การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการนำกระแสประสาทมีเดียน หลังการผ่าตัดรักษากลุ่มอาการเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ ในอุโมงค์ข้อมือ ด้วยวิธีมาตรฐานและการผ่าตัดแผลขนาดเล็ก ด้วยเครื่องช่วยถ่าง PSU: รายงานผลเบื้องต้น

Authors

  • ฐิตาภรณ์ วันดี งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • สุนทร วงษ์ศิริ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Keywords:

กลุ่มอาการเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับในอุโมงค์ข้อมือ, เส้นประสาทมีเดียน, การศึกษาการนำกระแสประสาท, การผ่าตัด, การผ่าตัดแผลขนาดเล็ก, Carpal tunnel syndrome, median nerve, nerve conduction study, carpal tunnel release, Mini-incision technique

Abstract

Changes of Median Nerve Conduction Study after Standard Carpal Tunnel Release and Mini-incision using the PSU Retractor: Preliminary results

Wandee T, Tipchatyotin S, Wongsiri S, Boonmeprakop A.

Physical Medicine and Rehabilitation Unit, Faculty of Medicine, Prince of Songklanagarind University

Objective: To assess changes of median nerve conduction study in patients with carpal tunnel syndrome and to compare between those subjected to a standard surgery and a mini-incision using Prince of Songklanagarind University (PSU) retractor

Study design: Descriptive study

Setting: Electrodiagnostic clinic, Songklanagarind Hospital

Subjects: Twenty-four carpal tunnel syndrome patients underwent surgery with either a standard carpal tunnel release or a mini-incision using PSU retractor.

Methods: All patients had a electrodiagnostic study done before surgery and one month after operation. Nerve conduction study (NCS) parameters of median nerve: distal sensory latency (DSL), sensory nerve action potential (SNAP), distal motor latency (DML), compound motor action potential (CMAP) and nerve conduction velocity (NCV) were recorded pre and post operatively in each group and then compared between groups.

Results: In the standard surgery group, the post operative NCS showed decreased DSL (1.05 ms less) but no change in DML; increased SNAP amplitude (5 μV more), but decreased CMAP amplitude (1.5 mV less), increased NCV (2m/s more). In the minimal incision using the PSU retractor, DSL increased 0.10 ms but DML decreased 0.8 ms; SNAP amplitude decreased 11 μV while CMAP amplitude increased 0.10 mV, and NCV decreased 2.5 m/s. No statistically significant difference between pre- and post- operative in each group, and between the two groups were found.

Conclusions: One month after carpal tunnel release, there were no changes of median nerve conduction study in either a standard surgery or mini-incision using PSU retractor group, and there were no differences between these two surgical techniques.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการนำกระแสประสาทมีเดียน หลังการผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน และการผ่าตัดแผลขนาดเล็กด้วยเครื่องช่วยถ่าง PSU

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: คลินิกไฟฟ้าวินิจฉัย รพ.สงขลานครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยกลุ่มอาการเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับในอุโมงค์ข้อมือที่ได้รับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธีแบบมาตรฐาน และการผ่าตัดโดยใช้เครื่องช่วยถ่าง PSU จำนวน 24 คน

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการตรวจการนำกระแสประสาทมีเดียนก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด 1 เดือน โดยนำค่าตัวแปรของการนำกระแสประสาทมีเดียน ได้แก่ distal sensory latency (DSL), sensory nerve action potential (SNAP), distal motor latency (DML), compound motor action potential (CMAP) และ nerve conduction velocity (NCV) มาวิเคราะห์เปรียบเทียบในแต่ละกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด

ผลการศึกษา: เปรียบเทียบระหว่างก่อน และหลังการผ่าตัด ด้วยวิธีมาตรฐาน พบว่าค่ากลางของ DSL ลดลง 1.05 มิลลิวินาที, SNAP เพิ่มขึ้น 5 ไมโครโวลต์, DML ไม่เปลี่ยนแปลง, CMAP ลดลง 1.5 มิลลิโวลต์, NCV เพิ่มขึ้น 2 เมตรต่อวินาที และการใช้เครื่องช่วงถ่าง PSU พบว่าค่าเฉลี่ยของ DSL เพิ่มขึ้น 0.1 มิลลิวินาที, SNAP ลดลง 11 ไมโครโวลต์, DML ลดลง 0.8
มิลลิวินาที, CMAP เพิ่มขึ้น 0.10 มิลลิโวลต์, NCV ลดลง 2.5 เมตรต่อวินาที เมื่อเปรียบเทียบค่าการนำกระแสประสาทมีเดียนก่อน และหลังการผ่าตัด ทั้ง 2 กลุ่ม และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)

สรุปผล: ภายหลังการผ่าตัด 1 เดือน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการนำกระแสประสาทมีเดียน ของทั้ง 2 กลุ่ม

Downloads