดยหลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเกษตรกรมีระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสเปลี่ยนแปลงจากระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงมาอยู่ในระดับปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 57.69 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาควรจัดให้มีการตรวจวัดระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสและติดตามอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มการทำการเกษตรแบบอินทรีย์มากขึ้น จัดโครงการเชิงรุกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีอย่างยั่งยืน เช่น จัดโครงการเกษตรอินทรีย์ ประกวดอินทรีย์ดีเด่น หรือคลินิคเกษตรกร
Using Participation to Reducing Risk Behavior in Using Pesticides for Farmers in Ban Kok, Dong Daeng Sub-District, ChaturaphakPhiman District, RoiEt Province
The purpose of this Participatory action research was to examine the result of Using Participation Process to Reduce Risk Behavior Related to Farmers in Ban Kok, Dong Daeng Sub-District, Chaturaphak Phiman District, Roi Et Province. 26 of Farmer in Dongdang Sub district, Moo.4 and Moo.15 were included as a sample. Data were collected though questionnaire with validity 0.87. Data were analyzed using descriptive statistics and difference testing of average of knowledge, attitude, risk recognition and behavior of using chemical pesticides correctly and safety of farmer before and after joined program by using Paired Sample T-test.
The result of research pointed out that after joined Using Participation to Reducing Risk Behavior in Using Chemicals Pesticides for Farmers in Ban Kok, Dong Daeng Sub-District, Chaturaphak Phiman District, Roi-et Province, the average of knowledge about using chemical pesticides increased that was statistical significant at 0.01 level. (p - value = 0.002) The average of attitude about using chemical pesticides increased that was statistical significant at 0.01 level. (p - value = 0.000) The average of risk recognition and chemical pesticides using increased that was statistical significant at 0.01 level. (p - value = 0.000) And the average of behavior of using chemical pesticides increased that was statistical significant at 0.01 level. (p - value = 0.000) After joined program, Choline esterase enzyme level of were normal and safe at 57.69 percent.
References
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์.(2543).กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งประชาคม ประชาสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 4.ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับเครือข่ายประชาคมสุขภาพในท้องถิ่น ขอนแก่น.
วุฒิภัทร สมัตถะ. (2554). ผลของการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและปลอดภัย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยบ้านหินกอง ตำบลห้วยบงอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. กรณีศึกษาอิสระ สาขาการบริหารสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัชชะ,สุรเดช สำราญจิตต์,จุฑามาศ แสนท้าว,ศรราม สุขตะกั่ว.(2560). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านทุ่งนางครวญ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรในตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา,18(2),84-94.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงแดง. (2560). รายงานสถานการณ์โรค ปี พ.ศ. 2558-2560 ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด.
สมศักดิ์ มงคลธนวัฒน์ และคณะ. (2560). ผลของชุดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร. กรณีศึกษาตําบลนาเริก อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.
สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. (2559). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). ความเสี่ยงจากพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ.
Best, John W. (1977). Research in Education. 3nd. Englewood Cliffs, N.J.