ประสิทธิภาพของยาคลายกระเพาะปัสสาวะต่อความสามารถ ขยายและความจุกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ที่คาหลอดสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเป็นเวลานาน

Authors

  • อัจฉรา วังชุมทอง ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ยาคลายกระเพาะปัสสาวะ, บาดเจ็บไขสันหลัง, การคาหลอดสวนปัสสาวะ, การตรวจปัสสาวะพลวัต, bladder relaxant, spinal cord injury, transurethral indwelling catheter, urodynamic study

Abstract

Efficacy of Bladder Relaxants on Bladder Compliance and Cystometric Capacity of Urinary Bladder in Spinal Cord Injured Patients with Long-term Transurethral Indwelling Catheters

Wangchumthong A, Tongprasert S, Kovindha A.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To study the efficacy of bladder relaxants on bladder compliance and cystometric capacity of urinary bladder in spinal cord injured (SCI) patients with long-term transurethral indwelling catheters.

Study design: Retrospective study

Setting: Rehabilitation ward, Maharaj Hospital, Chiang Mai

Subjects: SCI patients with long-term transurethral indwelling catheters (IDC) and had time between the 1st and the last urodynamic studies at least 1 year

Methods: Medical records were reviewed. Demographic and cystometric data were identified and compared between those taking bladder relaxants and those not taking bladder relaxants. The differences between the first and the last bladder compliance and cystometric capacity were compared and statistically analyzed within the group and between these two groups.

Results: Forty-eight patients were recruited in the study. Forty-two patients (87.5%) had taking bladder relaxants. Mean duration of IDC was 5.7+5.9 years. Comparing between those taking and not taking bladder relaxants, the differences between the first and the last cystometric capacity and bladder compliance were decreased in both groups. However, those taking bladder relaxants had an increase in median of bladder compliancewhereas those not taking bladder relaxants had a decrease in median of bladder compliance (1.0, -20.5 respectively, p=0.014); 52.4% of those taking bladder relaxants had increased bladder compliance while none of those not taking bladder relaxants (p=0.025). The change in cystometric capacity was not statistically different between the two groups (-110, -137.5 respectively, p=0.402).

Conclusion: Bladder relaxants delay in declining of bladder compliance and cystometric capacity in spinal cord injured patients having long-term transurethral indwelling catheterization.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาคลายกระเพาะปัสสาวะที่มีต่อความสามารถขยายและความจุกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่คาหลอดสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบย้อนหลัง

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังซึ่งคาหลอดสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเป็นเวลานาน และมีผลตรวจปัสสาวะพลวัตครั้งแรกกับครั้งล่าสุดห่างกันอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป

วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วย แบ่งกลุ่มเป็นผู้ที่ได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะกับผู้ที่ไม่ได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของยาจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถขยายและความจุกระเพาะปัสสาวะด้วยการตรวจทางปัสสาวะพลวัตครั้งแรกกับครั้งล่าสุด

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 48 คน ร้อยละ 87.5 ได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะ คาหลอดสวนปัสสาวะนานเฉลี่ย 5.7+5.9 ปี เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาพบว่า ความแตกต่างของความสามารถขยาย และความจุกระเพาะปัสสาวะจากการตรวจปัสสาวะพลวัตครั้งแรกกับครั้งล่าสุดมีแนวโน้มลดลงทั้ง 2 กลุ่ม แต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะมีค่ากลางความสามารถขยายกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับยามีค่ากลางความสามารถขยายกระเพาะปัสสาวะลดลง (1.0, -20.5 ตามลำดับ, p=0.014) ทั้งนี้ ร้อยละ 52.4 ของกลุ่มที่ได้รับยามีค่าความสามารถขยายกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับยาไม่มีคนใดที่มีค่าความสามารถขยายกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น (p=0.025); เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินครั้งแรกและครั้งล่าสุด ค่ากลางความจุกระเพาะปัสสาวะของทั้ง 2 กลุ่มลดลง แต่ไม่ต่างกันทางสถิติ (-110, -137.5 ตามลำดับ, p=0.402)

สรุป: ยาคลายกระเพาะปัสสาวะมีผลคง/เพิ่มความสามารถขยายของกระเพาะปัสสาวะและชะลอการหดเล็กของกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่คาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

Downloads